ก่อนหน้าการแพร่ระบาดของโควิด-19 รายได้จากภาคการท่องเที่ยวคิดเป็น 18% ของ GDP ประเทศไทย ซึ่งอุตสาหกรรมที่กำลังฟื้นตัวนี้ กำลังเจออุปสรรคสำคัญนั่นก็คือปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

Khao Lak Thailand June 2022, Devasom a luxury hotel at the beach of Khao Lak in Arabic style, a modern hotel, with a beautiful swimming pool with bed chairs and sun loungers in Thailand

สำนักข่าวนิกเกอิรายงานว่า ตั้งแต่รัฐบาลไทยประกาศเปิดประเทศอีกครั้งในเดือนกรกฎาคม ปี 2565 ประเทศไทยได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วมากกว่า 11 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดการณ์ไว้ที่ 10 ล้านคน แต่อุตสาหกรรมที่กำลังจะสร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศอีกครั้ง กำลังเจออุปสรรคสำคัญนั่นก็คือ ‘การขาดแคลนแรงงาน’

ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานระบุว่า จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้น ๆ ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำเป็นต้องเพิ่มแรงงานให้ได้มากกว่า 17,000 ตำแหน่งขึ้นไป เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่เชียงใหม่ต้องการเพิ่มแรงงานอีก 9,000 ตำแหน่ง และชลบุรีต้องการแรงงานเพิ่มอีก 3,000 ตำแหน่ง

นายกฤษฎา ตันสกุล ที่ปรึกษาสมาคมโรงแรมไทย ระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยอาจจะแย่ลงมากกว่าดีขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่กำลังเดินทางเข้ามา ในขณะที่โรงแรมกลับขาดแคลนแทบทุกตำแหน่ง ไล่ตั้งแต่พนักงานต้อนรับ, พนักงานยกกระเป๋า, แคชเชียร์ หรือแม้แต่ผู้จัดการโรงแรมก็ยังขาดแคลน

Bellboy taking baggage of guest from thee car to his room.

ททท. คาดการณ์ว่าตลอดทั้งปี 2566 นี้ จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยทะลุ 25 ล้านคน ในขณะที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คาดการณ์ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติไว้มากกว่า ททท. ที่ 30 ล้านคน รวมถึงคาดการณ์ตัวเลขรายได้ว่าอาจจะมากกว่า 3 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม นายชำนาญ ศรีสวัสดิ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ถ้าปัญหาแรงงานขาดแคลนยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็เป็นไปได้ยากที่ประเทศไทยจะสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้มากถึง 25 – 30 ล้านคน ไม่ต้องนับถึงตัวเลขรายได้ที่คาดการณ์ไว้ก็อาจจะพลาดเป้าด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ นายชำนาญยังระบุอีกว่า แม้จะสามารถแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลนได้ แต่ภาคการท่องเที่ยวก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายในเรื่องของต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น เช่น ค่าไฟฟ้าและค่าแรง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อุตสาหกรรมที่กำลังฟื้นตัวนี้อาจทำกำไรได้ลดลง

Cropped portrait of housecleaner rolling towels on bed while cleaning bedroom and preparing everything for clients to move in, making room look neat and tidy. Maid on duty trying her best.

นายเอกสิทธิ์ งามพิเชษฐ์ นายกสมาคมนักธุรกิจและการท่องเที่ยวเมืองพัทยา ระบุว่า มันเป็นเรื่องที่ยากมากที่จะทำกำไรได้ในตอนนี้ เพราะโรงแรมต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องจ่ายค่าแรงที่ดึงดูดใจมากพอที่จะรั้งพนักงานเอาไว้ในช่วงเวลาแบบนี้

การท่องเที่ยวของประเทศไทยเฟื่องฟูถึงขีดสุดในช่วงปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงสิ้นปี โดยในช่วงเวลานั้น โดยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศเกือบ 40 ล้านคน และทันทีที่เกิดโรคระบาดขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงอย่างมากเหลือเพียง 6.7 ล้านคนเท่านั้นในปี 2563 และในปี 2564 ก็อยู่ในระดับที่น่าใจหายคือ 420,000 คน

ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานยังอีกระบุว่า ในช่วงก่อนการเกิดโรคระบาดนั้น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยมีแรงงานราว 7.7 ล้านคน และลดลงเหลือเพียง 3.9 ล้านคน เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น โดยแรงงานที่หายไปนั้น 6.6% ถูกปลดออก และต้องกลับคืนสู่บ้านเกิดอีกครั้ง โดยเลือกประกอบอาชีพในภาคการเกษตร ขณะที่อีก 20% มองหางานใหม่ในอุตสาหกรรมอื่น และอีก 20% ที่เหลือเริ่มต้นทำธุรกิจของตนเอง

Koh Hong Island Krabi Thailand, a couple of men and women on the beach of Koh Hong, a tropical white beach with Asian women and European men in Krabi Thailand

ดร.วัชรี ปรัชญานุสรณ์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา ระบุว่า แรงงานที่ถูกปลดออกและเริ่มต้นทำธุรกิจของตนเองนั้น รู้สึกมั่นคงมากขึ้นกับการเป็นเจ้าของกิจการ เพราะพวกเขาไม่ต้องกังวลกับการปลดพนักงานอีกต่อไป และมันไม่ใช่เรื่องที่คาดเดาได้ยากเลยว่าพวกเขาจะไม่หวนคืนสู่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวอีกแล้ว

นอกจากนี้ ดร.วัชรี ยังให้ความเห็นอีกว่า แรงงานที่มองหางานใหม่ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ถ้าพวกเขาได้รับค่าแรงมากกว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มันก็แทบจะแน่นอนว่าพวกเขาจะไม่กลับมา เว้นเสียแต่ว่าโรงแรมจะเพิ่มค่าแรงให้มากพอ เพื่อดึงดูดใจแรงงานให้กลับมาทำงานอีกครั้ง และนั่นย่อมหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กอาจมีสายป่านที่ไม่ยาวพอที่จะต่อสู้กับโรงแรมใหญ่ ๆ ในการแย่งพนักงานมาได้

แม้ว่าจะเป็นปัญหาที่ดูเหมือนงูกินหาง แต่ นายชำนาญ ระบุว่า “เรื่องนี้ยังพอมีทางแก้ไข” นั่นก็คือ การให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กร่วมมือกับสถาบันการศึกษา จับคู่กันระหว่างตำแหน่งงานที่ว่าง และนักศึกษาที่ต้องการฝึกงาน เพื่อลดต้นทุนในการจ้างงานพนักงาน ในขณะเดียวกันนักศึกษาก็ได้ฝึกประสบการณ์ในสถานที่ทำงานจริง และได้รับค่าตอบแทนที่แม้ว่าจะไม่มาก แต่ก็เป็นโอกาสที่ดีในการต่อยอดไปสู่อาชีพในอนาคต

“ด้วยมาตรการนี้ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยน่าจะกลับสู่ภาวะปกติ ก่อนการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ภายในสิ้นปี 2566 นี้” นายชำนาญกล่าว

ที่มา : Nikkei

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส