ด้วยความนิยมของ Commander Format ที่มีคนเล่นเป็นจำนวนมาก Wizards of the Coast เริ่มสนับสนุน Format นี้ เริ่มจากปี ค.ศ. 2011 จนเมื่อปี ค.ศ. 2020 Wizards of the Coast ผู้ผลิตการ์ด Magic: The Gathering อยากเข้ามามีส่วนร่วมกับตลาด Commander Format อย่างจริงจัง จากเดิมที่เคยคิด Brawl Format ขึ้นมา แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีใครเล่น Format นี้เลย จนสุดท้าย WOTC ตัดสินใจขอเข้ามามีส่วนแบ่งใน Commander Format ด้วยเลยดีกว่า และปีนั้นเองที่ Commander Format มีชุดเสริมของตัวเองอย่างเป็นทางการในชุด Commander Legends และปัจจุบัน WOTC พยายามคิดการ์ดที่สามารถเอามาเล่นกับ Format นี้มากขึ้น

ใครที่ยังไม่รู้ว่า Commander Format คืออะไร เล่นยังไง สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ “มาสนุกเฮฮาไปกับ Commander Format ของ MTG พร้อมแนะนำกฎและเด็คสำหรับมือใหม่

Commander Format เป็น Format ที่เล่นแล้วสนุกจริง การเล่นร่วมกับผู้เล่นหลาย ๆ คน Format แบบนี้ไม่มีในการ์ดเกมรูปแบบอื่น ถือว่าเป็นอะไรที่พิเศษมากสำหรับ MTG ด้วยความที่สนุกจึงอยากบอกต่อ

แนะนำเด็คสำหรับเริ่มต้นในการเล่น Commander Format มี 6 เด็คด้วยกัน เป็นเด็คที่ WOTC ผลิตออกมาในราคาย่อมเยาให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายและยังเล่นดีด้วย

รูปจาก https://magic.wizards.com/

Land’s Wrath เด็คที่เน้นครีเจอร์ขนาดใหญ่ ทรงพลัง แม้ต้องแลกมาด้วยการร่ายมานามหาศาล

*รูปแบบการเล่นเด็คนี้จะเน้นที่การค้นหาแลนด์ลงสนาม การลงแลนด์ที่ลงได้มากกว่า 1 ใบต่อเทิร์น เพื่อให้สามารถร่ายครีเจอร์ขนาดใหญ่ได้และให้ความสามารถ Landfall ทำงาน*

Obuun, Mul Daya Ancestor ก่อนเข้าสู่ช่วงโจมตี สามารถเอาแลนด์มาโจมตีได้ แลนด์จะมีพลังเท่ากับพลังโจมตีของ Obuun ความสามารถจะสอดคล้องกับ Landfall เมื่อแลนด์ลงสนามของเรา จะบวกพลัง +1/+1 ให้กับครีเจอร์ตัวไหนก็ได้ในสนาม

Omnath, Locus of Rage ด้วยความสามารถ Landfall เมื่อลงแลนด์ในสนามของเรา จะสร้างครีเจอร์เผ่า Elemental 5/5 บนสนาม ยิ่งลงแลนด์ก็ยิ่งสร้างไปเรื่อย ๆ และพอครีเจอร์เผ่า Elemental ตาย จะโจมตีอะไรก็ได้ 3 ดาเมจ

Zendikar’s Roil เป็นอาคมอยู่บนสนาม พอแลนด์ลงสนามจะสามารถสร้างครีเจอร์เผ่า Elemental 2/2 ได้ ยิ่งลงเยอะก็สามารถกองทัพได้ไว

สามารถเช็กรายละเอียดเด็คได้ที่นี่ คลิก

รูปจาก https://magic.wizards.com/

Sneak Attack เด็คที่เน้นการตัดเกมฝ่ายตรงข้าม ด้วยความสามารถ Mills ทิ้งการ์ดจากกองการ์ดลงสุสาน

*รูปแบบการเล่นเด็คนี้จะเน้นครีเจอร์ที่ติดความสามารถห้ามป้องกันในการทำเกม พอโจมตีใส่ผู้เล่นโดยตรงได้ ผู้เล่นคนนั้นจะต้องทิ้งการ์ดจากกองการ์ดลงสุสานทันที แต่ครีเจอร์ส่วนใหญ่พลังจะน้อย อาจสู้กับครีเจอร์พลังเยอะลำบาก*

Anowon, the Ruin Thief จะบวกพลัง +1/+1 ให้กับครีเจอร์เผ่า Rogues ทุกใบที่เราควบคุม เมื่อไหร่ก็ตามที่ครีเจอร์เผ่า Rogues โจมตีใส่ผู้เล่นได้ ผู้เล่นคนนั้นจะต้องทิ้งการ์ดจากกองลงสุสานเท่ากับความเสียหายที่เสียไป ถ้าการ์ดที่ทิ้งไปเป็นครีเจอร์ เราจะได้จั่วการ์ดด้วย

Soaring Thought-Thief ตราบใดที่สุสานฝ่ายตรงข้ามมี 8 ใบขึ้นไป จะบอกพลัง +1/+0 และเมื่อไหร่ก็ตามที่ครีเจอร์เผ่า Rogues โจมตี คู่ต่อสู้ทุกคนต้องทิ้งการ์ดจากกองลงสุสาน 2 ใบ

Whispersteel Dagger อาวุธสวมใส่ +2/+0 เมื่อไหร่ที่ครีเจอร์สวมอาวุธนี้โจมตีใส่ผู้เล่นได้ เราจะร่ายการ์ดครีเจอร์จากสุสานผู้เล่นได้ โดยจะจ่ายมานาเป็นสีอะไรก็ได้

สามารถเช็กรายละเอียดเด็คได้ที่นี่ คลิก

รูปจาก https://twitter.com/jacobsontyler

Arm for Battle เด็คที่เน้นการติดอาวุธเยอะ ๆ ยืนเดี่ยวแล้วทรงพลัง และเป็นเด็คที่เล่นง่ายที่สุดใบบรรดาเด็คที่นำมาแนะนำ

*รูปแบบการเล่นเด็คนี้จะเน้นที่การติดอาวุธเพื่อเสริมพลังและความสามารถครีเจอร์ตัวเดียวเพื่อทำเกม จุดอ่อนหลักการ์ดที่สวมอาวุธจะตกเป็นเป้าของฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย*

Wyleth, Soul of Steel มาพร้อมความสามารถตีทะลุ เมื่อไหร่ Wyleth โจมตี จะได้จั่วการ์ดเท่ากับบรรดาการ์ดที่ติดให้กับใบนี้

Sigarda’s Aid เป็นอาคมที่ทำให้บรรดาการ์ดเสริมครีเจอร์สามารถร่ายแทรกระหว่างเล่นได้ และยังทำให้การ์ดอาวุธสามารถติดครีเจอร์ฟรีไม่ต้องร่ายด้วย

Blazing Sunsteel จะ +1/+0 เท่ากับคู่ต่อสู้ที่กำลังเล่นอยู่ และพอครีเจอร์ที่ติดใบนี้ทำความเสียหายได้ จะทำความเสียหายใส่เป้าหมายใดก็ได้

สามารถเช็กรายละเอียดเด็คได้ที่นี่ คลิก

รูปจาก https://www.mtgnexus.com/

Reap the Tide เด็คนี้อาจมีความคล้ายกับ Land’s Wrath เรื่องการ์ดลงแลนด์ แต่จะเด่นเรื่องของการได้จั่วการ์ดเติมมือตลอด

*รูปแบบการเล่นเด็คนี้จะเน้นที่ความสามารถลงแลนด์เพิ่มและได้เติมมือในเวลาเดียวกัน และยังมีการ์ดหลายใบที่คอยกวาดสนามของฝ่ายตรงข้ามขึ้นมือ เพื่อให้เกิดช่องว่างในการโจมตีจากครีเจอร์อสูรทะเล*

Aesi, Tyrant of Gyre Strait สามารถลงแลนด์เพิ่มได้ทุกเทิร์น เมื่อไหร่ก็ตามที่แลนด์ลงสนามภายใต้การควบคุม จะได้จั่วการ์ดใบหนึ่ง

Nezahal, Primal Tide พอใบนี้ลงสนามจะทำให้เรามีการ์ดบนมือได้ไม่จำกัด เมื่อไหร่ก็ตามที่คู่ต่อสู้ร่ายการ์ดที่ไม่ใช่ครีเจอร์ เราจะได้จั่วการ์ด และทิ้งการ์ด 3 ใบในมือ สามารถนำ Nezahal ออกนอกเกมและจะกลับมายังสนามได้อีกครั้งในเทิร์นหน้า

