หนุ่ย พงศ์สุข รีวิว Sony WF-1000XM3 หูฟังตัวจิ๋วตัดเสียงแจ๋ว มาดูกันดีกว่าว่าทำไมหูฟังนี้ถึงได้ถูกยกย้องว่าเป็นหูฟังทรูไวเลสแห่งยุค!

ดีไซน์

ว่ากันด้วยเรื่องของดีไซน์กันก่อน ตัวเคสใส่หูฟังที่ก็เป็นจะที่ชาร์จในตัว ภาพรวมคือดูเรียบดูสะอาดตา ตัวฝาจะเรียบและมีการสลักโลโก้ Sony ไว้พร้อมใช้สีที่ตัดกันด้วยสีทอง เพื่อส่งเสริมความดูหรู ดูแพง และก็มีความแข็งแรงในระดับไว้ใจได้ว่าจะไม่พังง่าย ๆ เมื่อต้องปิดแบบกระแทก ในขณะที่ใต้ฝาจะมีความโค้งมน และนี่จ้าช่องชาร์จแบตเป็นพอร์ต Type C พอร์ตยุคปัจจุบันแล้วด้วยนะ และที่สำคัญตัวผิวสัมผัสที่ดี ติดมือไม่ลื่นหล่นง่าย ๆ

ส่วนตัวหูฟังก็จะถูกออกแบบมาให้มีรูปทรงคล้ายวงรี ดูเรียบง่ายสะอาดตา ไม่มีปุ่มคำสั่งใด ๆ ไม่ได้บริเวณไหนที่โดดขึ้นมาเป็นพิเศษแต่จะมีก็แค่วงกลมตรงนี้ที่เป็นเซนเซอร์ใช้ในการสัมผัสเพื่อเลือกคำสั่งต่าง ๆ ของหูฟัง

ซึ่งก็ตรงตามที่วิศวกร Sony ต้องการจะสื่อถึงพลังของ Active Noise Canceling ที่ตัดเสียงรอบข้างได้เงียบสงัด

ในเรื่องของดีไซน์ตัวหูฟังของ WF-1000XM3 ปราศจากปุ่มใด ๆ ให้มาระแคะระคายตาเราโดยสิ้นเชิง แต่เลือกที่จะใช้การป้อนคำสั่งผ่านการสัมผัสเซนเซอร์รูปทรงวงกลมแทน โดยแตะหนึ่งครั้งที่หูฟังข้างซ้ายจะเป็นการปิด/เปิด Active Noise Canceling เพื่อให้เราได้ยินเสียงข้างนอก, แตะค้างคือการปิด Active Noise Canceling แบบชั่วคราวจนกว่าจะปล่อยนิ้ว

ส่วนการแตะที่หูฟังขวาหนึ่งครั้งจะเป็นการ เล่น/หยุดเพลงหรือเสียงที่ฟังอยู่, แตะสองครั้งคือคือเปลี่ยนฟังแทรคต่อไป และแตะสามครั้งติดคือการย้อนกลับไปฟังแทรคที่แล้ว

และถ้าพูดถึงหูฟัง in-ear ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของการเจ็บที่ช่องหูภายในเมื่อสวมใส่เป็นระยะเวลานาน ๆ กับเรื่องของความไม่แน่นใส่แล้วหลุด แต่ด้วยความที่เป็นแบรนด์ญี่ปุ่นก็จะมีความน่ารักตรงที่ใส่ใจผู้ใช้ โดยจะมีจุกหูฟัง 3 ระดับที่เหมาะกับช่องหูของเราพร้อมให้มาสองรูปแบบเป็นซิลิโคนและโฟม ให้เราเลือกใส่เพื่อป้องกันทั้งอาการเจ็บหูและความไม่แน่นของหูฟังเมื่อสวมใส่ให้ตรงกับเราได้ เพราะการเลือกขนาดจุกให้เหมาะสมนี้สำคัญมาก เสียงจะดีไม่ดี หรือใส่แล้วสบายหูรึเปล่าอยู่ตรงนี้เลย

แต่ทั้งนี้เจ้า WF-1000XM3 มีโครงสร้างที่แก้ปัญหาทั้งสองข้อได้ด้วยตัวเองอยู่แล้วระดับหนึ่งที่เรียกว่า Ergonomic Tri-Hold Structure แต่อย่างไรก็ตามถ้าเราเคลื่อนไหวมาก ๆ ตัวหูฟังมีการขยับออกมาบ้าง แต่ไม่ถึงขั้นตกหล่นออกจากหู ทางที่ดีก็ควรใช้ในการฟังเพลงด้วยกิริยาที่ไม่ได้ออกท่าออกทางมากนัก เพราะมันไม่มีมีปีกเกี่ยวใบหูเหมือนหูฟังแบบสปอร์ตนั่นเอง

คุณภาพของเสียง

คราวนี้มาว่ากันด้วยเรื่องคุณภาพเสียงกันเลยดีกว่า แน่นอนว่าในเมื่อเป็นหูฟังของ Sony เอกลักษณ์ของย่านเสียงก็คงหนีไม่พ้นเสียงกลางหรือว่าง่าย ๆ คือเสียงนักร้อง และเสียงประเภทโปร่ง ซึ่ง WF-1000XM3 ก็ทำได้ดี มีมิติที่ครบถ้วน

ในขณะที่เสียงต่ำหรือจำพวกเบสก็ฟังสนุก ต้นและปลายของเสียงเบสมาครบไม่ได้ขาดหายไปไหน ส่วนเสียงสูงหรือเสียงที่เวลาฟังแล้วเราจะได้ยินมันแหลม ๆ ทั้งหลาย ก็มีความคมใช้ได้เลยล่ะ

เอาเป็นว่า WF-1000XM3 เป็นหูฟังที่เด่นชัดด้านการให้เสียงที่โปร่งใส เคลียร์เป็นหลัก แต่ย่านอื่น ๆ ก็มีคุณภาพที่ดีตามที่ Codec AAC หรือไฟล์เสียงที่ถูกบีบอัดประเภทนี้จะมอบให้ได้แล้วล่ะครับ

โดยระบบ Active Noise Canceling ใน WF-1000XM3 จะใช้ HD Noise Canceling Processor QN1E : ชิปประมวลผลตัวใหม่จากทาง Sony ที่จะช่วยจัดการกับเสียงรบกวนภายนอกได้เกือบทุกย่านความถี่ พร้อมมีคุณสมบัติในการช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งก็ไว้ใจได้เพราะชิปตัวนี้เป็นการต่อยอดมาจากหูฟังตัวเทพรุ่นที่แล้วอย่าง WH 1000XM3 นั่นเอง

ส่วนการใช้คุยโทรศัพท์ ต้องบอกว่า WF-1000XM3 มีการพัฒนาขึ้นจากตัวไมค์ตัดเสียงที่เพิ่มเข้ามา ทำให้คู่สายได้ยินคำพูดของเราครบถ้วนดี แต่ถ้าเป็นสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมอึกทึกครึกโครมอันนี้ก็ต้องทำใจว่าตัวหูฟังคงจะให้เสียงที่ไม่ครบถ้วนทั้งหมดครับ

และในรุ่นนี้ปัญหาเสียงไม่ตรงกับภาพก็ได้หายไปเป็นที่เรียบร้อย! นั่นเป็นเพราะใช้ชิป Bluetooth 5.0 รุ่นใหม่ที่การลำเลียงส่งสัญญาณจะถูกลดความหน่วงหรือ Latency ลง ด้วยการที่หูฟังทั้งสองข้างเชื่อมต่อกับมือถือพร้อมกันและทำการบัฟเฟอร์ (หรือที่เรียกว่าการพักและปล่อยสัญญาณ) ออกไปพร้อมกัน

วิธีใช้งาน

แต่ถ้าว่ากันประสิทธิภาพกันเสียงภายนอกแบบตรงไปตรงมา ผมต้องบอกอย่างนี้ครับว่า นี่คือหูฟังที่มีการตัดเสียงที่ดีเยี่ยมที่สุดจากบรรดาหูฟังทรูไวเลสทั้งหลายที่มีในท้องตลาดตอนนี้เสียงรถ, เสียงผู้คนคุยกัน หรือแม้เขตก่อสร้าง WF-1000XM3 เอาอยู่จริง ๆ สามารถตัดทอนเสียงรอบข้างได้อยู่หมัด!
อย่างที่บอกครับ ในเรื่องของดีไซน์ตัวหูฟังของ WF-1000XM3 ปราศจากปุ่มใด ๆ ให้มาระแคะระคายตาเราโดยสิ้นเชิง แต่เลือกที่จะใช้การป้อนคำสั่งผ่านการสัมผัสเซนเซอร์รูปทรงวงกลมตรงนี้

แตะหนึ่งครั้งที่หูฟังข้างซ้ายจะเป็นการปิด/เปิด Active Noise Canceling เพื่อให้เราได้ยินเสียงข้างนอก, แตะค้างคือการปิด Active Noise Canceling แบบชั่วคราวจนกว่าจะปล่อยนิ้ว

ส่วนการแตะที่หูฟังขวาหนึ่งครั้งจะเป็นการ เล่น/หยุดเพลงหรือเสียงที่ฟังอยู่, แตะสองครั้งคือคือเปลี่ยนฟังแทรคต่อไป และแตะสามครั้งติดคือการย้อนกลับไปฟังแทรคที่แล้ว

นอกจากนี้ เราก็ต้องติดตั้งแอปพลิเคชั่นของทาง Sony ที่มีชื่อว่า Sony Headphones Connect ด้วย ซึ่งจำเป็นมาก เพราะจะใช้ในการตั้งค่าหลายสิ่งที่จำเป็นมาก ซึ่งที่เด่น ๆ คือ

  • การตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ของแบตเตอรี่ ประเภท Codec เสียงที่หูฟังใช้อยู่
  • Adaptive Sound Control ที่จะตรวจจับเสียงภายนอก เพื่อคำนวนและส่งระดับการตัดเสียงรบกวนออกไปในระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์
  • Ambient Sound Control ที่ผู้ใช้เองนี่แหล่ะจะเป็นคนกำหนดว่าอยากจะได้รับการตัดเสียงภายนอกมากน้อยแค่ไหน
  • การปรับ EQ เลือกโทนเสียงที่ดีต่อใจของคุณ หรือจะปรับดึงขึ้นลงตามต้องการได้เลย
  • เปลี่ยนฟังก์ชั่นการสัมผัสเซนเซอร์หูของทั้งสองข้าง เช่นการแตะที่หูซ้ายหนึ่งครั้งอาจจะกลายเป็นการปิดเพลงที่เล่นไว้แทนการเปิดโหมดควบคุมเสียงโดยรอบแทน

ระยะเวลาการใช้งาน

สำหรับระยะเวลาการใช้งานของหูฟังตัวนี้ หากใช้ในโหมดที่เปิดระบบตัดเสียงภายนอกหรือ Active Noise Canceling เราก็จะสามารถฟังเพลงติดกันได้ที่ 6 ชั่วโมง ตัวเลขนี้ไม่ใช่น้อย ๆ สำหรับใช้ในการเดินทางไปทำงานระหว่างวัน

และนอกจากนี้ตัวเคสใส่หูฟังก็สามารถก็มีแบตเตอรี่ให้ใช้งานได้อีก 18 ชั่วโมงหรือว่าง่าย ๆ ว่าคุณสามารถใช้หูฟังจนแบตหมดได้ 1 วันถ้วนหรือ 24 ชั่วโมง ซึ่งนั่นคือการเปิดระบบ Active Noise Canceling

ข้อสังเกต

WF-1000XM3 มีข้อสังเกตเล็กน้อยคือเรื่องของชุดคำสั่งจากการสัมผัสเซนเซอร์ของหูฟังที่ไม่มีคำสั่งลด/เพิ่มเสียง ซึ่งควรเป็นคุณสมบัติอันดับต้น ๆ ที่หูฟังควรจะมี เพราะในหลายกรณีฉุกเฉินเราก็คงไม่สามารถที่จะไปลดหรือเพิ่มเสียงผ่านอุปกรณ์ที่เราเชื่อมอยู่ได้โดยตรงครับ

และสำหรับคนที่จริงจังเรื่องการเชื่อมต่อ หูฟังรุ่นนี้รองรับ codec เสียงแค่ SBC กับ AAC นะครับ ไม่รองรับ aptX หรือ LDAC ของโซนี่เอง ซึ่งสำหรับคนใช้ iPhone หรือ Android ก็คงไม่มีปัญหาเพราะใช้ Codec AAC ในการเชื่อมต่ออยู่แล้ว ซึ่งก็ให้คุณภาพเสียงที่ดีพอ แต่สำหรับคนใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่รองรับ AAC อย่าง Sony Walkman บางรุ่น ก็ต้องกลับไปใช้รูปแบบเสียงพื้นฐานเป็น SBC ที่คุณภาพด้อยกว่า AAC แบบฟังออก ก็น่าเสียดายที่หูฟังไม่สามารถโชว์ศักยภาพได้เต็มที่กับอุปกรณ์บางตัว

และอีกอย่างหนึ่งคือเรื่องของขนาดของเคสใส่หูฟังที่เทอะทะเกินไปจนยัดเข้ากระเป๋ากางเกงแล้วมันจะดูป่อง ๆ เลยจำต้องอาศัยการพกเก็บผ่านกระเป๋าสะพายแทนครับ

ราคา

ปิดท้ายด้วยราคาของ Sony WF-1000XM3 อยู่ที่ 8,990 บาท อาจกล่าวได้ว่านี่คือหูฟังทรูไวเลสที่ยอดเยี่ยมตัวหนึ่งในปีนี้เลยก็ว่าได้ครับ ทั้งระบบตัดเสียงที่ยอดเยี่ยม คุณภาพของเสียงที่ดีและมีเอกลักษณ์ตามสไตล์หูฟัง Sony, แบตเตอรี่ที่ใช้ได้นาน และรูชาร์จนั้นเป็นแบบ USB-C อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ในท้องตลาดตอนนี้เลยก็ว่าได้