คุณผู้ชมรู้ไหมครับว่า บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำต่าง ๆ ของโลก กำลังปลดคนออกอย่างต่อเนื่อง ! อย่าง Netflix ปลดพนักงานที่อเมริกาไปแล้ว 475 คน, Grab ปลดพนักงานที่สิงคโปรแล้ว 360 คน และ Uber ปลดพนักงานทั่วโลกไปแล้วกว่า 7,500 คน ตามข้อมูลจาก layoffs.fyi ส่วนแบไต๋นั้น Quick Cut หน้าพนักงานแบไต๋ที่ล่ะคน หันมาตกใจตกใจ

ไม่ๆๆๆ อย่าเพิ่งตกใจไปทุกคน แบไต๋เราไม่มีนโยบายปลดคน กิจการยังดีอยู่ แต่กิจการยักษ์ใหญ่เหล่านั้นก็ดีมาก แล้วทำไมยังปลดคน??? หรือเขากำลังแทนที่คนด้วยหุ่นยนต์ !? วันนี้ผมหนุ่ย-พงศ์สุขจะแบไต๋ให้ฟังกับรายงานพิเศษ beartai Originals ทำไมบริษัทเทคโนโลยี ถึงปลดคนออกอย่างต่อเนี่อง !

ต้องเล่าย้อนอย่างนี้ก่อนครับว่า แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 เกิดขึ้น บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น แอมะซอน, โอราเคิล และไมโครซอฟท์ ก็ยังมีการจ้างงานเพิ่มในจำนวนมากอยู่ครับ เพราะว่ารูปแบบการใช้ชีวิตของคนที่ต้อง Work From Home ทำให้สินค้าเทคโนโลยีได้รับความนิยมไปด้วย อย่างอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงาน ประชุมออนไลน์ หรือกระทั่งบริการอินเทอร์เน็ต แอปฯสั่งอาหารออนไลน์ แพลตฟอร์มสตรีมมิงนี่ก็นิยมมากเลย เพราะเติบโตก้าวกระโดดแบบนี้ถึงได้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากในช่วงนั้นครับ

แม้บริษัทเทคโนโลยีได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่หลาย ๆ บริษัทที่เพิ่งเกิดใหม่ในแนว Tech Starup ซึ่งก็ได้ประโยชน์จากโควิดก็จริง จ้างคนได้เยอะ แต่เมื่อโรคระบาดจบลง

ไม่ได้มีผู้ใช้เยอะในระยะยาว ธุรกิจเกิดใหม่เหล่านั้นก็ต้องล้มหายตายจากไป

โควิดไป-สงครามมา …เกิดสงคราม ยูเครน-รัสเซียขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2022 นี้ เข้ามาซ้ำแผลทางเศรษฐกิจเดิมที่แย่อยู่แล้ว ให้ทรุดลงไปหนักกว่าเดิม สงครามนี้ทำให้พลังงาน ที่เป็นต้นทุนของหลายธุรกิจ แพงขึ้น ส่งผลให้ข้าวของแพงขึ้น อำนาจเงินน้อยลง เงินเฟ้อเลยเกิดขึ้นตามมาผสมโรงด้วยเลยครับ

ธนาคารกลางทั่วโลกเลยเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสกัดอาการเงินเฟ้อ แต่ก็ส่งผลให้ตลาดทุนปั่นป่วน และเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย นักลงทุนจึงหันเข้าหาหุ้นที่ปลอดภัยและได้รับประโยชน์จากเงินเฟ้อ เช่น หุ้นสุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน ประกอบกับในช่วงโควิด หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีก็ราคาแพง ณ จุดนี้ ราคาหุ้นเลยต้องลงอย่างเดียวแล้ว ไม่อาจแพงไปมากกว่านี้ได้ มูลค่าของบริษัทเลยลดลง บวกกับรายได้โฆษณาที่ลดลงด้วยจากการแย่งชิงกันเองระหว่างแพลตฟอร์ม ดูอย่างเฟซบุ๊กที่ตอนนี้ผู้ใช้ลดลง หันไปเล่นแพลตฟอร์มอื่นแบบติ๊กตอกมากขึ้น เทรนด์คนรุ่นใหม่ก็หันไปเล่นทวิตเตอร์ และ ดิสคอร์ด มากขึ้นนั่นแหละครับ

เรื่องนี้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างในวงการธุรกิจและสตาร์ตอัปเลยก็ว่าได้ บริษัทหลายที่ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ต้องปรับผังองค์กรกันใหม่เลยทีเดียว

ซึ่งเงินเฟ้อนี้ก็สร้างผลกระทบกับประเทศไทยด้วยเช่นกัน อย่างล่าสุดที่เราเห็นได้ตอนนี้ ก็คือราคาของไอโฟน 14 ทุกรุ่นที่เพิ่งเปิดตัวมาล่าสุดนี้ แม้ว่ารุ่น 14 Pro และ 14 Pro Max จะเปิดตัวมาในราคาเท่าเดิมในอเมริกา แต่ด้วยเหตุผลในด้านค่าขนส่ง และค่าเงิน ก็ทำให้ราคาที่นำเข้ามาขายในประเทศไทยก็พุ่งสูงขึ้นทุกรุ่น

ทุก ๆ ปัจจัยที่รวมกันหมดนี้ โดยเริ่มจากเรื่องสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ ขาดแคลนแรงงาน และโรงงานปิดตัวจำนวนมากเลย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยี, หรืออย่างยานยนต์นี่ เขาก็ผลิตกันไม่ทันครับ พอผลิตไม่ทัน ก็ขายได้น้อย แล้วก็ฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดได้ไม่เต็มที่ด้วย

เหตุการณ์การปลดพนักงานในบริษัทเทคโนโลยี เลยเริ่มทวีความรุนแรงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้เป็นต้นมา และหนักมากขึ้นในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมานี่ล่ะครับ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ layoffs.fyi ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปลดพนักงานในบริษัทเทคโนโลยีโดยเฉพาะ ได้ให้ข้อมูลว่ามีพนักงานถูกปลดออกมากกว่า 10,000 คนต่อเดือน โดยเฉพาะเมื่อเดือนมิถุนายนเดือนเดียว ที่ถูกปลดไปถึง 17,374 คนด้วยกัน ทำให้แค่ในปี 2022 นี้ มีพนักงานถูกปลดไปแล้วกว่า 78,600 คนด้วยกัน

และการปลดพนักงานนี้ ก็ส่งผลต่อกันไปแบบโดมิโน่เลยครับ หลาย ๆ บริษัทเทคโนโลยีก็ต่างพากันปลดพนักงานออกอย่างต่อเนื่อง เช่น Netflix ที่ปลดพนักงานไปกว่า 475 คน, Meta ที่งดการจ้างงานเพิ่ม, Amazon ที่ลดการจ้างงานในคลังสินค้า หรืออย่าง intel ที่หยุดการจ้างงานสำหรับแผนกที่รับผิดชอบด้านชิปประมวลผลเพื่อลดต้นทุนเป็นต้นครับ

อย่างในไทยเราก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันนะครับ อย่างเช่นช๊อปปี้ แพลตฟอร์มช๊อปปิ้งที่จัดโปรเซลล์อยู่ทุกเดือน ได้ปลดพนักงานทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในไทย…บางแผนกนั้นถูกเลิกจ้างมากกว่า 50% เลยทีเดียวครับ

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงกับทุก ๆ ฝ่ายจริง ๆ ครับ นอกจากบริษัทที่จะเสียเงินในการเลิกจ้างไปมหาศาล เสียบุคคลากรที่หากจะจ้างกลับมาก็อาจทำได้ยากขึ้นเพราะเขาได้งานใหม่ไปแล้ว หรือกระทั่งเสียผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อแต่ไม่สามารถซื้อสินค้าเทคโนโลยีที่ต้องการได้ เพราะกำลังผลิตที่น้อยจนเกินไป สินค้าขาดตลาด ลูกค้าก็ไหลออกไปซื้อสิ่งอื่น

แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกันไปนะครับ จริงอยู่ว่าบริษัทเทคโนโลยี ปลดพนักงานออกเรื่อย ๆ แต่การปลดก็มักเกิดขึ้นในธุรกิจที่ขาดทุน หรือไม่สร้างรายได้ รวมถึงเป็นการปลดพนักงานที่ไม่มีทักษะแห่งอนาคต ไม่สามารถทำงานที่ตอบโจทย์บริษัทเทคโนโลยีเหล่านั้นได้ เราเลยเห็นประกาศการจ้างงานใหม่จากบริษัทใหญ่ ท่ามกลางกระแสการปลดคนออกด้วยเช่นกัน

สิ่งที่เราทำได้ก็คือการพัฒนา Soft-Skill อย่างความคิดสร้างสรรค์ การเป็นผู้นำ การบริหารเวลา มนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว การควบคุมอารมณ์ ซึ่งนอกจากจะเป็นทักษะแห่งอนาคตตามนิยาม Resilience Skill หรือทักษะความยืดหยุ่นทางจิตใจ อย่างการยอมรับความเป็นจริง, ความกล้าที่จะทบทวนตัวเอง, และการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มี ที่บริษัทต้องการคนมาพัฒนาบริษัทในยุคต่อไปแล้ว ยังถือเป็นการพัฒนาตัวเองไปพร้อมกันด้วยนะ ! ยินดีต้อนรับสู่โลกการทำงานในอนาคตครับ