หลังจากครั้งที่แล้วผมพาทุกคนไปตะลุยโรงงานแอร์ที่จังหวัดระยอง ครั้งนี้ผมมีโอกาสได้ไปตะลุยโรงงานแอร์อีกครั้งถึงประเทศจีน ฮ่า! โดยได้รับเกียรติจากบริษัท Midea และ Toshiba พาแบไต๋ไปเปิดโลกโรงงานแอร์ด้วยกัน และที่สำคัญคือเรามีภาพมากกว่าเดิมด้วย!  น่าจะทำให้หลายคนเห็นกรรมวิธีการผลิตมากกว่าเดิม ส่วนการผลิตแอร์จะเป็นยังไง และ บริษัท Midea ที่ผลิตและส่งแอร์อันดับ 1 ของโลกนั้นรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง ไปรู้จักพร้อม ๆ กันได้เลยครับ

สมาชิกยุคก่อตั้ง

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับบริษัท Midea ก่อนครับ บริษัทนี้ก่อตั้งเมื่อปี 1968 โดยเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเพื่อนประมาณ 20 คน เอาเงินมาลงขันกันได้ประมาณ 5,000 หยวน (ในสมัยนั้นถือว่าเยอะมากกกกกกกก!) แล้วไปลงทะเบียนก่อตั้งผมสร้างบริษัทขึ้นมา ซึ่งสมัยนั้นการจะให้เจ้าหน้าที่ประทับตราสร้างบริษัทก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องรอไม่ต่ำกว่า 180 วัน และต้องยื่นรายละเอียดมากมาย ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

สัญญาและอุปกรณ์ทำงานจากปี 1968

แรกเริ่มเลย ธุรกิจแรกของพวกเค้าคือการคุ้ยหาฝาพลาสติกกลับมาขาย มารีไซเคิลใหม่ โดยการใช้มือ ใช้เหงื่อของพวกเค้านี่แหละในการตะลุยหา ไม่ได้จ้างใคร จากนั้นพวกเค้าเริ่มรู้สึกว่ามันดูจะช้าไป และเริ่มจะไม่โต จึงเริ่มจับตลาดใหม่ด้วยการผลิตพัดลม! และพวกเค้าเปิดตัวพัดลมตัวแรกของ Midea ในปี 1980 ก่อนที่จะสร้างกำไรมากมายเค้าจะเริ่มจับตลาดแอร์ครั้งแรกในปี 1985 ก่อนที่อีก 5 ปีต่อมา (ปี 1990) พวกเค้าจะมีกำไรสูงถึง 100 ล้านหยวน!

  • ปี 1993 เข้าตลาดหลักทรัพย์
  • ปี 2000 กำไร 10,000 ล้านหยวน
  • ปี 2010 กำไร 100,000 ล้านหยวน!

ฝาและอุปกรณ์ขุดค้นหา

พัดลมยุคแรกของไมเดีย

แน่นอนว่าไม่ได้มีแค่แอร์ เพราะการเดินทางมาถึงจุดนี้ของพวกเค้านั้น Midea ได้พัฒนาและผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าหลากหลายชนิด ทั้ง อุปโภคบริโภค เครื่องปรับสภาวะอากาศ เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความสะอาด (HVAC systems) การประดิษฐ์ หุ่นยนต์เพื่อทำงาทดแทน มนุษย์ หรือทำในสิ่งที่มนุษย์ทำไม่ได้ การสร้างระบบการจัดการ อุตสาหกรรมอย่างอัตโนมัติ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน ไมโครเวฟ หม้อหุงข้าว และเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น!

แอบบอกหน่อย สำหรับพนักงานที่ทำงานได้ดีเด่น Midea พร้อมแจกเงิน 200,000 หยวน + รถ BMW ให้ทุกปีด้วยละ!

เอาละ หลังจากเราได้รู้จักกับ Midea แล้ว ก็ถึงเวลาตะลุยโรงงานของพวกเค้ากัน

โรงงานเนื่อที่กว่า 170,000 ตารางเมตร

โรงงานใหญ่ของ Midea มีพื้นที่กว่า 170,000 ตารางเมตร ซึ่งบริษัทมีการปรับปรุงใหญ่ในปี 2016 ด้วยการลงฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ และปี 2018 เดิมที 280 คน แต่พอวางระบบใหม่ใช้แค่ 100 คน เมื่อเดินเข้าไปจะเจอกับจอยักษ์ขนาดกว้างเกือบ 20 เมตร สูงเกือบ 5 เมตร ที่จะแสดงระบบประมวลผลทั้งโรงงานอยู่ รวมทั้งบอก KPI โรงงาน คุณ​ภาพปริมาณ​ แสดงมาหมด ทั้งจำนวนวัสดุต่าง ๆ จำนวนแอร์ที่ผลิตต่อเดือน ต่อวัน ต่อสัปดาห์ แสดงสถานะพนักงาน สถานะหุ่นยนต์​ที่พร้อมใช้งาน บอกเลยว่าจอสวยมาก ภาพแบบ FHD ซึ่งโรงงานนี้ทำเฉพาะเครื่องปรับอากาศ​แอร์ภายในบ้าน

มาสคอตของที่นี่เป็นหมีขั้วโลก เพราะผลิตแอร์ เลยแทนด้วยหมีขั้วโลก

โดยบรรยากาศโรงงานค่อนข้างเรียบร้อย ไม่วุ่นวาย คนน้อยมาก เน้นใช้หุ่นยนต์​ทำงานเป็นหลัก ปัจจุบันในโรงงานมีหุ่นยนต์​ 800 ตัว ทำงานแทนคนได้ 24,000 คน!

ขั้นตอนการผลิตแอร์คร่าว ๆ ไม่ละเอียด และต้องขออภัยที่ภาพประกอบไม่ตรงตามขั้นตอนนะครับ

  • ดัดท่อทองแดง

เริ่มจากใช้เครื่องดัดท่อทองแดง มูลค่ากว่า 125 ล้านบาท ที่ทำงานกว่า 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รูปทรงตัวยูยาว ก่อนจะไปประกอบกับแผงคอยอลูมิเนียม

  • ช่อมต่อท่อกับแผง

เชื่อมท่อกับแผง ขั้นตอนแรกใช้มือประกอบ อันนี้ใช้เครื่อง​เชื่อมปิดรอยรั่ว ลักษณะ​เป็นสายพาน ตอนนี้ยังมีพนักงานอยู่บ้างนิดหน่อย แต่อนาคตจะเอาหุ่นยนต์​มาทำแทนคนแบบ 100 เปอร์เซ็นต์​

  • เก็บคอยล์

หุ่นยนต์ยักษ์​เอาแผงคอยล์ที่ทำเสร็จแล้วมาเรียงให้เรียบร้อย เพื่อสะดวกในการทำงานต่อ โดยจะเก็บคอยล์​แบบเป็นโรงแรม 4 ชั้น ประหยัด​ที่ได้ 750 ตารางเมตร ซึ่งแผงคอยล์เหมือนเป็นหัวใจ ต่อมาก็จะเป็นการประกอบส่วนต่าง ๆ เช่นมอร์เตอร์ และใบพัด โดยจะใช้คนและหุ่นยนต์ประกอบ มีหุ่นยนต์ทั้งสิ้น  22 ตัว และคน 19 คน โดยอุปกรณ์​หนักใช้หุ่นยนต์​ อุปกรณ์​เบาใช้คนทำ

  • ทดสอบความปลอดภัย

เอามาเทสความปลอดภัยในกล่อง โดยเอาความร้อนและไฟฟ้ามาปล่อยใส่เครื่อง ถ้ามีปัญหาจะมีจอให้เลือก 3 ข้อ

  1. รายงานส่วนกลาง
  2. หาทางแก้ปัญหา
  3. เช็คอีกครั้ง

โดยใช้คน 5 คนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนั้นในการตัดสินใจว่าจะเลือกข้อไหน​

  • ประกอบพร้อมลงอัตลักษณ์เครื่อง

ประกอบพวกกรองแอร์ กรอบหน้า และใช้เลเซอร์จี้เขียนเลขเครื่อง​ ก่อนจะประกอบเป็นเครื่องแอร์

  • หุ่นยนต์เก็บงาน

งานที่เสร็จ​แล้วจะถูกนำไปแพ็คเก็จ​จิ้งโดยหุ่นยนต์ โดยหุ่นยนต์​จะเป็นคนซีนพลาสติกกันรอย

  • เช็คความสมบูรณ์ของสินค้าก่อนนำส่งขายต่อไป

ใช้เครื่องเอกซ์เรย์ว่าสินค้ามีรอย หรือมีตำหนิอะไรหรือไม่ ก่อนจะส่งให้คนจริง ๆ เช็คปิดท้ายอีกที  ต่อไปก็เช็คระดับเสียง โดยความดังต้องไม่เกิน 17 เดซิเบล

จากนั้นจะใช้เครื่องเลเซอร์เขียนเรตติ้งลาเบล และเครื่องนี้จะสแกนภาพรวมสินค้าไปในตัว และปิดท้ายด้วยการติด QR CODE ทุกตัว แต่ละตัวจะต่างกัน เพื่อบอกข้อมูล​ว่าแอร์ตัวนี้เป็นยังไง และนำไปส่งที่ลูกค้าคนไหน

และปิดท้ายด้วยการพูดคุยถึงวิสัยทัศน์ของ Midea ที่เตรียมเดินหน้ามาขยายตลาดแอร์ในไทย โดยมุ่งเป้าปี 62 นี้จะต้องเติบโตอีก 74 เปอร์เซ็นต์และต้องติดท็อป 3 แอร์ในไทยภายในเวลา 5 ปี

เฮนรี เฉิน

นายเฮนรี เฉิน ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศประจำภูมิภาคอาเซียน บริษัท ไมเดีย
เรซิเดนท์เชียล แอร์ คอนดิชันเนอร์ โอเวอร์ซี เซลส์ คอมพานี ประเทศจีน กล่าวว่า

“ในช่วงสามปีที่ผ่านมา เครื่องปรับอากาศใช้ภายในบ้าน (RAC) ของ Midea สามารถทำยอดขายเติบโตเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องทั้งในตลาดจีนและตลาดโลก โดยในปี 2560 สามารถขายได้ทั้งสิ้น 38 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นถึง 40.7% ไมเดีย กรุ๊ป ยังได้ตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดขายขึ้นอีก 30% สำหรับตลาดอาเซียนภายในปี 2562 ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้เข้ามาทำการตลาดแล้วใน 9 ประเทศ ทั้งในรูปแบบการเปิดบริษัทสาขาและผ่านตัวแทนจำหน่าย โดยมีไทยเป็นตลาดใหม่ล่าสุด ซึ่งเครื่องปรับอากาศ Midea ได้เริ่มทำการตลาดอย่างจริงจังในไทยตั้งแต่ปี 2559 และในขณะนี้มี ส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 2.2% และเพื่อสอดรับกับวิสัยทัศน์ของไมเดีย กรุ๊ป ในการก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม RAC ทั่วโลก บริษัทฯ จึงเดินหน้าขยายการลงทุนและรุกทำการตลาดในไทยมากขึ้นในปีนี้ เพื่อผลักดันให้เครื่องปรับอากาศใช้ภายในบ้านแบรนด์ Midea มีมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้น และสามารถเติบโตขึ้นเป็นท็อป 3 แบรนด์ยอดนิยมของไทยให้ได้ภายใน 5 ปี”

โทนี่ หลิว

นายโทนี่ หลิว ผู้จัดการอาวุโส กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า

“บริษัทฯ ตั้งเป้าเติบโตเพิ่มขึ้นจาก   ปี 2561 ไว้ที่ 74% ทั้งยังตั้งเป้าที่จะปั้นแบรนด์เครื่องปรับอากาศ Midea ให้ติดท็อป 3 ของไทยภายใน 5 ปี  โดยในปี 2562 นี้ บริษัทฯ จะลงทุนเพิ่มขึ้นในเรื่องสินค้า การขยายหน้าร้าน การทำการตลาด โดยมีเป้ามาร์เก็ตแชร์เพิ่ม เป็น 4.5% ในปีต่อไป 2563 จะเน้นเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และเพิ่มมาร์เก็ตแชร์เป็น 7% ส่วนปี 2564 บริษัทฯ​ มีเป้าที่จะขยับเพิ่มมาร์เก็ตแชร์เป็น 9% โดยจะเน้นสร้างการรับรู้และความเชื่อมั่นในแบรนด์ ให้มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ รวมถึงอัพเกรดสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด และในปี 2565 บริษัทฯ มีแผนที่จะยกระดับ เครือข่ายตัวแทนจำหน่ายและขั้นตอนการกระจายสินค้าทั่วประเทศให้ทันสมัยยิ่งขึ้น รวมถึงทำกิจกรรมการตลาด การส่งเสริมการขาย และการสร้างแบรนด์ โดยตั้งเป้ามาร์เก็ตแชร์เพิ่มเป็น 13%”

“เราเชื่อว่าเครื่องปรับอากาศ Midea จะกลายเป็นที่นิยมของคนไทยในไม่ช้า เพราะด้วยจุดเด่นในด้าน นวัตกรรม ดีไซน์ และราคา รวมถึงความน่าเชื่อถือของแบรนด์ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ผลิตและส่งออกเครื่องปรับอากาศ รายใหญ่สุดของโลกจะสามารถการันตีความพึงพอใจของลูกค้าได้ ลูกค้าจะพบกับทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด”

ซ้าย คุณเฮนรี่ เฉิน
ขวา คุณโทนี่ หลิว

เป็นที่น่าติดตามนะครับว่าหลังจากนี้ ไมเดีย (Midea) จะสามารถทำตลาดในไทยได้มากน้อยแค่ไหน แต่ถ้าใครสนใจเยี่ยมชมสินค้าจาก Midea คลิก ได้เลย และคราวหน้าเราจะพาทุกคนไปตะลุยกับอะไรอีกต้องคอยติดตามกันให้ดี สำหรับครั้งนี้สวัสดีครับ ♥