จากเหตุการณ์การระเบิดครั้งสำคัญของโรงงานที่โกดังเก็บสารเคมีของ ‘บริษัท หมิงตี้ เคมิคอล จำกัด’ ถนนกิ่งแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ทำให้เกิดสารเคมีที่เรียกว่า ‘สไตรีนโมโนเมอร์” (Styrene Monomer)’ มีการรั่วไหลออกมาเจอกับอากาศ ส่งผลต่อระบบนิเวศ และที่สำคัญควันจากการระเบิด เป็นควันที่มีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ อาจทำให้เกิด ‘ฝนกรด’ ได้ ดังนั้นเราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักฝนกรด สาเหตุของการเกิด รวมถึงอันตราย และผลกระทบที่เกิดจากฝนกรดกัน

เครดิตรูปภาพจาก thairath.co.th

ฝนกรด (Acid Rain) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดเป็นผลมาจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างไอน้ำ ออกซิเจน และสสารต่าง ๆ ในอากาศ กับก๊าซออกไซด์ของโลหะบางชนิด เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur Dioxide: SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (Nitrogen Oxide: NOx) ซึ่งก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก (Sulfuric Acid: H2SO4) กรดไนตริก (Nitric Acid: HNO3) หรือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ทำให้เกิดกรดคาร์บอนิก ก๊าซเหล่านี้มีการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีบนชั้นบรรยากาศ เมื่อไปโดนกับออกซิเจน อาจถูกกระแสลมพัดพาไป และมักจะกลับสู่พื้นโลกในรูปแบบฝน หิมะ หรือหมอก

ซึ่งผลกระทบของฝนกรดส่งผลต่อระบบนิเวศ ทำให้การสังเคราะห์แสงของพืชลดลงหรืออาจพัดพาสารพิษต่าง ๆ ในดินลงสู่แหล่งน้ำ ส่งผลเสียต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ รวมถึงสร้างความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้าง รวมไปถึงสิ่งของที่มีส่วนประกอบของเหล็ก หินปูนและหินอ่อน ทำให้เกิดการผุกร่อนรวดเร็วกว่าปกติ อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ สามารถสร้างความระคายเคืองต่อผิวหนัง ดวงตาและระบบทางเดินหายใจ รวมไปถึงระบบทางเดินอาหาร อาจเสี่ยงต่อการดื่มน้ำที่มีสภาวะเป็นกรดและมีสารพิษปนเปื้อนได้

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เราต้องระวังตัวเองมากขึ้น ยิ่งช่วงนี้เป็นฤดูฝน ลมแรง อาจพัดพาลมและฝนที่เจือปนสารเคมี ดังนั้นควรงดการสัมผัสฝนและแหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง รวมถึงใส่หน้ากากอนามัยเพื่อความปลอดภัยของตัวเองกันด้วย

เครดิตรูปภาพจาก bbc.com

อ้างอิง , อ้างอิง , อ้างอิง

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส