เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่การเรียนรู้ไร้พรมแดน นักเรียนนักศึกษาในยุคปัจจุบันจะต้องปรับตัวต่อสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนไปนี้อย่างไร ?

ทำความเข้าใจ “การเรียนยุค 4.0”

อธิบายสั้นๆ คือ

Education 3.0 คือ การเรียนโดยเน้นให้นักเรียนนักศึกษาแสวงหาองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆอย่างอิสระ ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์, สื่อดิจิทัล และสื่อออนไลน์ และนำมาประยุกต์แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันผ่านการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป

Education 4.0 หรือ การเรียนยุค 4.0  คือ การเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนนักศึกษา สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกนี้ มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่างๆ มาตอบสนองความต้องการของสังคม

(ข้อมูลจาก applicadthai)

ยกตัวอย่างการเรียนการสอนในยุค 4.0

ในยุค IoT (Internet of Things) ที่มีการเสพสื่ออย่างอิสระเช่นนี้ เราต้องยอมรับว่าสิ่งที่นักเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้ไปแล้วนั้น มันก็คือ “ของเก่า” ในทันทีที่ออกจากห้องเรียน และพวกเขาก็จะรับข้อมูลใหม่ๆเข้ามาอยู่เสมอ ดังนั้นองค์ความรู้ที่แท้จริงจะมาจากการที่ครู “ตั้งคำถาม” ขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนได้ “ถกเถียง” อันจะนำไปสู่การ “คิดวิเคราะห์” เพื่อค้นหา “ข้อเท็จจริง” และอันนำไปสู่ “ความรู้ความเข้าใจ” ในที่สุด

กล่าวคือ “ข้อมูล” คือตัวแปรต้น “นักเรียนนักศึกษา” คือตัวแปรตาม และ “ครู” คือตัวแปรควบคุม

ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างจากทวิตเตอร์ของ Stephanie McKellop หรือ @McKellogs ดังนี้

คุณครู Stephanie Mckellop เปิดเผยว่านักเรียนในชั้นเรียนได้ใช้แอป Google Docs ในการจดเลคเชอร์ร่วมกันทั้งชั้น

  • Google Docs เป็นแอปสำหรับพิมพ์เอกสาร คล้ายกับ Microsoft Word แต่สามารถแชร์เอกสารให้กับคนอื่นๆได้ใช้และแก้ไขร่วมกันได้แบบเรียลไทม์

เมื่อนักเรียนได้ร่วมกันจดเลคเชอร์ จะนักเรียนบางคนแสดงเครื่องหมายในส่วนที่ตนไม่เข้าใจ และนักเรียนอีกคนที่เห็นจะเข้ามาอธิบายในทันที สุดท้ายผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ “การจดเลคเชอร์ระดับมหาชนที่สอดแทรกไปด้วยด้วยคำถามและคำอธิบายจากเพื่อนร่วมชั้น”

และนั่นทำให้คุณครู Stephanie Mckellop ประหลาดใจ และปราบปลื้มในความฉลาด (มากๆ) ของนักเรียนยุคนี้

คำสำคัญ คือ “การอธิบาย”

นี่คือการเรียนรู้แบบ Interactive ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างนักเรียนนักศึกษา โดยมีครูเป็นผู้ควบคุมองค์ความรู้ทั้งหมด ซึ่งสิ่งคำคัญที่นักเรียนนักศึกษาได้รับคือการได้ “อธิบาย” ความรู้ที่ตนเองมี ซึ่งจะทำให้เกิด “พัฒนาการในเชิงความคิด” และส่งผลต่อเนื่องต่อการ “ประยุกต์องค์ความรู้” เพื่อพัฒนาไปสู่แนวคิดที่สูงขึ้น

และนั่นมีความสำคัญมากกว่าการที่จะเป็นเพียงแค่ “ผู้รับข้อมูล” แต่เพียงด้านเดียว แต่ไม่ได้สามารถ “อธิบาย” สิ่งที่ได้รับได้

สำหรับนักเรียนนักศึกษาในประเทศไทยนั้น มีสถิติในการเรียนในห้องเรียนมากกว่านักเรียนในต่างประเทศค่อนข้างมาก เนื่องจากในต่างประเทศจะเน้นให้นักเรียนทำกิจกรรมเสริมทักษะมากกว่า นั่นทำให้เรามีโอกาสที่จะนำข้อมูลต่างๆที่เราได้รับมาประยุกต์ให้เหมาะสมการยุค IoT ได้เป็นอย่างดี

และเป็นหน้าที่ของ “ผู้แนะแนวทาง” ที่จะ “ปูทาง” ให้กับนักเรียนนักศึกษาต่อไป

ข้อมูลอ้างอิง : pizzabottle