ในปี 2014 เป็นปีที่มีการเฝ้าระวังและการคาดการณ์แนวทางเคลื่อนไหวของสื่อโซเชียลมีเดียเป็นอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของผู้ใช้มีความรุนแรง และ ก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อยๆ องค์กรบางกลุ่มถึงขั้นต้องร่วมมือกันปิดการแสดงความคิดเห็นบางส่วน เพื่อลดความรุนแรงที่เกิดขึ้น และภายในไม่กี่สัปดาห์ Recode, The Week, USA Today และ Reuters ร่วมมือกับ Popular Science และ The Chicago Sun-Times เพื่อประกาศว่าพวกเขาจะปิดช่องทางการแสดงความคิดเห็นของพวกเขาลง เพื่อกระตุ้นให้ผู้ใช้แสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางอื่นแทน

ในปี 2015, Ben Frumin หัวหน้าบรรณาธิการของ The Week บอกกับ Nieman Lab ว่าการแสดงความคิดเห็นบนโลกอินเตอร์เน็ทเป็นเรื่องง่ายดาย คุณสามารถกล่าววิจารณ์ หรือแสดงความคิดเห็นแบบใดก็ได้ผ่านโซเชียลที่เป็นเหมือนเกราะป้องกันคุณจากสังคม ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เราเห็นแล้วว่าการแสดงความคิดเห็นมีความรุนแรงเพียงใด เราจึงควรพิจารณาว่าความจริงแล้วมันยังคงจำเป็นอยู่หรือไม่ที่จะมีการแสดงความคิดเห็น?

แต่ในความเป็นจริงแล้วช่องทางการแสดงความคิดเห็น เป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนในการแสดงความคิดเห็นต่อบทความหรือข่าวต่างๆ ซึ่งส่งผลในทางบวก และ ลบได้ ในขณะเดียวกันการแสดงความคิดเห็นผ่านสังคมออนไลน์ เป็นจิตวิทยาประเภทหนึ่ง ดร. T Frank Waddell ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในวิทยาลัยวารสารศาสตร์และการสื่อสารแห่งมหาวิทยาลัย Florida กล่าว งานวิจัยล่าสุดบอกกับเราว่า การแสดงความคิดเห็นด้านลบสามารถโน้มน้าวความคิดเห็นผู้อ่านคนอื่นได้เช่นกัน ไม่ว่าคุณจะอ่านความคิดเห็นเชิงบวก หรือลบก่อน แต่แนวโน้มที่จะมีความคิดเห็นลบตามนั้นกลับถูกกระตุ้นได้ง่ายกว่า และการแสดงความคิดเห็นที่ไม่สุภาพก็ส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์เช่นกัน

ความคิดเห็นเชิงลบเหมือนเป็นยาพิษ เราสังเกตได้ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่มีความคิดเห็นเชิงลบอยู่ในการแสดงความคิดเห็น ผู้คนส่วนมากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากความคิดเห็นเชิงลบมากกว่าบวก แต่ถึงอย่างไรก็ตามทีมวิจัยกล่าวว่าการปิดช่องทางการแสดงความคิดเห็นเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด เพราะหากพวกเขาไม่พูดกันบนเว็บไซต์ เขาก็ต้องวิจารณ์ความคิดแย่ๆผ่านช่องทางอื่นเช่น Facebook หรือ Twitter อยู่ดี ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องคือการปรับกระบวนการความคิดต่างหาก แต่มันก็ไม่ได้ปรับกันได้ง่ายอย่างที่เราคิด ผู้สื่อข่าวจึงเป็นคนสำคัญที่จะสื่อข่าวเหล่านั้นออกมาเป็นกลาง และมีคุณภาพให้มากที่สุด

การปิดช่องทางการแสดงความคิดเห็นก็เช่นกัน นั่นอาจส่งผลถึงระบบการเงินของเว็บไซต์ จะว่าง่ายๆการแสดงความคิดเห็นเป็นเหมือนช่องทางให้คนเข้าชมเว็บพร้อมทั้งแชร์บทความเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การปิดการแสดงความคิดเห็นจึงเป็นเหมือนการปิดกั้นความเป็นจริงนั่นอาจทำให้ยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ลดลงด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม 2 ปีให้หลังมานี้หลายเว็บไซต์พยายามพัฒนาระบบ AI ที่ช่วยคัดกรองบัญชีผู้ใช้ปลอมเพื่อหวังลดความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมลง ถึงแม้หลายคนจะบอกว่ามันเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่า AI จะทำได้ แต่อย่าลืมว่าระบบ AI สามารถพัฒนาและปรับปรุงได้อยู่เสมอ ดังนั้นในอีกไม่ช้าเราอาจเห็นระบบ AI ที่จะออกมารับมือกับเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีคุณภาพก็ได้

อย่าเอาแต่จะหวังพึ่ง AI เลย ในความเป็นจริงเราทุกคนควรจะกลั่นกรองคำพูด และ ความคิดก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นใดๆบนอินเตอร์เน็ท ไม่เพียงแค่เพราะว่ามันส่งผลต่อผู้อื่นเท่านั้น แต่การที่เราจะสร้างวัฒนธรรมการแสดงความคิดเห็นที่ดี เราต้องใช้ความร่วมมือจากทุกๆคนเพื่อสร้างวัฒนธรรมที่ดีไปด้วยกัน

อ้างอิง