หากพูดถึงวงการเกมบ้านเรา ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน เหล่าบรรดาผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมมักจะถูกมองว่าเป็นกลุ่มเด็กที่ไม่รักการเรียนบ้างล่ะ เล่นเกมจนเสียการเรียนบ้างล่ะ ทำให้ผู้ใหญ่ในบ้านเรามองว่าวงการเกมเป็นเรื่องไร้สาระ หลายคนเล่นเกมเพียงแค่ความบันเทิงเท่านั้น จนกระทั่งเกิดจุดเปลี่ยนคือการเข้าสู่โลกออนไลน์ อินเตอร์เน็ตกลายเป็นตัวแปรสำคัญ เกมออนไลน์เริ่มมีบทบาทกลายเป็นที่นิยม คนเล่นเกมเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน ส่งผลให้โมเดลธุรกิจเริ่มปรับเปลี่ยน จนถึงยุคในปัจจุบันก็เริ่มมีแพลตฟอร์มรองรับมากขึ้น ทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงเกมได้ง่าย จึงเกิดการท้าทายระหว่างผู้เล่น จนนำไปสู่การแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะ ผู้พัฒนาและค่ายเกมเริ่มจัดการแข่งขัน เกิดเป็นทัวร์นาเม้นท์ต่าง ๆ จนกลายเป็น กีฬา E-Sport ที่หลายคนเริ่มรู้จัก และกลายมาเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศเรา

จึงมีการจัดตั้ง บริษัท True Axion Games เพื่อพัฒนาและขยายตลาดเกมในไทยและต่างประเทศ โดยมีเป้าคือ…เพื่อเป็นบริษัทพัฒนาเกมที่ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ True Axion เกิดจากความร่วมมือระหว่าง กลุ่ม True ที่จับมือกับ บริษัท Axion Ventures และเมื่อ กีฬา E-Sport กลายเป็นที่รู้จัก และสร้างรายได้ให้กับประเทศ

คุณนิธินันท์ บุญวัฒนพิศุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรู แอกซิออน เกมส์

หลายมหาวิทยาลัยเริ่มเปิดหลักสูตรเกี่ยวกับเกมมากขึ้น จนกลายเป็นอีกหนึ่งภาควิชาการเรียน ที่มีความหลากหลายส่งผลให้เกิดเป็นอาชีพได้เมื่อจบการศึกษา เหล่าเกมแคสเตอร์ หรือคนสร้างคอนเทนต์บนโลกออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ YouTube, Facebook หรือ Twitch ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนเผยแพร่คอนเทนต์ของตนเองได้อย่างอิสระ และสามารถสร้างรายได้หลักแสนจนถึงหลักล้านจากผู้ติดตาม หรือผู้เข้าชมจนกลายเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมสูง

คุณนิธินันท์ บุญวัฒนพิศุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทรู แอกซิออน เกมส์ กล่าวว่า “True Axion มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสตูดิโอเกมที่มีคุณภาพระดับ AAA และมีความโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมผลักดันให้วงการอุตสาหกรรมเกมเติบโต และเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้แข็งแกร่ง

True Axion มีนักพัฒนาเกมมากกว่า 85 รายจากทั่วโลก ที่ร่วมงานกับทางบริษัทฯ พร้อมตั้งเป้าที่จะพัฒนาผลงานเกมมือถือ และเกม PC คาดหวังว่าจะเป็นสตูดิโอพัฒนาเกมที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในภูมิภาคนี้ และเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจเกมเติบโตและเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่งอีกด้วย

ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ด้าน ผศ.ดร.กมล จิราพงษ์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า “คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม นั้นเป็นหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
ภายใต้คณะคณะดิจิทัลมีเดีย ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 สาขา ได้แก่

  1. สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ตส์ (Digital Arts)
  2. สาขาวิชาคอมพวิเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ (Computer Animation and Visual Effects)
  3. สาขาวิชาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม (Interactive and Game Design)
  4. สาขาวิชาการออกแบบกราฟิก (Graphic Design)

ผศ.ดร.กมล มองภาพธุรกิจดิจิทัลของThailand4.0 ว่า…มีการเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนกันมากขึ้น  และใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารติอต่อธุรกิจกับกลุ่มเป้าหมายได้สะดวกยิ่งขึ้น และเพิ่ม Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ โดยใช้ Cloud มาพัฒนาอุปกรณ์เพื่อให้เชื่อมต่อและเข้าถึงโลกออนไลน์ได้ตลอดเวลา ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้นได้ผลิตบุคคลากรที่มีคุณภาพออกมาอย่างแพร่หลาย รวมถึงสร้างสรรค์ผลงานเอาไว้มากมายด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้คณะยังสนับสนุนการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ต ซึ่งปัจจุบันได้รับการยอมรับจากกระทรวงการกีฬาแห่งประเทศไทย ให้เป็นกีฬาแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทางคณะได้มีการปรับหลักสูตรเพื่อให้ตอบรับกับความต้องการของตลาด และวางเป้าหมายเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาอีสปอร์ตและอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

และปิดท้ายด้วย อาจารย์ธัญยา นวลละออง อาจารย์ประจำคณะ ICT มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยศิลปากร นั้นมี 5 วิทยาเขตด้วยกัน เปิดสอน 3 สาขาวิชาได้แก่

  1. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ
  2. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการออกแบบ
  3. สาขาวิชานิเทศศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร มุ่งเน้น 3 ด้านคือ เทคโนโลยี , ศิลปะ และ การสื่อสาร พร้อมยังดำเนินการส่งเสริม และสนับสนุนด้านการวิจัยและการให้บริการวิชาการ ร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานราชการ เอกชน สมาคม หรือองค์กรต่าง ๆ ในสาขาวิชาชีพ เพื่อการเผยแพร่และส่งเสริมงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย มหาวิทยาลัยศิลปากร รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอน โดยผสานศาสตร์ทางศิลปะ และเป็นศาสตร์แขนงที่มหาวิทยาลัยศิลปากรมีความเชี่ยวชาญโดยตรง

  1. ปี 1 : ปูพื้นฐานด้านศิลปะ คอมพิวเตอร์กราฟิก และการเขียนโปรแกรมอย่างเข้มข้น
  2. ปี 2 : เรียนรู้กระบวนการการออกแบบเกม จากการสร้างบอร์ดเกม และพื้นฐานการใช้งาน 2D Game Engine
  3. ปี 3 : เรียนรู้การใช้ 3D Game Engine และการเขียนโปรแกรมชั้นสูง , การสร้างเกมจากเทคโนโลยี AR ,VR
  4. และ ปี 4 : จับกลุ่มทำจุลนิพนธ์ โดยใช้ความรู้ความสามารถทั้งหมดที่ได้เรียนมา สร้างสรรค์ผลงานเกมเป็นของตัวเอง

จุดเปลี่ยนที่สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกม ทำให้การเล่นเกมกลายเป็นอาชีพ และได้รับการยอมรับในสังคม ล่าสุดได้ถูกบรรจุให้เป็นกีฬาเอเชียนเกมส์ ภาครัฐจึงเริ่มเข้ามาให้ความสำคัญมากขึ้น ภาคธุรกิจเริ่มเข้ามาลงทุน เกิดเป็นกลุ่มนักพัฒนา เกิดการสร้าง , งานสร้างรายได้ให้ใครหลายคน จนเริ่มเข้าสู่กระบวนการของภาคการศึกษา นั่นเอง