เชื่อว่าหลายคนรู้จักการทำมือเป็นสัญลักษณ์ “มินิฮาร์ต” กันดี และหลาย ๆ คนก็เคยทำนิ้วมินิฮาร์ตกันมาบ่อยครั้งเวลาถ่ายภาพ เป็นการทำนิ้วง่ายด้วยการกำมือหันหลังมือออก แล้วก็ชูนิ้วชี้กับนิ้วโป้งให้ปลายนิ้วไขว้กัน มองเผิน ๆ จะเหมือนรูปหัวใจ ก่อนมีมินิฮาร์ตเข้ามา เราก็มักจะทำสัญลักษณ์ชูนิ้วชี้กับนิ้วก้อยกันสื่อความหมายว่า “ฉันรักเธอ” หรือไม่ก็กางแขนออกกว้าง ๆ มาจิ้มหัวให้วงแขนคล้ายรูปหัวใจ หรือไม่ง่าย ๆ ก็ชูสองนิ้วแทนความหมายดี ๆ ว่า “สู้ ฯ” หรือ “ชัยชนะ”

ท่านผู้นำ คิม จองอึน ยังเคยทำมินิฮาร์ตมาแล้วเลย

ท่านผู้นำ คิม จองอึน ยังเคยทำมินิฮาร์ตมาแล้วเลย

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์การทำนิ้ว “มินิฮาร์ต” นี้มาแรงสุดในช่วง 4-5 ปีหลังนี้ จากจุดเริ่มต้นในวงการบันเทิงที่บรรดาศิลปินนักร้อง นักแสดง กับแฟน ๆ ต่างทำนิ้วมินิฮาร์ตเพื่อส่งความรักให้กัน แล้วก็ไม่ใช่แค่ในวงการบันเทิงแล้วนะ แต่ลามไปทุกวงการแล้วทั้งวงการธุรกิจและบรรดานักการเมือง ถึงขั้น คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือก็ยังเคยทำ “มินิฮาร์ต” มาแล้วด้วย ทุกวันนี้เทรนด์มินิฮาร์ตไม่ได้จำกัดวงอยู่แค่ในเอเซียแล้ว แต่เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกแล้ว แต่ในระดับสากลจะเรียกว่า “Finger Heart” ไปเจอฝรั่งอย่าเรียก Mini Heart นะ ฝรั่งจะงง น่าจะมีวงแคบ ๆ แถวบ้านเราเนี่ยล่ะที่เรียกว่า “มินิฮาร์ต”

นักแสดง The Avengers ตอนมาโปรโมตหนังที่เกาหลีใต้ ก็ต้องทำสัญลักษณ์มินิฮาร์ต

นักแสดง The Avengers ตอนมาโปรโมตหนังที่เกาหลีใต้ ก็ต้องทำสัญลักษณ์มินิฮาร์ต

แต่ว่าเจ้าสัญลักษณ์ “มินิฮาร์ต” นี่มันมีจุดเริ่มต้นมาจากไหนนะ

ถ้าให้เดาว่าผู้นำเทรนด์สัญลักษณ์น่ารักแบบนี้จะมาจากประเทศไหน ตัวเลือกก็คงไม่หนี ญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้เป็นแน่ เพราะเป็นประเทศที่ผลิตศิลปินในไสตล์คิขุวัยหวานออกล่าอาณานิคมทางดนตรีกันในวงกว้างจำนวนมาก และจุดกำเนิดของสัญลักษณ์ของ “มินิฮาร์ต” ก็มาจากเกาหลีใต้นี่เองล่ะครับ พอมินิฮาร์ตแพร่หลายเริ่มใช้กันในระดับสากล ก็เลยมีศิลปิน 3 รายอ้างตนเป็นผู้ริเริ่มเจ้าสัญลักษณ์นี้ พร้อมทั้งมีหลักฐานมาอ้างอิงด้วยนะเออ รายหนึ่งเป็นนักแสดง อีกหลายหนึ่งเป็นศิลปินบอยแบนด์ และศิลปินตลก มาดูผู้ริ่เริ่มกันทีละคนนะครับ

คิม ฮีซู

คิม ฮีซู กับ ชิน ซองวู ทำมินิฮาร์ตตอนโปรโมตทีวีซีรีส์ Home Sweet Home เมื่อปี 2010

คิม ฮีซู กับ ชิน ซองวู ทำมินิฮาร์ตตอนโปรโมตทีวีซีรีส์ Home Sweet Home เมื่อปี 2010

คิม ฮีซู เป็นนักแสดงหญิงรุ่นใหญ่วัย 49 ปี อยู่ในวงการบันเทิงมาแล้วกว่า 30 ปี มีผลงานการแสดงทั้งทีวีซีรีส์และภาพยนตร์ มีกระทั่งผลงานเพลงของตัวเอง ผลงานของเธอที่เป็นที่รู้จักกันมากสุดคือ The Thieves ภาพยนตร์ปี 2012 ทำรายได้ถล่มทลายถึง 12.9 ล้านเหรียญ อยู่ในตารางหนังทำรายได้สูงสุดตลอดกาลอันดับที่ 8

คิม ฮีซู โพสต์ภาพเซลฟีตอกย้ำสถานะผู้ริเริ่มมินิฮาร์ต

คิม ฮีซู โพสต์ภาพเซลฟีตอกย้ำสถานะผู้ริเริ่มมินิฮาร์ต

คิม ฮีซู อ้างว่าเธอเนี่ยแหละคือผู้ให้กำเนิดเจ้าสัญลักษณ์มินิฮาร์ตเนี่ยแหละ พร้อมทั้งมีหลักฐานยืนยันแน่ชัดด้วยว่า ตอนที่เธอแสดงทีวีซีรีส์เรื่อง Home Sweet Home เมื่อปี 2010 เธอได้ถ่ายภาพคู่กับนักแสดงชาย ชิน ซองวู แล้วก็ทำท่ามินิฮาร์ตด้วยกันระหว่างโปรโมตรซีรีส์เรื่องนี้ พอภาพนี้ถูกแชร์ออกไป ก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ใครต่อใครเห็นชอบแล้วก็ทำตามเธอ

จี-ดรากอน

เจ้าหนู จี-ดรากอน กับภาพวัยเด็กที่อ้างว่าเป็นผู้ริเริ่มมินิฮาร์ต

เจ้าหนู จี-ดรากอน กับภาพวัยเด็กที่อ้างว่าเป็นผู้ริเริ่มมินิฮาร์ต

จี-ดรากอน สมาชิกหนุ่มจากวงบอยแบนด์ชื่อดัง Big Bang ขออ้างตนว่าเป็นผู้ริเริ่มตัวจริงในการทำสัญลักษณ์นี้ คิม ฮีซู เพิ่งมาทำนิ้วแบบนี้เมื่อตอนปี 2010 แต่เขาน่ะทำมาตั้งแต่เด็กแล้วนะ พร้อมกับภาพประกอบตอนเป็นเด็กมายืนยันเป็นหลักฐาน

ยัง เซฮยอง

ยัง เซฮยอง กับภาพที่มาขอบลัฟจี-ดรากอน ว่าเขาทำก่อนเสียอีก

ยัง เซฮยอง กับภาพที่มาขอบลัฟจี-ดรากอน ว่าเขาทำก่อนเสียอีก

หลังจาก จี-ดรากอน โพสต์ภาพตัวเขาตอนเด็กทำนิ้วเป็นภาพมินิฮาร์ต ในการอ้างตนว่าเป็นผู้ริเริ่ม ก็โดนเบรกจาก ยัง เซฮยอง ศิลปินตลก ที่นำภาพวัยเด็กมาอ้างเช่นกันว่า เขาก็ทำท่านี้มาตั้งแต่เด็กเช่นกัน แล้วทำมาก่อน จี-ดรากอน ด้วยซ้ำ เพราะเขามีอายุมากกว่า ยัง เซฮยอง อายุ 34 ปี ส่วน จี-ดรากอน อายุ 31 ปี ชาวเน็ตพิจารณาจากภาพแล้ว ก็ยอมโอนอ่อนตามหลักฐานว่าภาพของ ยัง เซฮยอง เก่ากว่าจริง

แต่เอาจริง ๆ เหอะ ภาพตอนเด็ก ๆ สมัย 20 กว่าปีนู้น ตอนที่ทำรู้ไหมว่าเป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายอะไร ถึงแม้ว่า คิม ฮีซู จะไม่มาโต้แย้งกับสองรายนี้ แต่ดูจากช่วงเวลาที่สัญลักษณ์มินิฮาร์ตกลายมาเป็นเทรนด์ในวงกว้างนี่มันสอดคล้องกับช่วงเวลาที่เธอทำมากกว่า แล้วเธอก็ทำตอนที่มีชื่อเสียงแล้วก็ใช้ในการโปรโมตทีวีซีรีส์ด้วย มันดูสมเหตุสมผลกว่าเนอะ

แต่สำคัญที่สุดควรใช้สัญลักษณ์มินิฮาร์ตให้น่ารัก ถูกจังหวะ เวลาและสถานที่ จะดีที่สุดครับ เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวโลกใช้สื่อความรู้สึกดี ๆ ต่อกัน

 

อ้างอิง

อ้างอิง

อ้างอิง