หลายครั้งที่ภัยธรรมชาติอย่างไฟป่ามักเกิิดจากธรรมชาติลงโทษ และบ่อยครั้งก็มักเกิดจากความละเลยของมนุษย์ แต่ก็มีอีกหลายครั้งที่เกิดจากสัตว์บางชนิด ที่ใช้ไฟเป็นส่วนหนึ่งในการล่า โดยเฉพาะประเทศที่เกิดไฟป่าบ่อยครั้งอย่างออสเตรเลีย เนื่องจากเป็นแหล่งที่อยู่ของเหยี่ยวชนิดหนึ่ง ซึ่งได้รับฉายาว่า ‘เหยี่ยววางเพลิง’ เลยทีเดียว

เครดิตรูปภาพจาก phys.org

‘เหยี่ยววางเพลิง’ หรือ firehawks เหยี่ยวนักล่าที่ใช้ไฟในการล่าเหยื่อจริง ๆ ซึ่งเรื่องราวการล่าเหยื่ออันประหลาดนี้บอกเล่าโดยชาวอะบอริจิน (Aborigin) ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในทวีปออสเตรเลีย พวกเขาเล่าว่าไม่ได้มีแต่ firehawks เท่านั้นที่ออกล่าโดยใช้ไฟ แต่ยังมีเหยี่ยวชนิดอิื่น ๆ อีก เช่น เหยี่ยวสีน้ำตาล (brown falcon) เหยี่ยวดำ (black kite) และเหยี่ยวผิวปาก (whistling kite) แล้วพวกมันใช้ไฟในการล่าอย่างไรล่ะ?

ชาวอะบอริจินเล่าว่าพวกมันจะคาบกิ่งไม้ที่ติดไฟบ้างแล้วนำไปปล่อยในบริเวณที่ยังไม่ติดไฟ เพื่อให้ไฟลุกโชนขึ้นมา บางครั้งเหยี่ยวพวกนี้สามารถบินไปได้ไกลจากกองไฟกว่า 50 เมตรเลยทีเดียว ซึ่งการทำให้เกิดกองไฟขนาดใหญ่ ทำให้สัตว์นานาชนิดตื่นตระหนก แล้ววินาทีนั้นแหละที่การล่าของจริงจะเริ่มต้นขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแมลง กิ้งก่าหรืองูตัวเล็ก ๆ นอกจากจะทำให้พวกมันเปิดโอกาสในการล่ามากขึ้นแล้ว สัตว์หลายชนิดยังไม่ทันระวังตัวจากนักล่าในสถานการณ์เช่นนี้ด้วย

นักวิจัยได้เข้ามาศึกษาพฤติกรรมของ ‘เหยี่ยววางเพลิง’ พบว่า ด้วยความที่พวกมันมีจงอยปากที่แข็งและหนา รวมถึงกรงเล็บที่แข็งแรงทำให้พวกมันสามารถคาบหรือจิกกิ่งไม้ติดไฟได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการเผาป่าของเหยี่ยวพวกนี้ยังทราบถึงการเปลี่ยนพื้นที่หากินด้วย เนื่องจากกองไฟเป็นจุดที่ดึงดูดนักล่าหลายชนิดเข้ามารวมตัวกัน จึงอาจทำให้เหยื่อไม่เพียงพอได้

ทั้งนี้แม้พวกมันเรียนรู้ที่จะใช้ไฟแต่ก็เป็นเพียงใช้ในการล่าเหยื่อเท่านั้น และยังไม่เกิดอันตรายจนกลายเป็นภัยธรรมชาติใหญ่โตก็ถือว่าโอเค แต่เมื่อไหร่ที่การวางเพลิงของพวกมันคุกคามมาถึงมนุษย์แล้วล่ะก็ เราคงต้องเตรียมตัวเดือดร้อนกันได้เลย

อ้างอิง, อ้างอิง, อ้างอิง

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส