งาน AIS Vision 2018 ที่ผ่านมานั้น 1 ในไฮไลท์ที่น่าสนใจภายในงานนี้คือคำพูดต่าง ๆ ของเหล่า Speaker ที่ขึ้นมาพูดบนเวที แบไต๋ก็ได้รวบรวมวาทะของเหล่า Speaker ที่ได้ขึ้นไปพูดในงานนี้ ใครพูดถึงเรื่องไหนบ้าง เราสรุปมาให้คุณแล้ว

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ถอดคำพูด ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ชี้ไทยเติบโตแต่ติดเพดาน เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจตามโลกดิจิตอลไม่ทัน #AISVision2018#AISIoT

ผมดีใจจริง ๆ ที่มีโอกาสมางาน AIS Digital Intelligent Nation 2018 ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ดี โดยประกาศตัวเลข GDP ที่ 3.9% และปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 4.1% ซึ่งถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผนทั้งหมด และมีความเชื่อมั่นอยู่ โดยเฉพาะการส่งออกที่โตกว่า 17.6%

แม้ตัวเลขเหล่านี้จะทยานพุ่งไปข้างหน้า แต่มันมีขีดจำกัด มันมีเพดานอยู่ เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจปัจจุบันของไทยนี่จะเริ่มมีปัญหาเพราะเครื่องจักรในประเทศเริ่มเก่า อุตสาหกรรมของเรายังเป็นแบบเก่า และเมื่อไหร่ที่เศรษฐกิจก้าวไปสู่ดิจิตอล เครื่องจักร เครื่องยนต์ของประเทศก็ต้องปรับตัว

เพราะยุคสมัยนี้เป็นยุครุ่งอรุณของการปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมครั้งใหม่ โดยเราจะต้องแก้ในด้านเศรษฐกิจรากหญ้า ถ้าเราไม่ทำในวันนี้ อนาคตจะลำบาก โดยนำเอาโลกของ Digital เข้ามา Disrupt ซึ่งทำให้พฤติกรรมของชีวิตเปลี่ยนไปทั้งหมด ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงรูปแบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป

ปัจจุบันไม่ต้องไปทำงานที่อื่น สามารถทำงานที่บ้านได้ง่าย ๆ ซึ่งทำให้เกิดโอกาสที่มากกว่าเดิม ทั้งด้านโอกาสในการสร้างความรู้ โอกาสในการแปลงความรู้ให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจ โอกาสมีมากกว่าเดิมแบบไม่มีที่สิ้นสุด

Digital Economy จะกลายเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ทำให้หลาย ๆ ประเทศตื่นตัวกับเรื่องนี้

#ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตื่นสาย

เพราะมีเพียงไม่กี่บริษัทเอกชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดิจิตอล และภาครัฐฯ ก็เริ่มตื่นตัวเช่นกัน โดยการจัดงานเพื่อบอกคนไทยทั้งประเทศว่า โลกทั้งโลกได้ก้าวไปไกลขนาดไหนแล้ว และเราต้องก้าวไปสู่เรื่องนี้อย่างจริงจัง

#ดิจิตอลต้องไปถึงทุกคนในประเทศไทยไม่งั้นเกิดความเหลื่อมล้ำ

  1. Digital for All จะต้องเป็นดิจิตอลเพื่อไปถึงทุกคนในประเทศไทยให้ได้ ซึ่งถ้าไม่สามารถกระจายไปอย่างทั่วถึง ความเหลื่อมล้ำก็จะยิ่งห่างออกไป เด็กไทยทุกคนสามารถเรียนรู้บนเทคโนโลยีนี้ให้ได้ Smart Farmer เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต การค้าขาย เพื่อให้เขาสามารถก้าวไปสู่การค้าที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เลย โดยจะต้องได้รับความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เปิดระบบ e-Commerce ให้กับคนไทยทุกคน

  2. Digital Driven Economy เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนอนาคตข้างหน้าจะต้องมาจาก Digital เพราะการเติบโตทำนายได้ สามารถนำ Digital มาพัฒนาเพื่อสร้างคุณภาพของสินค้า ผลิตภัณฑ์ และควบคุมดูแลทุกอย่าง จะทำให้การเติบโตอย่างก้าวกระโดด การค้าขายสินค้า Local ผ่านระบบ e-Commerce หรือการพัฒนาเรื่องการท่องเที่ยว ก็จะส่งเสริมการพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งทุกอย่างนี้จะต้องเปลี่ยนผ่านจากโลกของ Analog ไปสู่โลก Digital

  3. เน้นวิชาสำคัญคือ STEM (กลุ่มวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) เป็นหลัก และศิลปะหรือ ART ก็เป็นเรื่องที่ทิ้งไม่ได้ ภาครัฐตั้งใจผลักดันด้านพื้นฐานเศรษฐกิจ โดยประเทศจีนก็มี 3 ยักษ์ใหญ่ที่พลิกโครงสร้างเศรษฐกิจจีนกลายเป็นโครงสร้าง Digital ทั้งประเทศ ซึ่งไทยก็สามารถทำได้ถ้ามีการผลักดันของภาคเอกชนที่ตั้งใจผลักดันอย่างจริงจัง

คุณอยากให้ประเทศนี้เป็นประเทศที่ตามคนอื่นไม่ได้เลยหรือ อนาคตเราต้องมี digital Driven ต้องมีนักรบใหม่ในทุก ๆ ด้าน

  1. Digital Leadership สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีผู้นำที่ดี ให้เอกชนนำไปก่อน มีการทดลองต่อยอดธุรกิจต่าง ๆ ไปก่อนเพื่อเปิดตลาด แล้วรัฐบาลก็จะต้องทำระบบ Big Data ในรูปแบบ Open Access เช่นข้อมูลฐานคนจน ธุรกิจ SME บนธนาคาร เอามาแชร์กัน ซึ่งการแชร์กันจะทำให้ Fintech เข้ามาดูแลได้ หน้าที่ของรัฐฯ คือการนำข้อมูลเหล่านี้เอามาทำเป็น Big Data การทำธุรกรรมทุกอย่างจะกลายเป็น Digital โดยใช้ E-Payment ซึ่งเราต้องไม่กลัวเทคโนโลยี แต่ต้องนำมาพัฒนาและสร้างบุคลากรเพื่อรองรับ ซึ่งสถาบันการศึกษาจะมี Tax Incentive ให้กับมหาวิทยาลัยที่สร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพได้

  2. Digital Polotic แต่เดิมการโหวตจะยากมาก ซึ่งในอนาคต คนจะใช้ระบบนี้เข้ามาพูดคุย นำเสนอ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวผลักดันให้คนเข้ามาพูดคุยเพื่อให้ภาครัฐฯ รับทราบข้อมูล ซึ่งการผลักดันครั้งนี้จะทำให้มีผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน

โดยสิ่งเหล่านี้จะเกิดการผลักดันของประเทศที่ดีกว่าเดิม แต่บางครั้งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่น่ากลัว เพราะข้อมูลบางอย่างเช่น การบิดเบือน ทำร้าย ประณาม ซึ่งเกิดขึ้นบนโลก Social Media ที่จะกลายเป็น Community ซึ่งสิ่งนี้มันมีโอกาสทำลาย Community ปกติโดยไม่รู้ตัว ทำให้คนทะเลาะกัน จนทำให้หลาย ๆ ประเทศเกิดการแตกแยกทางความคิด และเกิดความขัดแย้งจนทำให้

ใน 3 ปีนี้เป็นเวลาที่สำคัญ ซึ่งจะต้องเปลี่ยนผ่านประเทศสู่ Digital Driven ให้ได้ เพราะสิ่งที่เราใช้อยู่นั้นอยู่มากว่า 30 แล้ว ซึ่งอนาคตข้างหน้าเป็นยุคของคนหนุ่มสาว ถ้าคุณไม่เข้าใจเรื่อง Digital คุณจะก้าวต่อไปได้อย่างไร?

คุณกานต์ ตระกูลฮุน

#ไทยต้องเร่งวิจัยและพัฒนาเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ จาก 12 เรื่องในภาพ เรื่องการวิจัยเรายังสู้ชาติอื่นไม่ได้ #AISVision2018 #AISIoT

คุณกานต์ ตระกูลฮุน หัวหน้าทีมภาคเอกชน การยกระดับนวัตกรรมและ Digitalization คณะกรรมการสานพลังประชารัฐ และประธานกรรมการ AIS ชี้ให้เห็นว่ามี 2 ส่วนสำคัญที่ไทยต้องพัฒนาคือเรื่อง R&D และเรื่อง Digital

จากข้อมูลที่เก็บได้ งบประมาณค้นคว้าและพัฒนา (R&D) ของไทยคิดเป็นเพียง 0.2% ของ GDP มานาน จนเพิ่งมาเริ่มโตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งข้อมูลล่าสุดคือ ประเทศไทยมีงบที่ 0.78% ในปี 2559 และคาดว่าในปี 2561 จะมีงบ R&D อยู่ที่ 1% ของ GDP เป็นครั้งแรกของไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทัดเทียมกับต่างประเทศได้ (แต่ก็ยังห่างชั้นกับเกาหลีที่งบ R&D สูงถึง 4% ของ GDP)

วันนี้ภาคเอกชนจะต้องมามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ซึ่งตอนนี้ประเทศต้องการบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันอยู่เพียงแค่ 17 คนต่อ 10,000 คน เพื่อให้ไทยพัฒนาขึ้นจากอันดับ 45 (มีทั้งหมด 50 อันดับ) ของประเทศที่พัฒนาด้านเทคโนโลยี

Innovation Ecosystems คือความร่วมมือกันระหว่างภาคการศึกษา ภาครัฐฯ ภาคเอกชน และภาคการพัฒนา ซึ่งถ้ามี Platform ที่ดี ก็จะช่วยผลักดันเรื่อง Startup ที่ดี

สุดท้ายคือเรื่องของการพัฒนาเศรฐกิจประเทศ “No way out but Innovation” ถ้าไม่พัฒนาด้านเทคโนโลยี ประเทศไทยจะไร้ทางออก ซึ่งปัจจุบันหลายบริษัทยักษ์ใหญ่ใช้งบ R&D ที่สูงมาก ๆ เช่น Huawei ใช้งบพัฒนาทั้งโลกกว่า 37,000 ล้านดอลล่าร์ในการพัฒนา ซึ่งสูงมาก ๆ

ถ้าเราตั้งใจพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง ก็จะทำให้ประเทศสามารถพัฒนาสู่ยุค 4.0 ได้อย่างยั่งยืน

คุณบุรณัชย์ ลิมจิตติ

ปัจจุบัน DMS หรือกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการเป็นกลุ่มโรงพยาบาล Top 4 ของโลก

คุณบุรณัชย์ ลิมจิตติ Senior Vice President – International Marketing, Advertising and Public Relations บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เผยข้อมูลว่าปัจจุบัน DMS หรือกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพดุสิตเวชการเป็นกลุ่มโรงพยาบาล Top 4 ของโลก โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 45 โรงพยาบาลและ 8,000 กว่าเตียง มีผู้ป่วยปีละ 10,000,000 คน และชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการกว่า 1 – 2 ล้านคนต่อปี ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยระดับนานาชาติ 17 JCI มุ่งเน้นการใช้ดิจิตอลในด้าน Standardization เพื่อมาตรฐานการรักษาและการพยาบาล มาตรฐานการวัดที่คงที่ โดยเอาข้อมูลต่าง ๆ มา Benchmark แบบรายวัน เก็บเป็น Big Data เพื่อนำมาพัฒนาโรงพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น มี Lab ทดลองที่มีมาตรฐานระดับโลก

BDMS Alarm Center ที่ควบคุมดูแล โดยมีการส่งการรักษาไปถึงระดับโลก

โดยเครือ BDMS ตั้งใจที่จะทำงานกับระดับ World Class Hospital ต่างๆ มากมาย แลกเปลี่ยนข้อมูล นำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการทำงานของหมอและพยาบาล และจับมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งสิ่งที่ BDMS ทำทั้งหมดเพื่อ ผู้ป่วยทุกคนได้มี Customer’s Journey ที่ดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อให้ได้รับ Digital Healthcare ที่ถูกต้อง สมบูรณ์โดยใช้ AI ในการประมวลผลช่วยหมอในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบ Analog มาก

ระบบ IoT ที่ใช้อุปกรณ์ Wearable ในการส่งข้อมูลต่าง ๆ มาให้โรงพยาบาลแบบ Realtime เพื่อเก็บข้อมูลและดูแลสุขภาพของผู้ป่วยได้ต่อเนื่อง ตลอดเวลา และกระบวนการทั้งหมดเพื่อให้รู้ว่าคุณควรดูแลรักษาสุขภาพอย่างไรถึงจะดีที่สุด

 

คุณบอย โกสิยพงษ์

เมื่อ Napster เข้ามา MP3 เข้ามา เราซวยแน่!

คุณบอย โกสิยพงษ์ ได้เริ่มดำเนินการปรับใช้ Digital กับสื่อ Entertainment หรืออุตสาหกรรมบรรเทิงแล้ว เพราะทางคุณบอย คิดว่า ปัจจุบันการพบกับแฟนเพลงนั้น ผู้คนส่วนใหญ่มักใช้ Facebook ในการติดต่อ สื่อสารกับแฟนเพลงได้อย่างง่ายดาย และมีการใช้งาน Social Media อื่น ๆ ในการติดต่อสื่อสารกับครอบครัวและแฟนเพลง ซึ่งการก้าวเข้ามาในโลก Social ครั้งแรกคือ น้องชายชวนเข้ามาเล่น Twitter จนกระทั่งได้ก้าวสู่โลกของ Facebook ในปัจจุบัน

ซึ่งปรากฎการณ์ของการเข้ามาของ Digital สร้างปรากฎการณ์คือ การขายแผ่นสมัยก่อนคือ ต่ำ ๆ หลักแสนแผ่น แต่ใช้การโฆษณาที่สูง เมื่อเทียบกับยุคนี้ การขายเพลงจะได้กำไรแค่หลักไม่กี่ % เพราะการมาของ MP3 และ Torrent แต่รายได้หลักสำคัญของศิลปินยุคนี้กลับกลายเป็นการจัด Concert แทน

“เมื่อ Napster เข้ามา MP3 เข้ามา เราซวยแน่” โดยเขาได้เปลี่ยนจากระบบ B2C เป็น B2B ก่อน เพราะระบบของ B2C นั้นถูกโลกของ MP3 Disrupt จนกลายเป็นรายได้หดหายไปหมด แต่เขาก็มองว่า Disrupt ครั้งนี้ก็กลายมาเป็นโอกาสของการเปลี่ยนแปลง มองว่า ต้นไม้เมื่อถูกตัดจนโกร๋นในวันนี้ ใบ ดอกใหม่ก็จะออกมา ซึ่งชีวิตคนก็เช่นกัน ถ้าสามารถก้าวขึ้นมาจาก 0 ได้ เราก็จะสามารถอยู่รอดในยุคนี้ได้