Whelming Wave จะทำให้ครีเจอร์ทุกใบขึ้นมือ ยกเว้นครีเจอร์เผ่า Krakens, Leviathans, Octopuses และ Serpents

สามารถเช็กรายละเอียดเด็คได้ที่นี่ คลิก

รูปจาก https://magic.wizards.com/

Phantom Premonition เด็คนี้จะมาในธีมนักรบ Vikings จะเน้นการสร้างครีเจอร์ที่ติดความสามารถบิน ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถป้องกันการโจมตี

*รูปแบบการเล่นเด็คนี้จะเน้นความสามารถใหม่ Foretell เป็นการลดค่าร่ายเพียงแต่จะต้องออกจากเกมไปก่อน และจะเน้นการทำเกมจากครีเจอร์หลายใบมีความสามารถบิน จะไม่ตกเป็นเป้าของการป้องกัน*

Ranar the Ever-Watchful เมื่อใดที่ Foretell ครั้งแรกในเทิร์นนี้ จะไม่เสียค่าร่าย เมื่อไหร่ก็ตามที่นำการ์ดออกจากเกมจากมือหรือบนสนาม จะสร้างครีเจอร์เผ่า Spirit 1/1 ลงมายังสนาม

Sage of the Beyond จะทำให้ให้เราสามารถร่ายอะไรก็ได้จากบนมือและค่าร่ายจะลดลงไป 2

Ethereal Valkyrie เมื่อไหร่ที่ใบนี้ลงบนสนามหรือโจมตี จั่ว 1 ใบ แล้วนำการ์ดหนึ่งใบจากมือออกจากเกมแบบคว่ำหน้า สามารถร่ายการ์ดใบนั้นในรูปแบบ Foretell ด้วยลดค่าร่ายไป 2

สามารถเช็กรายละเอียดเด็คได้ที่นี่ คลิก

รูปจาก https://magic.wizards.com/

Elven Empire เด็คนี้มาในธีมเผ่า Elf เน้นการลงครีเจอร์ที่รวมเร็วและเน้นเพิ่มพลังให้กับครีเจอร์เผ่า Elf เป็นหลัก

*รูปแบบการเล่นเด็คนี้จะเน้นการทำเกมที่รวดเร็วกว่าทุกเด็คที่แนะนำ ครีเจอร์เผ่า Elf จะมีความสามารถสร้างมานาได้ในตัวเอง ทำให้สามารถร่ายการ์ดได้รวดเร็ว และยังมีการเสริมพลังทำให้ครีเจอร์มีพลังที่เยอะขึ้นด้วย*

Lathril, Blade of the Elves เมื่อ Lathril ทำความเสียหายใส่ผู้เล่นได้ จะสร้างครีเจอร์เผ่า Elf 1/1 เท่ากับความเสียหายที่ผู้เล่นโดน และพลิกครีเจอร์ Elf ที่เราไม่ได้ควบคุม 10 ใบบนสนาม ฝ่ายตรงข้ามทุกคนจะเสีย 10 พลังชีวิต และเราได้ 10 พลังชีวิต

Wolverine Riders เมื่อเข้าสู่เทิร์นตัวเอง สร้างครีเจอร์ Elf 1/1 บนสนาม เมื่อใดก็ตามที่ครีเจอร์ Elf ลงบนสนามฝ่ายเรา เราจะได้พลังชีวิตเท่ากับพลังชีวิตของใบนั้น

Elven Ambush จะสร้างครีเจอร์ Elf 1/1 บนสนาม เท่ากับครีเจอร์ Elf ทุกใบบนสนาม เป็นใบสร้างกองทัพที่โหดมาก

สามารถเช็กรายละเอียดเด็คได้ที่นี่ คลิก

ทั้งหมดเป็นการนำแนะเด็คเริ่มต้นสำหรับใครที่สนใจอยากมาลองเล่น Commander Format มีให้เลือกเล่นอย่างหลากหลายรูปแบบ และยังสามารถนำไปปรับแต่งให้เข้ากับการเล่นของตัวเองตามความคิดสร้างสรรค์ได้อีกด้วย

ใครสนใจสามารถหาซื้อได้ตามร้านค้าที่เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย Magic: The Gathering ทั่วประเทศ

สามารถติดตามข่าวสารได้จาก Magic: The Gathering Thailand

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส