สวัสดีครับมาพบกับผม ชมพู ฟรุตตี้ สุทธิพงษ์ วัฒนจัง กับรายการ HOME MUSIC PROPLUGIN X BEARTAI ใน EP.ที่สอง ในตอนที่แล้วผมได้แนะนำอุปกรณ์ทำเพลงดี ๆ แบบ “ของมันต้องมีหากคิดจะทำ Home Studio” กันไปแล้วนะครับ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มีสิ่งที่เรียกว่า DAW หรือ Digital Audio Workstation ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือซอฟแวร์ที่เราใช้ทำเพลงนั่นเอง เพราะฉะนั้นใน EP นี้เราจะมาพูดกันแบบเจาะลึกถึงสิ่งที่เรียกว่า DAW นี้กันว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ ? และเราจะทำเพลงกับเจ้าสิ่งนี้กันยังไงครับ

‘DAW นั้นคืออะไร?’

อธิบายง่าย ๆ นะครับ DAW หรือ Digital Audio Workstation นั้นก็คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เราใช้ในการทำเพลงซึ่งครอบคลุมในทุกกระบวนการทั้งการบันทึกเสียง, การทำ MIDI , ตัดต่อเสียง , มิกซ์เสียง และ ทำมาสเตอร์ เสร็จจบครบในที่เดียว สมัยก่อนตอนที่เรายังไม่มีสิ่งที่เรียกว่า DAW คนทำเพลงต้องใช้การบันทึกเสียงแบบ Reel to Reels ก็คือการบันทึกเสียงลงม้วนเทปและทำกระบวนการต่าง ๆ แบบอนาล็อกและจะปรับแต่งเสียงหรือทำอะไรก็จะต้องใช้อุปกรณ์ต่อพวงอีกมากมาย แต่การที่มีเจ้า DAW ขึ้นมาบนโลกใบนี้มันถือเป็นการปฏิวัติวงการดนตรีจากยุคอนาล็อกไปสู่ยุคดิจิทัลที่เราสามารถทำงานดนตรีบนคอมพิวเตอร์ โดยเสียงต่าง ๆ จะถูกอัดและแปลงสัญญาณเป็นดิจิทัลนั่นเอง

ข้อดีของมันก็คือเราสามารถจะทำอะไรได้หลายอย่างกับมันไม่ว่าจะปรับแต่ง EQ, Compression, ใส่ effects , ใช้เครื่องดนตรีที่จำลองมาหรือที่เราเรียกว่า VSTi (Virtual Studio Technology instruments) ที่จะมีเสียงของเครื่องดนตรีต่าง ๆ มากมายให้เราเลือกใช้และมีคุณภาพเสียงที่แตกต่างกันไป บางอันนี่ถึงกับขนลุกว่าเสียงเหมือนของจริงมากเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การทำเพลงในยุคดิจิทัลนั้นไม่ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องใหญ่ ๆ หรือมากมายวุ่นวายแบบแต่ก่อนแล้ว และคนทำเพลงหรือโปรดิวเซอร์ทั้งหลายก็สามารถจบเพลงเองได้ภายในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว อาจจะทำทั้งหมดด้วยตัวคนเดียว ภายในห้อง ๆ เดียวในบ้าน ไม่ต้องไปใช้สตูดิโอใหญ่ ๆ ที่ไหนเลยก็เป็นได้ครับ

ซึ่งเราสามารถสรุปหน้าที่หลัก ๆ ของ DAW ได้เป็น 4 หน้าที่ด้วยกันซึ่งประกอบไปด้วย

  • หนึ่ง ! Audio Recording และ Editing : รองรับการบันทึกเสียงและตัดต่อเสียงครับ
  • สอง ! MIDI Sequencing สื่อสารกับเครื่องดนตรีต่างๆ ด้วย MIDI
  • สาม ! Mixing : ปรับระดับเสียงและปรุงแต่งเสียงของแทร็คต่างๆ ด้วย Mixer
  • สี่ ! Mastering : ปรับปรุงคุณภาพเสียงในขั้นสุดท้ายก่อนจะเป็นแทร็คที่เสร็จสมบูรณ์นั่นเองครับ

ในปัจจุบันนั้น DAW มีทำออกมากันหลายแบรนด์ให้เราได้เลือกใช้ในราคาที่หลากหลาย ทั้งแบบฟรีและแบบจ่ายเงินซื้อ โดยแบบฟรีมักจะมีข้อจำกัดต่างๆ เช่นจำนวนแทร็คและ input, output ที่จำกัดบ้าง, plug-in ไม่ครบบ้าง แม้ว่าเราจะสามารถใช้ซอฟต์แวร์ฟรีทำเพลงได้เหมือนกัน แต่ข้อจำกัดพวกนี้อาจจะขัดขวางไม่ให้เราปรับแต่งเพลงได้ตามจินตนาการอันบรรเจิดของเราก็ได้ กลายเป็นจากที่จะฟรีแล้วดี ก็กลายมาเป็นข้อจำกัดไป เพราะฉะนั้น การลงทุนหา DAW ดี ๆ มาใช้สักตัวจึงเป็นความคิดที่ดีถึงแม้ว่าเราจะเพิ่งเริ่มต้นทำเพลงก็ตาม

‘DAW อันไหนดีที่สุด?’

ซึ่งถือว่าเป็นคำถามยอดฮิตสำหรับคนที่เริ่มต้นจะทำเพลง ว่าเอ….เราควรใช้โปรแกรมไหนในการเพลงดีนะ ซึ่งต้องบอกว่าเป็นคำถามที่ตอบยากจริงๆ ครับ เพราะแต่ละโปรแกรมมันก็มีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันไปนะครับ ถ้าจะให้ตอบแบบง่าย ๆ สั้น ๆ เลยก็คงต้องบอกว่า DAW ที่ดีที่สุดก็คือ DAW ที่เราใช้งานได้คล่องที่สุดนั่นล่ะ และการที่จะรู้ว่า DAW ตัวไหนที่เราใช้งานได้คล่องที่สุดมันก็ต้องลองกันหลาย ๆ ตัวถูกต้องมั้ยครับ

แต่ถึงอย่างนั้นมันก็พอจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา DAW ที่เราจะใช้อยู่บ้างเช่น ลองนึกถึงจุดมุ่งหมายในการทำเพลงของเราดูก่อน เช่น จะใช้เพื่อแต่งเพลง หรือเพื่ออัดเสียงเล่น cover เฉย ๆ จะทำงานกับ Midi ใช้เครื่องดนตรีในซอฟต์แวร์เขียนเอา หรือว่าทำงานกับ Audio เน้นการอัดสด รวมไปถึงแนวเพลงที่เราอยากจะทำก็มีผลต่อการเลือก DAW ด้วยเหมือนกันครับ สำคัญเลยคือพอเราเริ่มเจออันที่ถูกใจแล้ว ก็อยากให้ลองเรียนรู้และใช้มันให้เชี่ยวชาญครับ อย่าลืมว่า DAW นั้นเป็นเสมือนเครื่องมือหรือตัวช่วยให้เราทำงานเพลงจนเสร็จออกมาได้ แต่สิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่ทักษะ ความคิด และจินตนาการของเรา แค่เข้าใจและใช้มันให้คล่อง ครอบคลุมในสิ่งที่เราต้องการนั่นก็นับว่าโอเคแล้วครับ

ยกตัวอย่างเช่นถ้าคุณเป็นคนที่ชอบทำดนตรีอิเล็กทรอนิกหรือ EDM Ableton Live ถือว่าเป็น DAW ที่เป็นที่นิยมที่สุดในกลุ่มคนทำดนตรีแนวนี้ เพราะ Ableton Live จะมาพร้อมกับ Software Instruments, Audio Effects, และฟีเจอร์เจ๋ง ๆ ที่ช่วยทำไอเดียของคุณให้กลายเป็นเพลงได้ง่าย ๆ เช่น Convert Audio to MIDI ที่จะแปลงเสียงฮัมของคุณ หรือเสียงเคาะโต๊ะเป็นจังหวะ ให้กลายเป็นโน้ต MIDI ที่เล่นโดยเครื่องดนตรี Virtual Instrument และที่สำคัญเลยคุณยังสามารถเชื่อมต่อ Ableton Live กับ Ableton Push ซึ่งนอกจากจะใช้เป็น Midi Controller ได้แล้ว เจ้าตัวนี้ยังเป็นเครื่องดนตรีของ Ableton ที่ออกแบบมาสำหรับการแสดงสดอีกด้วย ยิ่งตอกย้ำความชัดเจนว่า Ableton Live นั้นเน้นตอบโจทย์กลุ่มคนทำเพลงแนว EDM เป็นพิเศษเลยครับ

ว่าแล้วเดี๋ยวเราจะมาลองใช้ Ableton Push 2 กับ DAW กันดูดีกว่าครับ ก่อนอื่นเดี๋ยวผมขอแนะนำคุณสมบัติของเจ้า Ableton Push 2 ชิ้นนี้ก่อนครับ

Ableton Push 2 คือสุดยอด Midi Controller ที่จะกลายเป็นทุกเครื่องมือดนตรี ปลดล็อกจินตนาการที่เรามีให้สามารถทำเพลงได้แบบไร้ขีดจำกัดครับ !! โดยที่เจ้าตัวนี้เนี่ยจะมีปุ่มหรือแป้นกดที่เรียงเป็น Grid จำนวนทั้งหมด 64 Pads !! ซึ่งทำหน้าที่เป็นปุ่มควบคุมเวลาเรากำลังเขียน Midi ใน DAW หรือสามารถใช้เป็นปุ่มเล่นเสียงต่าง ๆ เวลาเราแสดงสดก็ได้เหมือนกันครับ ซึ่งเราสามารถแซมป์เสียงเข้าไปได้ไม่ว่าจะเป็นเสียงกลองหรือว่าเสียงเปียโนอะไรแบบนี้ อีกทั้งยังสามารถสั่งบันทึกทำ Loops และเลือกเสียงดนตรีได้หลากหลาย สามารถทำงานเสร็จจบครบถ้วนโดยที่ไม่ต้องไปยุ่งกับหน้าจอคอมเลยด้วยซ้ำ ถ้าซื้อตัวนี้มาข้อดีอีกอย่างก็คือจะแถม DAW Ableton Live 10 Suite ที่ใช้งานได้ทั้งบน PC และ Mac เอาเป็นว่าจบปัญหาไม่ต้องคิดเลยว่าจะเริ่มทำเพลงด้วย DAW ตัวไหนดี

เอาล่ะครับทีนี้ผมจะลองสาธิตการใช้งาน Ableton Push 2 ตัวนี้ในฐานะ Midi Controller ที่ทำงานคู่กับ DAW กันดูนะครับ

  • ก่อนอื่นเราก็เปิด DAW ของเราขึ้นมาก่อนเลย
  • ทีนี้ผมจะมาเลือกเครื่องดนตรีจากที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์ตัวนี้นะครับ
  • อ้ะ เดี๋ยวผมลองเลือกกลองดูก่อน จากนั้นผมจะลองกดไปที่ Pads ของ Ableton Push 2 ดูนะครับ ตุบ ตุบ ตุบ เห็นมั้ยครับ มันจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมเสียง แต่ละ Pad ก็จะแทนส่วนต่าง ๆ ของกลอง ทีนี้เราก็สามารถสร้างบีทจากตรงนี้ได้เลยครับ ซึ่งเดี๋ยวใน EP. หน้าเราจะมาว่ากันถึงเรื่องของการทำบีทด้วยครับ ไว้รอติดตามได้เลย
  • ทีนี้ผมลองเปลี่ยนเสียงดูบ้าง ลองเป็นเสียงเปียโนบ้างครับ เดี๋ยวผมจะลองกดดูนะครับ นี่เป็นไงบ้างครับเพราะเลย ใครที่เล่นคอร์ดไม่เป็นก็สามารถเลือกปรับเล่นเป็นคอร์ดได้ด้วยนะครับ แค่กด Pads ไปทีเดียวก็เป็นเสียงคอร์ดเลย ไม่ต้องกลัวว่าจะเล่นผิดเล่นถูกเลยครับ
  • และนี่ครับเสียงที่เรากดมันก็จะขึ้นมาเป็น Midi บน DAW ของเราจากนั้นเราก็สามารถนำมาเรียบเรียง ปรับแต่ง ใส่เอฟเฟกต์และทำอะไรต่อไปได้เลยครับ ซึ่งเดี๋ยวเราจะมาเจาะลึกในกระบวนการทำเพลงในขั้นตอนอื่น ๆ ใน EP. ต่อ ๆ ไปนะครับ

เป็นยังไงบ้างครับตอนนี้ทุกคนก็พอจะเข้าใจแล้วใช่มั้ยครับว่า DAW คืออะไร มีหน้าที่อะไร และมีความสำคัญต่อการทำเพลงของเราอย่างไรบ้าง เดี๋ยว EP. หน้า เราจะมาเริ่มทำเพลงกันแล้วนะครับโดยเริ่มจากพื้นฐานง่าย ๆ ก่อนก็คือการทำบีทนั่นเอง จะเป็นยังไงไว้รอติดตามนะครับ ส่วนใครที่สนใจอยากได้อุปกรณ์ช่วยทำเพลงดี ๆ และสนุก ๆ แบบ Ableton Push 2 ตัวนี้ ก็สามารถสั่งซื้อได้ที่ลิงค์ด้านล่าง หรือ สแกน QR CODE ตรงนี้ได้เลยครับ และรอติดตาม HOME MUSIC PROPLUGIN X BEARTAI ใน EP. ต่อไป ที่ยังมีสาระความรู้ในการทำเพลงที่สนุกและน่าสนใจรออยู่อีกเพียบเลยครับ แล้วพบกันใหม่ใน EP หน้านะครับ สวัสดีครับ.

สนใจสินค้า Ableton PUSH 2 สามารถเข้าไปชมได้ตาม Link ด้านล่าง
https://www.proplugin.com/proplugin_t…