เมื่อพลังงานไหลไปถึงบริเวณก๊าซหนาแน่นที่ดาวฤกษ์ก่อตัว มันก็กระจายออกไปยังบริเวณรอบนอก คณะวิจัยพบว่า นักวิจัยพบว่ากระจุกดาวเกิดใหม่มีอายุประมาณ 4 ล้านปี และมีมวลมากกว่า 100,000 เท่าของดวงอาทิตย์ และก่อตัวกระจายไปตามเส้นทางที่กระแสพลังไหลออก
และด้วยความช่วยเหลือของภาพความละเอียดสูงจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) นักวิทยาศาสตร์จึงตรวจพบรูปแบบของความเร็วของก๊าซในกระแสพลังนั้นว่ามีลักษณะเป็นเกลียว คล้ายสว่านเปิดจุกขวด (A corkscrew-like pattern) ซึ่งแบบจำลองคอมพิวเตอร์ประมวลว่า นี่น่าจะเกิดจากการเคลื่อนตัวของหลุมดำ เพราะหากเกิดจากเศษซากของซูเปอร์โนวาจะไม่ทำให้เกิดรูปแบบดังกล่าว

Credit: NASA/ESA/Zachary Schutte (XGI)/Amy Reines (XGI)/Alyssa Pagan (STScI)

Credit: NASA/ESA/Zachary Schutte (XGI)/Amy Reines (XGI)/Alyssa Pagan (STScI)
อันที่จริงแล้ว เมื่อทศวรรษก่อน ไรเนสที่เพิ่งจบการศึกษาไม่นาน ได้ค้นพบการปล่อยคลื่นวิทยุและรังสีเอ็กซ์จาก Henize 2-10 ซึ่งบ่งชี้ว่า แกนกลางของกาแล็กซีนี้มีหลุมดำขนาดประมาณ 3 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์ แต่นักดาราศาสตร์คนอื่น ๆ มีข้อคิดเห็นว่า รังสีนี้อาจมาจากการระเบิดของดวงดาวหรือซูเปอร์โนวา (Supernova) ก็ได้
“เมื่อสิบปีก่อน ฉันคิดว่าจะมุ่งมั่นศึกษาการก่อกำเนิดของดวงดาว และเมื่อฉันได้เห็นข้อมูลของกาแล็กซีแคระ Henize 2-10 ทุกสิ่งก็เปลี่ยนไปนับจากนั้น… ฉันรู้เลยว่ามันมีสิ่งพิเศษที่ไม่ธรรมดากำลังเกิดขึ้นในนั้น”
ดังนั้นการค้นพบในครั้งนี้จึงเป็นเฉลยคำตอบและยืนยันว่า มีหลุมดำอยู่ที่ใจกลางกาแล็กซีจริง
จากการค้นพบในครั้งนี้ ทั้งคู่สนใจตรวจสอบกาแล็กซีแคระที่มีหลุมดำในลักษณะเดียวกันให้มากขึ้น ซึ่งนอกจากให้คำตอบเรื่องการกำเนิดดาวฤกษ์และกาแล็กซีในช่วงต้นของเอกภพแล้ว
“ระบบที่เกิดขึ้นในกาแล็กซี Henize 2-10 นั้นไม่ธรรมดา และการที่เราจะมีข้อมูลอย่างละเอียดคุณภาพสูงนั้นก็เป็นไปได้ยาก” สกัตต์กล่าว
“เราก็ได้แต่หวังว่า เมื่อกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ ปฏิบัติการในอนาคตอันใกล้นี้ มันจะเป็นเครื่องมือใหม่ช่วยค้นหาระบบกาแล็กซีเหล่านี้ต่อไป” เขากล่าว
ดูท่าว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ น้องใหม่จะมีภารกิจที่น่าตื่นเต้นอีกหนึ่งภารกิจรอคอยอยู่เสียแล้ว และก็น่าจะ “เปิดโลก” ของเราให้ก้าวไกลมากกว่าที่เคยเป็นแน่
อ้างอิง
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส