“จีเอ็มเอ็ม มิวสิค” เติบโตฝ่ากระแสเศรษฐกิจและ Disuption สามารถสร้างการเจริญเติบโต แบบสวนกระแสทำรายได้รวมสูงถึง 4,014 ล้านบาท มากที่สุดในรอบ 10 ปี มีกำไร 472 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตกำไรที่ 13.2% จาก 3 กลุ่มธุรกิจหลักที่เป็นปัจจัยสำคัญของรายได้ที่เพิ่มขึ้นได้แก่

  • ธุรกิจ Digital Music เติบโตสูงถึง 31% และมียอดรายรับสูงที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งแผนก ทะลุ 1 พันล้านบาทเป็นครั้งแรกโดยมีรายรับที่ 1,123 ล้านบาท
  • ธุรกิจ Showbiz เติบโตขึ้น 36% มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดในกลุ่มธุรกิจเพลง โดยมียอดรายรับที่ 524 ล้านบาท
  • ธุรกิจการบริหารลิขสิทธิ์ เติบโตขึ้น 25% และมียอดรายรับที่ 313 ล้านบาท สูงที่สุดตั้งแต่ได้ทำการบริหารจัดการ

ทั้งนี้สัดส่วนรายได้ของ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค ในปี 2562 ประกอบด้วย

  • ธุรกิจ Sponsorship & Artist Management มีรายได้ 1,408 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 35% ของธุรกิจ
  • ธุรกิจ Digital Music มีรายได้ 1,123 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 28% ของธุรกิจ
  • ธุรกิจ Showbiz มีรายได้ 524 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 13% ของธุรกิจ
  • ธุรกิจ การบริหารลิขสิทธิ์ มีรายได้ 313 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8% ของธุรกิจ
  • ธุรกิจ Trading มีรายได้ 301 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7% ของธุรกิจ
  • ธุรกิจ อื่น ๆ มีรายได้ 345 ล้านบาท คิดเป็นส่ดส่วน 9% ของธุรกิจ

โดยนายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยถึงแผน “บันได 3 ขั้น” ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของจีเอ็มเอ็ม มิวสิค ซึ่งบันไดทุกขั้นมีเรื่องหลัก ๆ ที่ต้องทำ อันได้แก่

บันได 3 ขั้นที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค

บันไดขั้นที่ 1      Restructure – Refocus – Restabilize

บันไดขั้นที่ 2      Build – Invest – Aggregate

บันไดขั้นที่ 3      Infrastructure – Recurring – Sustainable

 

บันไดขั้นที่ 1

ปรับและสร้างเสถียรภาพของธุรกิจเพื่อรับมือกับวิกฤติ

จากผลประกอบการปี 62 ตามยุทธศาสตร์บันไดขั้นที่ 1 มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จด้วยดี โดยตลอดระยะเวลา 3 ปี ด้วยความที่ธุรกิจใหม่ยังไม่นิ่ง จึงไม่เน้นการสร้างศิลปินใหม่หรือธุรกิจใหม่มากนัก จนสามารถฝ่าวิกฤติและเติบโตดีขึ้นที่ 9.7% โดยบันไดขั้นที่ 1 ประกอบไปด้วย

Restructure (การ ปรับโครงสร้าง) การสร้างความร่วมมือระหว่างความเชี่ยวชาญเดิมและความเชี่ยวชาญใหม่เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสได้ทำในสิ่งที่ตัวเองถนัดที่สุด มี Function ที่ชัดเจนเอื้อต่อยุทธศาสตร์ทางธุรกิจและสามารถเดินร่วมกันไปสู่ความสำเร็จที่เป็นไปได้

Refocus (การทำสิ่งเดียวให้ดีที่สุด) เป็นการส่งเสริมและจัดระบบให้ทีมงานทำในสิ่งที่สำคัญและขับเคลื่อนองค์กร โฟกัสสิ่งเดียวทำให้ดีที่สุด เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อไม่ให้ธุรกิจเดินทางคลาดเคลื่อนจากเป้าหมายที่วางไว้

Restabilize (การสร้างเสถียรภาพของรายได้) สร้างเสถียรภาพของรายได้โดยการบริหารธุรกิจที่มีอยู่ให้เติบโตและการหาแหล่งรายได้ใหม่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้อง Balance มีการวัดผลที่ชัดเจน เหมือนที่ได้เห็นการเติบโตของธุรกิจ Digital Music ธุรกิจ Showbiz และธุรกิจการบริหารลิขสิทธิ์

บันไดขั้นที่ 2

7 ยุทธศาสตร์สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจในอีก 5 ปีข้างหน้าที่เน้นทั้งคุณภาพและปริมาณ

โดยในตอนนี้ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค พร้อมที่จะเดินหน้าสู่บันไดขั้นที่สอง เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนและเติบโตด้วยการมุ่งเน้นไปที่คุณภาพและต้องมีขนาดปริมาณที่ใหญ่พอสมควร เพื่อให้ธุรกิจมีความเติบโตอย่างทันท่วงทีในกระแสการเปลี่ยนแปลงของอนาคต โดยปริมาณที่ว่านั้นจะต้องครอบคลุมทุก Segmentation ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจของจีเอ็มเอ็ม มิวสิคในอีก 5 ปีข้างหน้า

1.New Content Strategy & New Artist Development 

ให้ความสำคัญกับการสร้างศิลปินและแนวเพลงให้มีประสิทธิภาพทุกหมวดหมู่ ครอบคลุมทุก Segment ด้วยการกลับมาลงทุนการทำ Full Album อย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งในทุกแนวเพลง โดยแบ่งเป็นทั้ง Mega album และ Digital album และพร้อมร่วมมือกับศิลปินทุกค่ายด้วย และมีการเพิ่ม Segment อย่างเช่น Original Sound Track ให้กับละครและภาพยนตร์ทั้งตลาด เปิด Segment Big name, Teen Idol, Superstar และ Hip Hop พร้อมการสร้างศิลปินใหม่เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 300 คน โดยจะลงทุนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท เพื่อRecruit Develop และออก Album ให้กับศิลปินรุ่นใหม่ ทั้งนี้ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค จึงมีแผนการที่จะร่วมมือกับบริษัทพัฒนาศิลปินระดับโลกเพื่อยกระดับคุณภาพให้กับศิลปินรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความสามารถที่สามารถแสดงผลงานได้ในระดับสากล

2.Showbiz Expansion

เพิ่มการขยายธุรกิจ Showbiz อย่างไร้ขีดจำกัดแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

– ขยายธุรกิจ Music Festival ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ยุทธศาสตร์ ทุกภาค ทั่วประเทศ

– ขยายธุรกิจ Solo Concert ครอบคลุมทั้งศิลปินปัจจุบันที่มีความพร้อม ศิลปินหน้าใหม่ที่ต้องการโอกาสและศิลปินกลุ่มเรโทรที่มีแฟนคลับเหนียวแน่น

– ขยายธุรกิจ Theme Concert ด้วยการร่วมมือกับ Creator ใหม่ๆที่มาจากอุตสาหกรรมต่างๆที่หลากหลาย

– ขยายธุรกิจสู่การเป็น Promoter ในการจัด International Showbiz ในประเทศไทย

3.Artist Product

การสร้างสินค้าศิลปินที่ไม่ใช่แค่ Merchandising แต่เป็นสินค้าผลิตภัณฑ์ของศิลปินที่ศิลปินเป็นเจ้าของและได้รับกำไรขาดทุนจริง ๆ โดยมีจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นผู้ลงทุน และในปีนี้จะต่อยอดด้วยการเปิดตัวบริษัทใหม่ และออกสินค้าใหม่อีก 4SKU

4.Industry Aggregation

เดินหน้า Aggregate รวบรวมพันธมิตรในวงการเพลงเพื่อสร้างประโยชน์ทางรายได้จากทุกช่องทางการค้าร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น ช่องทาง Digital Platform, Karaoke Platform หรือการสร้างโปรเจกต์กับทุกค่ายเพลง

5.Media Partnership

ร่วมมือกับสื่อชั้นนำทั่วประเทศแบบครบวงจร รวมถึง Platform รายใหญ่เพื่อการขยายฐานการเข้าถึงและการรับรู้ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สื่อทีวี, สื่อวิทยุ, สื่อ Outdoor และสื่อโรงภาพยนตร์

6.M&A (Mergers & Acquisitions)

ยุทธศาสตร์การเข้าซื้อกิจการที่สามารถสร้างโอกาสในการเกิด Leap Growth เพื่อการเติบโตอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดทางธุรกิจ โดยบริษัทมีเป้าหมายที่ชัดเจนในอุตสาหกรรมต่างๆที่จะเข้าซื้อภายในระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้

7.Data Creativity

พัฒนาการทำ Data และมีทีม Data Scientist ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจเพลงโดยเฉพาะ และหยิบเรื่องของ Data มาสร้างสรรค์โอกาสมากมายในการทำการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงและเรากำลังจะเดินเข้าไปสู่ในเรื่องของการทำ Personalization เพื่อทำให้เกิด New Product Experience มากขึ้น เรื่องของ Data Prediction ถูกนำมาใช้ในการคำนวณโอกาสของการสร้างเพลงฮิต การสร้าง Concert ที่น่าจะ Sold out หรือการสร้างยอดขายของ Merchandising ที่แม่นยำ เป็นรูปธรรม แถมยังสามารถเข้าใจและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงต่อการตัดสินใจซื้อของแฟนคลับ รวมถึงเรื่องพฤติกรรมของแฟนคลับที่ชื่นชอบศิลปินมากกว่า 1 คน หรือ Brand สินค้าและ Media ที่แฟนคลับศิลปินชื่นชอบ จึงทำให้เกิดประโยชน์และก่อให้เกิดการซื้อขายทั้งระบบการค้า

โดยนายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า “ถึงแม้วันนี้เราจะมียอดการเจริญเติบโตที่สูงอย่างต่อเนื่องมาตลอด 3 ปีติด แต่เราจะไม่ประมาทโดยเด็ดขาด เพราะคุณไพบูลย์ ได้ย้ำถึงหลักคิดหนึ่งที่ว่า “อย่าผูกขาดรสนิยม อย่าย่ามใจในความสำเร็จ” สิ่งที่เราเฝ้าระวังจึงไม่ใช่แค่เรื่องของ Disruption หรือเรื่องธุรกิจ แต่เป็นเรื่องของ “คน”

เราเป็น People Business เราจะสำเร็จได้ล้วนต้องมีคนเก่งอยู่รอบตัวที่มีความสามารถ มีแรงใจ มีความกระหาย เราต้องคอยสังเกตการณ์และส่งเสริมศักยภาพของคนทำงาน บริษัทจะมีความเป็นเลิศได้ ทุกยุทธศาสตร์ที่วางไว้เป็นแค่เพียงความคิด คำพูด หรือเพียง Presentation ในห้องประชุมเท่านั้น เป้าหมายจะสำเร็จลุล่วงได้ต้องมีคนที่มีความสามารถลงมือทำ ฉะนั้น ความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นจึงไม่ใช่แค่ความสำเร็จของบริษัท แต่เป็นความสำเร็จของคนทุกคนในบริษัทต่างหาก เราจึงจะดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน”

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส