วันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา FINNOMENA ผู้ให้บริการด้านการลงทุนแบบครบวงจร จัดงานแถลงปรับภาพลักษณ์ (Rebrand) ภายใต้คอนเซป ‘A head of the Game’ มองขาดทุกโอกาสการลงทุน

FINNOMENA: The Next Chapter

Re-branding ทันสมัยสู่ The next chapter ต่อไป โดยเริ่มจากการเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ และชื่อภาษาอังกฤษจาก FINNOMENA เป็น Finnomena. ซึ่งทาง Finnomena (ฟินโนมีนา) ผู้ให้บริการด้านการลงทุนแบบครบวงจร ปักหมุดเป้าหมายพาคนไทย 1 ล้านคน ให้ประสบความสำเร็จทางการเงิน

ด้วยการส่งมอบโอกาสการลงทุนที่ดีที่สุด ภายใต้คำแนะนำคุณภาพ สินทรัพย์ที่หลากหลาย ผ่านแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ พร้อมประสานความแข็งแกร่งกับพันธมิตรทั้งในไทยและระดับโลก โดยประกาศรีแบรนด์ครั้งใหญ่สู่ “A head of the Game” มองขาดทุกโอกาสการลงทุน เพื่อส่งมอบประสบการณ์การลงทุนที่สมบูรณ์แบบ สร้างความมั่งคั่งอย่างเหนือชั้น

การลงทุนก็เหมือนกีฬา วิธีเอาชนะมันมีหลากหลายสไตล์ คุณเป็น Trend Follower, Contrarian หรือ Long-Term Investor หาตัวเองให้เจอ สำเร็จได้

สำหรับวัตถุประสงค์ของการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ใหม่ที่เชี่ยวชาญในแวดวงการลงทุน สื่อถึงการเติบโต และสะท้อนความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจของบริษัท ซึ่งจะมีความหลากหลายมากขึ้นในอนาคต โดยบริษัทมั่นใจว่าการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ จะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือของบริษัท รวมถึงเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคต

Finnomena – Ahead of the Game

ความสำเร็จที่ผ่านมาของ FINNOMENA

FINNOMENA แอปซื้อขายกองทุนรวมสะดวกครบจบในที่เดียว ซึ่งก่อตั้งโดย 3 หนุ่ม ประกอบด้วย นายเจษฎา สุขทิศ, นายชยนนท์ รักกาญจนันท์ และนายกสิณ สุธรรมนัส โดยได้ไอเดียที่เกิดจากการรวมกันของคำ 2คำคือ FINANCE (การเงินการลงทุน) + PHENOMENA (ปรากฏการณ์) นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหม่ของการรวมตัวกันของกูรูด้านการเงินการลงทุน

หากย้อนไปถึงเรื่องของวิสัยทัศน์ Vision ของเหล่าผู้ก่อตั้งที่มุ่งมั่นจะสร้าง Fintech ที่นำเสนอความรู้เชิงลึกในรูปแบบเข้าใจง่าย และกระจายความรู้สู่คนไทยจำนวนมาก โดยสิ่งที่ทำสำเร็จจาก 8ปีที่ดำเนินงาน FINNOMENA​ มาดังนี้

  • มียอดดาวโหลดแอปพลิเคชั่นกว่า 1,000,000 ดาวโหลด
  • ยอดเข้าถึงบนแพลตฟอร์มกว่า 30,000,000 Reach
  • มีบัญชีการลงทุนมากกว่า 280,000 บัญชี
  • ผู้ติดตามมากกว่า 600,000 คน 
  • มูลค่าการลงทุนภายใต้แพลตฟอร์มกว่า 40,000 ล้านบาท
  • การันตีด้วยรางวัลระดับโลก The Most Innovative WealthTech Firm ของประเทศไทย
  • การันตีโดย International Financial Awards 2023

ส่งผลให้ Finnomena ก้าวขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์มอันดับ 1 ของบริษัทนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนในประเทศไทย

การปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ของ Finnomena.

การรีแบรนด์และคำขวัญของบริษัทจากเป้าหมายที่อยากหวังไว้ว่า เปิดประตูปลดล็อคคนสู่โลกการลงทุน “Unlock Your Investment Potential” เปลี่ยนเป็น มองขาดทุกโอกาสการลงทุนให้กับคนไทย “A head of the Game” ซึ่งเราเชื่อว่าคนไทยตื่นรู้เรื่องการเงินระดับหนึ่งแล้ว

ฉะนั้นเราจึงเน้นไปที่การแนะนำการลงทุนที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ผ่านการคัดเลือกการลงทุนโดยผู้เชี่ยวชาญ และแพลตฟอร์มที่พัฒนาให้ตอบโจทย์การลงทุนในอนาคต โดยให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการสนับสนุนโอกาสการลงทุนที่ดีที่สุดในสินทรัพย์ทุกประเภทร่วมกับพันธมิตรระดับโลกและระดับท้องถิ่น

เป้าหมายข้างหน้าต่อจากนี้ Finnomena กำลังเดินทางสู่บทใหม่ A head of the Game โดยมีภารกิจสำคัญในการมุ่งมั่นคัดสรรสินทรัพย์ที่ดีที่สุดให้แก่นักลงทุน มองให้ขาดว่าสินทรัพย์ไหนจะเป็นผู้ชนะ และก้าวสู่การเป็นแพลตฟอร์มบริหารเงินลงทุนแบบครบวงจร ที่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต โดยปักหมุดเป้าหมายอันท้าทายอยากให้คนไทย 1 ล้านคน บรรลุเป้าหมายทางการเงินได้อย่างแท้จริง และตั้งเป้ามี AUA เติบโตทะลุ 1 แสนล้านบาท ภายในปี 2569

4 มิติใหม่ของการรีแบรนด์ Finnomena. 

  1. Product นำเสนอสินทรัพย์การลงทุนที่หลากหลาย เพิ่มเติมจากกองทุนรวมที่มีอยู่แล้ว เช่น พันธบัตร ตราสารหนี้ เงินฝากดอกเบี้ยสูง สินเชื่อออนไลน์ระหว่างบุคคล และอีกมากมายที่กำลังตามมาในอนาคต
  2. Platform มุ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทุกรูปแบบการลงทุนครบครันที่เดียว มีศูนย์กลางความรู้ แพลตฟอร์มการซื้อขาย เครื่องมือวางแผนการลงทุนที่เป็นนวัตกรรมระดับโลก และโทเค็นดิจิทัลที่เป็นประโยชน์ เช่น FINT Token
  3. Partner ร่วมมือพันธมิตรทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก เช่น องค์กรจัดการสินทรัพย์ระดับโลก Franklin Templeton และบริษัทจัดการสินทรัพย์ 21 แห่งในประเทศไทย รวมถึงกูรูที่เชี่ยวชาญด้านการลงทุนต่างๆ
  4. Service พัฒนาบริการให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด ด้วยคำแนะนำแบบง่ายกระชับ ชับไว เข้าใจง่ายขึ้น เน้นความเป็นกลางจากการวิเคราะห์เชิงลึก สนับสนุนให้ทีมที่ปรึกษาการลงทุนที่ติดตามพอร์ตการลงทุนอย่างใกล้ชิดผ่านคำแนะนำรูปแบบการซื้อขายที่หลากหลาย เช่น Morning Brief, FundTalk Call, Mr.Messenger Call, Definit MEVT โทร ฯลฯ และพร้อมเสนอการปรับพอร์ตลงทุนอัตโนมัติ

สรุปประเด็น Bonds, Stocks and Beyond: Building a Resilient Thai Economy

ภาพรวมการเสวนานี้ เพื่อหาแนวทางให้ตลาดทุนไทยเติบโตอย่างยั่งยืน รวมไปถึงภาพและพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา มุมมองที่จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในหุ้นกองทุนและโลกของการวางแผนการเงิน โดยพี่เจษฎาจะมาเป็นพิธีกรดำเนินรายการคุยกับบุคคลสำคัญที่เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนตลาดทุนของไทย

ตราสารหนี้กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่นักลงทุนไทย

เนื่องจากปีที่ผ่านมาคนไทยจำนวนมากสนใจในการลงทุนในหุ้นกู้ทางตรงไทยมากขึ้น โดยในตลาดหุ้นกู้มีบุคคลธรรมดาถือครองอยู่กว่า 39% ขนาดตลาดตราสารหนี้ 4.75 ล้านล้านบาท อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยที่เข้าเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้นของการลงทุนในตราสารหนี้ 

แต่ก็ยังมีปัจจัยในเรื่องของ ‘ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้‘ ซึ่งในปีที่แล้วมีค่า Default risk โดยประมาณการ 16,000 ล้านบาท ซึ่งเป็น 0.3%ของมูลค่ารวมตลาดตราสารหนี้ทั้งหมด จึงนับได้ว่ายังมีค่าที่ต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศที่มีตลาดทุนที่พัฒนาแล้ว 

อย่างไรก็ตาม โอกาสทองของประเทศไทยคือการมีนักลงทุนบุคคลธรรมดาที่มาก ผสานกับทางเลือกการลงทุนที่หลากหลาย ดังนั้นการมีโค้ชการลงทุนคอยให้คำปรึกษาชี้แนะ จึงเป็นอีกช่องทางสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจแก่นักลงทุน

Trend การพัฒนาในกองทุนรวมในประเทศไทย

ในปี 2023 ธุรกิจกองทุนรวมถือว่ายังขยายตัว ราว 5 หมื่นล้านล้านบาท ซึ่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 5% และหากเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น มูลค่าตลาดตราสารหนี้ไทยทั้งหมดจะอยู่ประมาณ 1 ใน 3 GDP ประเทศไทย

ซึ่งส่วนใหญ่เงินที่ไหลเข้ากองทุนรวมในปี 2023 ก็มาจากพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ เพราะด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูง ทำให้ตลาดนี้เป็นที่จับตามอง มากกว่าการฝากเงินในธนาคารที่ได้รับดอกเบี้ยไม่เกิน 1% 

แต่ในปี 2024 นี้ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง โอนย้ายเงินลงทุนไปในสินทรัพย์ประเภทอื่นมากขึ้น แม้กระนั้นธุรกิจลงทุนในกองทุนรวมก็ยังคงจะเติบโตไปอย่างต่อเนื่องแน่นอน

บทบาทสำคัญนักวางแผนการเงิน

วางแผนอย่างไร…เพื่อที่จะให้คนไทยในวงกว้างมีความ​มั่นคง​ทาง​การ​เงิน ท่ามกลางปัญหาความเลื่อมล้ำทางการศึกษา วิกฤติ​ประเทศไทยที่กำลังเข้าสู่สังคม​ผู้สูงอายุ

เนื่องจากทุกวันนี้ คนไทยเริ่มให้ความสนใจในการวางแผนการเงินมากขึ้นกว่าในอดีต หลังจากผ่านวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด19 ช่วงนั้นหลายคนขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินพอใช้จ่ายรายวัน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปก็คือ การลงทุนกลายเป็นเรื่องทั่วไปยิ่งขึ้น หลายคนไม่มีเวลา ไม่มีความรู้ก็ต้องการที่จะลงทุน และอีกเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจก้คือความแตกต่างระหว่าง ‘นักลงทุน vs ผู้ลงทุน’ นั้นไม่เหมือนกัน เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ของแพลตฟอร์มช่วยจัดการการลงทุนเป็นนั้น ‘ผู้ลงทุน’ ไม่ใช่นักลงทุนพวกเขาไม่มีเวลามากพอจะฝึกซ้อม พัฒนาการลงทุนด้วยตนเอง

แนวโน้มในอนาคตธุรกิจกองทุนเติบโต ประกอบไปด้วย 2 เหตุผล ซึ่งเหตุผลแรกคือ นักลงทุนเกือบทุกคนคาดการ์ณไว้ว่า FED (ธนาคารกลางของสหรัฐฯ) จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างแน่นอน ทำให้การลงทุนครึกครื้นมากขึ้น ประกอบกับผลิตภัณฑ์กองทุน FIF ที่ช่วยให้ลงทุนขยายออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ตอบโจทย์นักลงทุนไทยที่อยากกระจายความเสี่ยง

ดังนั้นอาชีพที่ปรึกษา​ทางการเงิน ผู้จัดการกองทุน และแพลตฟอร์ม​อย่าง Finnomena​. จึงเข้ามามีส่วนสำคัญมากขึ้น​ต่อการช่วยให้คนไมยมีอิสรภาพทางการเงิน

ข้อแนะนำลงทุนอย่างไรให้ยั่งยืน

  1. ลงทุนแบบ Portfolio เพื่อกระจายความเสี่ยงของการลงทุน แบ่งตามวัตถุประสงค์ตามแต่ละบุคคล ไม่ลงทุนในนโยบายลงทุนแบบเดียวหรือ Asset Class เพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น 
  2. ให้ความรู้กับผู้ลงทุน และส่งเสริมให้คนไทยลงทุนในระยะยาว อาจมีการใช้ technical analysis จับจังหวะ แต่ควรมองเป้าหมายการลงทุนให้ยาวขึ้น
  3. มีแผนเกษียณหลังวัยทำงาน เริ่มวางแผนเก็บเงินอย่างมีประสิทธิภาพควรมีวินัยออมเงินอย่างสม่ำเสมอ

สรุปประเด็น Beyond the Headlines: Insights and Strategies for Investing in Developed vs. Emerging Markets

Session สุดท้าย ถกประเด็น – ตอบคำถาม – ป้ายยากองทุนเด็ดน่าสนใจในปี 2024

ตลาดไหนน่าลงทุนระหว่าง Developed vs. Emerging Markets

  • คุณกิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ จากทางบลจ. Kasikorn Asset Management ชอบ 2 ตลาดเลย ทั้งตลาดเกิดใหม่และตลาดพัฒนาแล้ว แต่ชอบแบบ selective investment ไม่ได้ชอบทุกที่ อย่างประเทศที่ไม่ชอบ ได้แก่ ประเทศโซนยุโป, ประเทศญี่ปุ่น ส่วนที่ชอบของตลาด Developed คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะปีที่แล้วมีผลตอบแทนที่ดี แต่ยังคงกระจุกตัวในหุ้นกลุ่ม 7นางฟ้า เราจึงมองเพิ่มเติมไปยังหุ้นกลุ่มอื่น(อาทิ กลุ่มหุ้น Mid-Cap) ประกอบกับการลดอัตราดอกเบี้ยของ FED จึงขอแนะนำกองทุน ‘K-USA’ และอีกส่วนที่ชอบของตลาด Emerging คือ ประเทศอินเดีย เลือกแนะนำตั้งแต่ปีที่แล้ว และปีนี้ก็ยังเติบโตได้ดี แม้ว่าราคาจะแพงไปหน่อย แต่มีโอกาสเติบโตเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับ 3ของโลก หากกลัวความผันผวนเลือกอเมริกา แต่ถ้ามีอินเดียน้อยก็น่าลงทุน
  • คุณบดินทร์ พุทธอินทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนจากทาง บลจ.Eastspring Investments มองว่าตลาด Developed น่าจะทำผลตอบแทนได้ดี มาจากปัจจัยกลุ่มเทคโนโยลีเติบโตดี สอดรับกับ Mega trend ปัจจัยที่สอง ถ้าประเทศที่อยู่ในตลาด Developed เกิด recession ประเทศพวกนี้ย่อมมีเครื่องมือการลงทุนที่ดี มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือมากกว่า Emerging Markets และปัจจัยที่สาม พวกตลาด Developed มีความเป็น Global brand ทำให้รายได้มาจากทั่วโลก มีความเป็น Loyalty สูง สุดท้ายปัจจัยที่สี่ เรื่องของความโปร่งใส สภาพคล่องของตลาด และการเมือง 2ขั้วระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน จึงอยากขอแนะนำ 2 กองทุน ‘TMBGQG’ เน้นกลุ่ม Bank กับ IT อีกกองทุนคือ ‘ES-USTECH’ เป็นกองทุน passive ที่ล้อไปตาม Mega trend ธีมใหญ่
  • คุณเกียรติศักดิ์ ปรีชาอนุสรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการลงทุนทางเลือก บลจ.กรุงศรี ถ้าเลือกลงทุนแบบปลอดภัยไปทางหุ้น Developed Markets มีในส่วนผลประกอบการที่ดี และแบรนด์ที่มีคุณภาพ ติดตลาด ลงทุนระยะยาวสัก 3ปี แต่หากอยากลงทุนแบบ Satellite มุมมองใหม่ในปีนี้ ฝั่ง Emerging Markets ก็น่าสนใจเพราะ Underperform มาหลายปีอาจมี Earning เฉลี่ยระดับ 15% และค่าเงินดอลลาร์เริ่มอ่อนค่า ส่วนตัวให้ความสนใจไปที่อินเดียดีทุกอย่าง แต่แพงแบบมี Premium มีโอกาสเติบโตอีก กับเวียดนามดีน้อยกว่าอินเดียลงมาหน่อย เพราะมีความเสี่ยงเรื่องหุ้นกู้ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยบวกจากการลดดอกเบี้ย และฟื้นตัวดีขึ้น
  • คุณวศิน ปริธัญ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการ จากทาง Definit Investment Advisory Securities ส่วนตัวก็เชื่อในตลาด Developed มากกว่าตลาดกลุ่ม Emerging แล้วต้องลงทุนแบบทั้ง selective และ Active ในการศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเลือกหุ้นเองหรือเลือกผ่านกองทุนเช่นกัน

ปิดท้ายด้วย 4 คำถามภาพรวมตลาด

  1. ถ้าปีนี้ FED ลดดอกเบี้ยจริง จะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง? คำตอบ ซึ่งน่าจะมีประกาศอีกทีในครึ่งปีหลัง สิ่งที่ควรระวังคือ เงินเฟ้อ อย่างไรก็ตามตลาดทุนน่าจะไปต่อได้
  2. การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาจะเป็นเช่นไร? คำตอบ ค่อนข้างชัดเจนว่าเป็น Joe Biden vs Donald Trump แน่นอน จากการเลือกตั้งขั้นต้นใน Super Tuesday อย่างน้อย 12 รัฐ ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะเป็นบวกหรือลบขึ้นอยู่กับนโยบายที่มุ่งเป้าไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับจีน ในระยะสั้นตลาดอาจจะเกว่งเล็กน้อย
  3. การเข้ามาของ AI เปลี่ยนแปลงการลงทุนอย่างไร? คำตอบ AI พัฒนามากขึ้น แต่พวกเราก็ยังไม่ตกงานในด้านการลงทุน เพราะสามารถวิเคราะห์ได้เพียงเชิงตัวเลข ยังขาดการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ แต่ AI จะเข้ามาเปลี่ยนจริงๆในแง่ของการใช้ชีวิตมากกว่า ลงทุนในระยะยาวได้ แต่มีความผันผวนในระยะยาว
  4. เศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวได้ไวขนาดไหน จากเรื่องวิกฤตหนี้อสังริมทรัพย์ รวมถึงวิกฤตความเชื่อมั่นจะคลี่คลายอย่างไร? คำตอบ วิกฤตครั้งนี้คงไม่ใช่ระดับเศรษฐกิจโดยรวม แต่อาจจะส่งผลกระทบในแง่ของการเติบโต ดังนั้นตัวกระตุ้นเดียวหรือความหวังนั้นคือ นโยบายจากภาครัฐเท่านั้น ต้องมีการลดอัตราดอกเบี้ยมากขึ้น เป็นมิตรกับภาคธุรกิจมากขึ้น ข้อดีคือคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคาดหวังอะไรกับจีนแล้ว ถ้ามีหุ้นจีนไม่ถึง 15% ซื้อได้เลย แต่ถ้ามีจีนสัดส่วนที่มากแล้วก็รอ จับหวะ cut loss บ้าง หรือหาจังหวะเข้ายาว

รีวิวจากมุมมองผู้ใช้งานจริงบนแอป Finnomena.

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ใช้งาน Finnomena หรือไม่ก็ตาม แต่การปรับโฉมใหม่ของ  Finnomena. ครั้งนี้ก็ถือว่าก้าวการลงทุนที่สำคัญ ซึ่งเปลี่ยนไปสู่การซื้อ-ขาย-ลงทุน ที่ไม่จำกัดเพียงแค่กองทุนรวมอีกต่อไป ซึ่งส่วนตัวผมนั้นตื่นเต้นกับโฉมใหม่ที่ UX/UI ใช้งานง่ายขึ้น ตัวอักษรใหม่เพลินตา อีกทั้งเฝ้ารอผลิตภัณฑ์การลงทุนใหม่อยู่เสมอ