หลาย ๆ คนที่ยังไม่มี Apple Watch รุ่น 6 หรือกำลังคิดจะอัพเกรดเพื่อฟีเจอร์วัดออกซิเจนในเลือด แต่มันจะวัดได้จริงไหม ซื้อเพราะฟีเจอร์จะคุ้มรึเปล่า คลิปนี้แพนจะมาแบไต๋ให้ดูกันครับ

Oximeter หรือการวัดออกซิเจนในเลือดก็จะเป็นฟีเจอร์ที่มีแค่ใน Apple Watch Series 6 และ Series 7 ในตอนนี้นะครับ ซึ่งการวัดออกซิเจนในเลือดเนี่ยก็จะมีอยู่ 2 แบบนะครับ

  1. ยิงลำแสงผ่านผิวหนัง
  2. ยิงสะท้อนกลับ

Apple Watch เลือกใช้วิธีที่ 2 ซึ่งเป็นวิธีที่แม่นยำน้อยกว่าก็คือวิธีการสะท้อนกลับมา

ในเว็บไซต์ของ Apple บอกไว้ว่า ฟีเจอร์วัดออกซิเจนในเลือดจะเป็นการยิงลำแสงที่มีลำแสง 3 ชนิดคือ แสงสีแดง สีเขียว และอินฟราเรดเข้าไปที่ผิวหนังของเราแล้วสะท้อนกลับมา

ซึ่งข้างใต้ของ Apple Watch จะมีเซนเซอร์ที่คอยรับแสงที่สะท้อนจากนั้นก็ผ่านวิธีการวิเคราะห์ผ่าน AI ต่าง ๆ เพื่อดูค่าสีของเลือดว่าในเลือดมีออกซิเจนปริมาณเท่าไหร่

นี่คือสิ่งที่ Apple บอกไว้ในเว็บไซต์ ไม่ได้ลงรายละเอียดอะไรมากกว่านั้นเลย ก็จะมาสู่คำถามที่ว่า แล้วค่าที่วัดมันน่าเชื่อถือแค่ไหนละ?

วันนี้แพนเลยเอาเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วที่ใช่วิธีวัดแบบที่ 1 ก็คือวิธีการยิงลำแสงผ่านผิวหนัง ก็คือผ่านนิ้วมือเรานั่นเอง เป็นการยิงลำแสงและมีตัวรับแสงอยู่ข้างล่างโดยวิธีนี้จะแม่นยำกว่าแล้วเครื่องที่แพนเอามา ก็ผ่านมาตรฐานของกองควบคุมเครื่องมือแพทย์

ถ้าเกิดใครอยากตรวจสอบว่าเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วผ่านกองควบคุมแพทย์มั้ยสามารถดูได้ที่ ลิงก์นี้เลย คลิก

แล้วมาดูกันครับว่า Apple Watch Series 6 จะสามารถวัดค่าออกซิเจนในเลือดสู้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วได้มั้ยครับ เดี๋ยวแพนลองวัดแบบมือข้างเดียวกันเลย

รอบที่ 1

เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วผลออกมาก่อนเลยคือ 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วน Apple Watch ได้ที่ 96 เปอร์เซ็นต์ครับ จะมีความต่างกันอยู่นิดนึงนะครับ แต่เดี๋ยวแพนจะลองวัดอีกรอบนึงเพื่อความชัวร์โดยจะกดพร้อม ๆ กันเลยครับ

รอบที่ 2

โดยความเร็วของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จะรวดเร็วมาก ๆ นะครับ ได้ค่าออกซิเจนที่ 99 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ Apple Watch ต้องรอ 15 วินาที ในรอบที่ 2 คือ 93 เปอร์เซ็นต์

ผลสรุปคือทั้ง 2 ครั้งไม่เท่ากันสำหรับ Apple Watch Series 6 และ ไม่เท่ากับตัวออกซิเจนปลายนิ้วด้วย

แต่ต่อให้ค่าออกซิเจนในเลือดของ Apple Watch จะใกล้เคียงหรือว่าเท่ากับเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว แต่ก็ยังไม่ผ่านมาตรฐานกองควบคุมเครื่องมือแพทย์อยู่ดี

โดยของ Apple Watch เนี่ยบางทีก็วัดได้บ้างไม่ได้บ้างนะครับ เพราะมันอยู่ที่หลังข้อมือด้วย ต้องเลื่อนนาฬิกาให้แน่นขึ้น เพราะบางทีเราอาจจะใส่หลวมไป ทำให้ไม่สามารถอ่านค่าได้นั่นเอง

ส่วนเรื่องความเร็วก็ต้องบอกว่า เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เร็วกว่าเยอะเลยเพราะ Apple Watch ต้องรออย่างน้อย 15 วินาที แล้วในเรื่องของความแม่นยำก็อย่างที่ทุก ๆ คนเห็นไปเลย

แพนขอเสริมนิดนึงครับ เรื่องของเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ก็ควรใช้เครื่องที่ผ่านมาตรฐานของกองควบคุมเครื่องมือแพทย์

เพราะว่าถ้าเกิดเครื่องที่ไม่ผ่านมาตรฐานอย่างรูปที่อาจารย์เจษฎาได้โพสต์ไว้ในเฟซบุ๊ก เอาเครื่องเหมือน เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไปหนีบไว้ที่ไส้กรอกแล้วได้ค่าออกซิเจนออกมา ต้องบอกว่าค่านั้นเป็นค่าปลอม ๆ ไม่ใช่ค่าจริง เพราะฉะนั้นตอนซื้อก็ระวังกันด้วย

นอกจาก Apple Watch 6 ก็ยังมีสมาร์ตวอตช์แล้วก็สมาร์ตโฟนอีกหลายรุ่น ที่สามารถวัดค่าออกซิเจนในเลือดได้ แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่ผ่านมาตรฐานของกองควบคุมเครื่องมือแพทย์

ก็ไม่สามารถใช้ค่าที่ได้มาเป็นค่าอ้างอิงในการวินิจฉัยโรค แต่ใช้สำหรับการออกกำลังกายการดูแลสุขภาพส่วนตัวมากกว่า

สรุปสำหรับใครที่มี Apple Watch รุ่นที่ 4 หรือ 5 และจะอัปเกรดเพียงเพื่อฟีเจอร์ Oximeter หรือว่าการวัดออกซิเจนในเลือด อันนี้แพนไม่แนะนำครับ

แล้วถ้าใครไม่มี Apple Watch แล้วอยากซื้อ Apple Watch อันนี้แพนก็แนะนำเพราะว่า เหมือนเราได้ฟีเจอร์การวัดออกซิเจนในเลือดแถมมาด้วย สำหรับการดูแลสุขภาพหรือการออกกำลังกาย

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส