หลุมดำ
A black hole is an object so compact that nothing can escape its gravitational pull. Not even light. On Earth an object needs to be launched with a speed of 11 km/s if it is to escape the planet's gravity and go into orbit. But the escape velocity of a black hole exceeds the speed of light. Since nothing can travel faster than this ultimate speed, black holes suck in everything including light, which makes them utterly dark and invisible. In this image, we can see a black hole, but only because it is surrounded by a superheated disc of material, an accretion disc. The closer to the hole the material gets, the more and more of its light is captured, which is why the hole grows darker towards its cente.

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบวิธีใหม่ในการมองหาหลุมดำ! จะมืดแค่ไหนก็หาเจอแน่

คุณจะสามารถมองเห็นสิ่งที่มองไม่เห็นได้อย่างไร? คำถามนี้ดูกำกวมใช่ไหม? แต่เรื่องแบบนี้นักวิทยาศาสตร์กลับชอบทำนัก เมื่อ Space.com รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบวิธีใหม่ในการค้นหาหลุมดำที่ซ่อนตัวอยู่ในอวกาศที่มืดมิดได้โดยการสังเกตแสงจากดวงดาวที่เปลี่ยนไปรอบ ๆ ตัวมัน อืม… เอากับเขาสิ

เป็นที่รู้กันดีว่าหลุมดำนั้นดูดกลืนทุกสิ่งอย่างที่มันผ่านไม่เว้นแม้แต่แสง นั่นจึงทำให้เราสามารถเห็นมันได้อย่างชัดเจน หลุมดำที่หาง่ายที่สุดคือหลุมที่ก่อตัวเป็นระบบดาวคู่กับดาวฤกษ์ เช่นหลุมดำ Cygnus X-1 เพราะหลุมดำจะโคจรคู่กันกับดาวฤกษ์ เมื่อหลุมดำโคจรรอบดาวฤกษ์มันจะทำการดึงสสารต่าง ๆ ออกมาจากดาวหลังจากนั้นจะดูดกลืนสสารเหล่านั้นเข้าไป และปล่อย X-Ray (รังสี X) ออกมา นักวิทยาศาสตร์จะสามารถตรวจสอบรังสี X ที่ถูกปล่อยออกมาได้ ทำให้พวกเขารู้ว่าหลุมดำอยู่ตรงไหน

แต่วิธีการนี้มีข้อจำกัดเพราะมันจะใช้ได้เฉพาะกับหลุมดำที่อยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ที่มันโคจรด้วยเท่านั้น อย่างไรก็ตามเหล่านักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ายังมีหลุมดำอีกจำนวนมากที่ไม่ได้โคจรใกล้ดาวฤกษ์ นั่นทำให้พวกมันหายาก เหมือนกับเล่นซ่อนหาอยู่ในอวกาศเลยทีเดียว

งานวิจัยชิ้นใหม่นี้ทำให้เราเห็นว่าตอนนี้นักวิทยาศาสตร์มีวิธีการที่จะหาหลุมดำที่ลอยเคว้งไม่ใกล้กับดาวฤกษ์ดวงไหนได้แล้ว โดยการใช้ spectroscopy (เครื่องมือในการตรวจวัดปริมาณแสง โดยอาศัยคุณสมบัติของความยาวคลื่นแสง ที่สัมพันธ์กับชนิดของสสาร)

เพื่อที่จะทำการระบุหลุมดำเหล่านั้น นักวิทยาศาสตร์จะเริ่มทำการค้นหา Doppler shift (ค่าความยาวแสงที่ดาวปล่อยออกมา) ที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป การเปลี่ยนแปลงของ Doppler shift สามารถช่วยชี้เป้าแหล่งกำเนิดแรงดึงดูดที่แข็งแกร่งได้ เมื่อความสว่างของดวงดาวเริ่มเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบที่แน่นอน แสดงว่ามีวัตถุขนาดใหญ่กำลังเคลื่อนผ่านดวงดาวดวงนั้น เมื่อนำเงื่อนไขทั้งสองมารวมกันเราก็จะสามารถหาหลุมดำได้!

ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิสูจน์ประโยชน์ของวิธีการดังกล่าวอยู่ หากพวกเขาประสบความสำเร็จเราอาจมีเครื่องมือใหม่สำหรับค้นหาหลุมดำจำนวนมากทั่วกาแล็กซีของเรา

อ้างอิง Engadget

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส