เมื่อวันที่ 6 กันยายนที่ผ่านมา เว็บไซต์ ‘The Royal Society Publishing’ ได้เผยแพร่บทความงานวิจัยจากวารสาร ‘Philosophical Transactions of the Royal Society B.’ ที่เขียนขึ้นโดย ‘ปีเตอร์ เจ ฟูลลาการ์’ (Peter J. Fullagar) นักวิจัยเกษียณอายุชาวออสเตรเลีย ที่ได้ทำการบันทึกเสียงเจ้า ‘ริปเปอร์’ (Ripper) เป็ดมัสก์ (Musk duck) ตัวผู้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย ที่ถูกเลี้ยงเอาไว้ในเขตอนุรักษ์ธรรมชาติทิดบินบิลลา (Tidbinbilla Nature Reserve)

เป็ด-เป็ดน้ำ-Musk-Duck

นอกจากนั้นเขายังได้ทำการบันทึกเสียงของเจ้าริปเปอร์เอาไว้โดยตลอด และเขาเองก็เป็นผู้ค้นพบว่า เจ้าริปเปอร์นั้นอาจมีความสามารถในการสบถคำว่า “You bloody fool !” (แกนี่มันโง่บัดซบ !) คล้ายกับภาษามนุษย์ จนกระทั่งในเวลาไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์ ‘แครอล เทน เคต’ (Prof. Carel ten Cate) แห่งมหาวิทยาลัยไลเดน (Leiden University) ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้นำเอาไฟล์เสียงเจ้าริปเปอร์ออกมาเผยแพร่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เธอเคยมีความคิดว่าการค้นพบของปีเตอร์ดูไม่น่าจะเป็นความจริง จนกระทั่งที่เธอได้ฟังไฟล์เสียง

ตอนที่ฉันได้อ่านเรื่องนี้ ฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องหลอกลวง มันดูไม่น่าจะเป็นความจริงเลย แต่มันดูเหมือนว่าจะเป็นความจริงเสียอย่างนั้น”

เจ้าริปเปอร์นั้นเป็นเป็ดมัสก์ที่ถูกเลี้ยงโดยมนุษย์มาตั้งแต่ช่วงฤดูร้อนปี 1987 หรือเมื่อประมาณ 33 ปีที่แล้ว ตั้งแต่มันยังเป็นไข่ จนกระทั่งปีเตอร์ ผู้วิจัยได้ยินคำสบถ “You bloody fool !” จากปากของเจ้าริปเปอร์เป็นครั้งแรกเมื่อตอนที่มันมีอายุได้ 4 ปี ในระหว่างที่กำลังผสมพันธุ์กับเป็ดมัสก์ตัวเมีย ซึ่งริปเปอร์อาจกำลังพูดเลียนแบบคำสบถของคนที่ดูแลมันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเคตเองก็ตั้งข้อสงสัยจากไฟล์เสียงว่า หรือจริง ๆ มันอาจไม่ได้พูดคำว่า “Fool” (โง่) แต่มันอาจกำลังพูดคำว่า “Food” (อาหาร) จากคำติดตลกของผู้ดูแลที่พูดทีเล่นทีจริงแบบขำ ๆ ว่า “นี่ไงอาหารของแก จัดไปแบบท่วม ๆ “ ก็เป็นได้

เป็ด-เป็ดน้ำ-Musk-Duck

‘ด็อกเตอร์ โดมินิก พอตวิน’ (Dr. Dominique Potvin) แห่งมหาวิทยาลัยซันไชน์ โคสต์ (University of the Sunshine Coast) เผยว่า ความสามารถของเจ้าริปเปอร์นั้นก็ถือว่าสอดคล้องกับธรรมชาติของเป็ดมัสก์ในการเกี้ยวพาราสีเพื่อจับคู่อีกด้วย โดยปกติแล้วเป็ดมัสก์ตัวผู้เองก็มักจะรวมตัวกัน และร้องแผดเสียงเพื่อเรียกร้องความสนใจจากตัวเมีย ซึ่งเมื่อเจ้าริปเปอร์เติบโตใกล้ชิดกับมนุษย์ ก็มีความเป็นไปได้ว่า มันก็ได้รับอิทธิพลมาจากคนที่ดูแลมันนั่นเอง

เป็ด-เป็ดน้ำ-Musk-Duck

รวมทั้งเจ้าริปเปอร์เองก็ไม่ใช่เป็ดมัสก์ตัวแรกที่เลียนแบบเสียงมนุษย์ได้ เพราะมีการพบว่ายังมีเป็ดมัสก์อีกสองตัวในอุทยานธรรมชาติเพนสธอร์ป (Pensthorpe Natural Park) ในสหราชอาณาจักรที่เลียนแบบเสียงหายใจของม้า เสียงไอของเจ้าหน้าที่ดูแลอุทยาน และเสียงเอี๊ยดอ๊าดคล้ายกับเสียงลูกบิดประตูอีกด้วย


อ้างอิง | อ้างอิง | อ้างอิง | อ้างอิง |

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส