ความจําเป็นในการใช้หน้ากากอนามัย N95 ของแพทย์พยาบาลที่ทํางานใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 ทําให้ หน้ากากอนามัย N95 ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน โครงการธนาคารหน้ากาก (Mask Bank) จึงประกาศ เปิดโรงงานหน้ากากอนามัย N95 แห่งแรกของประเทศไทยโดยคนไทย ตั้งเป้าเพื่อช่วยแพทย์ชนบท 800 โรงพยาบาลทั่วประเทศอย่างเร่งด่วน ตั้งใจเปิดให้ทันเดือนมิถุนายนนี้ นางสาว ปรางพิสุทธิ์ แดงเดช ผู้ก่อตั้งโครงการธนาคารหน้ากาก เปิดเผยว่า การผลิตหน้ากากอนามัย ทางการแพทย์อยู่ในการกํากับดูแลของ อย. และปัจจุบันมีผู้ผลิตในประเทศไทย 10 แห่ง แต่หน้ากาก อนามัย N95

ไทยมีโรงงานผลิตหน้ากาก N95 แต่ต้องส่งออกทั้งหมด

ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งกับแพทย์และพยาบาลที่ทํางานใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 มีผู้ผลิตในประเทศเพียงรายเดียวและมีพันธกิจ BOI ที่ต้องส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้นําเข้าหน้ากากอนามัย N95 ที่ถูกต้องผ่านการรับรองของ อย. มีเพียง 1 ราย และในปัจจุบัน ผู้นําเข้าและผู้ผลิตดังกล่าวซึ่งเป็น บริษัทต่างชาติ ก็ได้รับผลกระทบจากนโยบาย American First โดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาให้ส่ง สินค้าให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นลําดับแรก และแม้ว่าผู้ผลิตและผู้นําเข้าทั้ง 2 รายได้ให้ความช่วย เหลือแบ่งปันสินค้าให้มีใช้ในประเทศไทยเท่าที่สามารถทําได้แล้ว แต่ปริมาณหน้ากากอนามัย N95 ก็ยังไม่เพียงพอ ทําให้เกิดการนําเข้าแบบผิดกฎหมาย และขายสินค้าในราคาที่สูงเกินความเป็นจริง อีกทั้งหน้ากากยังมีคุณภาพต่ําหรือทําปลอม โดยไม่คํานึงถึงปัญหาที่จะเกิดจากการใช้งานหน้ากากที่ ไม่ได้คุณภาพเหล่านั้น

จากการเปิดเผยของนายแพทย์ วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อํานวยการองค์การเภสัชกรรม เกี่ยวกับการกระจายเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด -19 มี รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 2-15 เมษายนที่ผ่านมาองค์การเภสัชกรรมได้มีการจัดสรรกระจายหน้ากาก อนามัยให้กับโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนไปแล้วจํานวน 18 ล้านชิ้น และปัจจุบันมีหน้ากากอนามัย อยู่กว่า 11 ล้านชิ้น มีอัตราการใช้งาน 4 แสนชิ้นต่อวัน ขณะที่หน้ากากอนามัย N95 ที่มีความต้องการ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าไว้จํานวน 5 ล้านชิ้น องค์การเภสัชกรรมจัดสรรหาได้ประมาณ 580,000 ชิ้น

Play video

โครงการธนาคารหน้ากากจึงมีแผนที่จะเปิดโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย N95 แห่งแรกของประเทศไทยโดยคนไทย ตั้งใจเปิดให้ทันเดือนมิถุนายนนี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้แพทย์ชนบท 800 โรงพยาบาลทั่วประเทศได้มีหน้ากากอนามัย N95 ใช้ในการทํางานรับมือกับภาวะการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่โควิด-19 ที่ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าจะเป็นปัญหาต่อเนื่องไปนานแค่ไหน และเพื่อให้แผนการผลิตหน้ากากอนามัย N95 ดังกล่าวเป็นไปได้ตามเป้าหมาย

ทางธนาคารหน้ากากจึงเปิดให้มีการจองซื้อหน้ากากอนามัย N95 ได้ใน ราคา 580 บาท / 20 ชิ้น ราคาเฉลี่ยเพียงชิ้นละ 29 บาท ซึ่ง ปัจจุบันราคาขายทั่วไปอยู่ที่ชิ้นละ 60-210 บาท โดยการจองซื้อหน้ากากอนามัย N95 จากทางโครงการ จะเป็นการซื้อเพื่อการบริจาคให้แพทย์ชนบทและเพื่อใช้งานเองในสัดส่วน #ให้1ใช้ 1 (ซื้อบริจาค 10 ชิ้น : ซื้อใช้เอง 10 ชิ้น) และสามารถจองซื้อเพื่อการบริจาค 100% เพื่อให้แพทย์และพยาบาลที่ต้องทํา งานใกล้ชิดผู้ป่วย ได้มีหน้ากากอนามัย N95 ใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และโรค ระบบทางเดินหายใจอื่นๆ อีกทั้งในระยะยาวหน้ากากอนามัย N95 เป็นหน้ากากอนามัยที่มีคุณสมบัติ ในการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาที่ประชาชนยังคงต้องเผชิญต่อไป แม้ว่าจะ หมดปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้วก็ตาม

อนึ่ง โครงการธนาคารหน้ากากก่อตั้งขึ้นเมื่อ 23 มีนาคม 2563 จากปัญหาการขาดแคลนหน้ากาก อนามัยในภาวะที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 โครงการธนาคารหน้ากากแก้ปัญหาดังกล่าวแบบ Startup ด้วยแนวคิด Crowdfunding & Donation ด้วยการเปิดระดมทุนโดยประชาชนสามารถจองซื้อ หน้ากากอนามัยได้ในราคาชิ้นละ 2.50 บาท ซึ่งเป็นการซื้อเพื่อใช้งานเองและเพื่อการบริจาคให้หน่วย งานสาธารณสุขและองค์กรการกุศลต่างๆในสัดส่วน 1:1 (#ใช้ 1ให้1) ทั้งนี้ ผู้ก่อตั้งโครงการ ได้เปิดเผย ว่า หลังจากการเปิดตัวของธนาคารหน้ากากภายใต้แคมเปญรณรงค์ #หน้ากาก2บาท50มีจริงส่งถึงบ้าน และ #ใช้1ให้1

โครงการได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและองค์กรเอกชนจองซื้อหน้ากากอนามัย เข้ามาจํานวนมาก ทําให้ขณะนี้โครงการสามารถสั่งเครื่องจักรในการผลิตจํานวน 2 ชุด ซึ่งจะมีกําลังการ ผลิต 250,000 ชิ้นต่อวัน และสําหรับปัญหาสําคัญที่สุดในกระบวนการผลิตได้แก่ปัญหาวัตถุดิบ ทาง โครงการธนาคารหน้ากากได้ประสานขอความช่วยเหลือจากบริษัทในกลุ่มปตท. ซึ่งมีสารตั้งต้นในการ ผลิตชิ้นส่วนสําคัญของหน้ากาก และได้รับความช่วยเหลือในด้านวัตถุดิบคุณภาพสูงจากบริษัทผลิตวัตถุดิบอันดับสามของโลกสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งทําให้โครงการสามารถทยอยส่งมอบหน้ากากให้ผู้จองซื้อและผู้ รับบริจาคได้ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนนี้ และต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 1 ปี เพราะทางโครงการได้มีการ จองซื้อวัตถุดิบล่วงหน้าเพื่อความต่อเนื่องในการผลิต

นางสาว ปรางพิสุทธิ์ ได้กล่าวในตอนท้ายว่า เมื่อทางโครงการผลิตหน้ากากอนามัยให้กับผู้จองซื้อได้ ครบแล้ว ธนาคารหน้ากากก็จะทําหน้าที่เป็นคลังสํารองหน้ากากอนามัยเพื่อสนับสนุนการทํางานของ บุคลากรทางการแพทย์ และเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสใช้หน้ากากอนามัยในราคาเป็นธรรมต่อไป เพราะแม้ว่าปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะหมดลง ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ และ ปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จะยังคงมีอยู่ หน้ากากอนามัยจึงยังคงเป็นสิ่งจําเป็นเช่นเดียว กับยาสามัญประจําบ้านสําหรับทุกครัวเรือน

ทั้งนี้ ธนาคารหน้ากากอยู่ในระหว่างการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจ เพื่อสังคม (Social Enterprise) แบบไม่แสวงหากําไร (Non-profit Organization) การดําเนินงานของ โครงการในระหว่างนี้ เป็นการทํางานร่วมกันของทีมอาสาสมัคร และการสนับสนุนของหน่วยงานรัฐและ เอกชน อาทิ ธนาคารออมสินให้การสนับสนุนในการเปิดบัญชีธนาคารหน้ากากรวมทั้งการช่วยเหลือ ในการให้สินเชื่อเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทํางาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง (สจล.) ให้การสนับสนุนด้านการทํา AI image processing เพื่อควบคุมคุณภาพของ หน้ากาก

บริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด (มหาชน) สนับสนุนด้านการจัดส่งหน้ากากจากโรงงานผลิตส่งถึง บ้าน และสมาคมร้านขายยาให้การสนับสนุนเรื่องการให้ความรู้และคัดกรองโรคแก่ประชาชนทั่วไป โดยในระยะยาวธนาคารหน้ากากมีแผนที่จะกระจายสินค้าผ่านสมาคมร้านขายยาให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงหน้ากากในราคาเป็นธรรม และเข้าถึงการความรู้ การคัดกรองโรค ตลอดจนคําปรึกษาด้าน สุขภาพจากเภสัชกรในชุมชนของตน