การมาของ Fanster

คุณบอยก็ยังได้สังเกตเห็นว่า คนปัจจุบันยุคนี้คนอยู่กับหน้าจอมือถือเยอะมากขึ้นเรื่อย ๆ ขนาดขับรถยังอยู่บนมือถือ ซึ่งถ้าเราสามารถเปลี่ยนวิธีการใช้มือถือ กลายมาเป็นรายได้ ก็เลยสร้าง Fanster ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคน Spend เวลากับแอปนี้เพื่อให้ศิลปินได้รับรายได้จากที่เราเข้าไปใช้งาน ซึ่งในแอปนี้จะเป็นการรวมพลกงของ ค่ายเพลง / ศิลปินเข้ามาเป็น Community มีค่ายเพลงเล็ก ๆ ทุกค่ายเพลงในแอปนี้ ซึ่งอนาคตพวกเขาก็จะไม่จำกัดแค่เพียงค่ายเพลง แต่จะมีทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในนี้ กลายเป็น 1 ใน Social Media สำหรับคนบันเทิง

ซึ่งการใช้งานก็ง่าย ๆ เข้าไปกดติดตามศิลปิน / ค่ายเพลงที่เราสนใจ ระบบจะดึง Feed จาก Social Media ของคน ๆ นั้น หรือ Fan Feed ขึ้นมา ซึ่งยิ่งมีการ Engage มาก ๆ คนที่ใช้ก็จะเลเวลสูงขึ้นเรื่อย ๆ และในแอปนั้นมีระบบ Fanclub Management ให้ใช้ ซึ่งเหรียญที่ใช้ในแอป จะเอามาใช้เพื่อปลดล็อคสิ่งต่าง ๆ ที่คุณต้องการ รวมไปถึงแลกซื้อสิทธิพิเศษบางอย่างกับศิลปินที่คุณชื่นชอบได้ ทางคุณบอยตั้งใจว่าแอปนี้จะเป็น 1 ในการสร้างรายได้ให้กับเหล่าศิลปิน / ค่ายเพลง อีกทางหนึ่ง และใครอยากติดตาม Sweet16 ก็สามารถติดตามที่แอป Fanster นี้ได้เช่นกัน

คุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS

#AIS เปิดให้ลูกค้าทุกค่ายดูทีวีผ่าน AIS Play ฟรี!

คุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS เปิดเผยในงาน Digital Intelligent Nation 2018 ว่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ทุกค่าย ไม่จำกัดเฉพาะ AIS ได้ใช้งานแอป AIS Play ในส่วนที่เป็นเนื้อหาฟรีได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย จากเดิมที่จะต้องเป็นลูกค้า AIS เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถดูช่องใหม่คือ CNN และ Cartoon Network ได้ฟรีถึง 15 มีนาคมนี้ด้วย

นอกจากนี้ AIS ยังเปิดโครงการ Play 365 สำหรับใครที่อยากสร้าง Content ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งคุณจะเป็นใครก็ได้ เป็นคนที่อยากทำ Content Creator ขึ้นมา รับสมัครทั้งหมด 365 คน โดย AIS จะสนับสนุนด้านเงินและการโฆษณา ซึ่ง AIS อยากให้ทุกคนที่อยากทำคอนเทนต์ ซึ่ง Play365 จะต้องสร้าง Content ดี ๆ เพื่อให้คนเข้ามาร่วมกันผลิตผลงานขึ้นมา

และ AIS ยังมี VR Creator Program สามารถเข้าไปทดลองได้ฟรี สามารถเรียนรู้การสร้างเนื้อหา VR จาก IMAX เริ่ม 27 มีนาคมนี้ ถ้าเกณฑ์ Content ผ่านก็เข้ามาร่วมกันได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่ AIS ทำร่วมกับ IMAX นอกจาก IMAX VR ที่ร่วมมือกับ Major ที่สยามพารากอน

#IoT Platform

สิ่งที่ถูกเปลี่ยนซึ่งในปี 2018 นี้จะกลายมาเป็นการใช้อินเตอร์เน็ตที่มากกว่าแค่การหาข้อมูล แต่จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันที่สะดวกสบายยิ่งกว่าเดิมในทุก ๆ ด้าน ให้ทุกชีวิตดีกว่าเดิม ซึ่ง AIS มั่นใจว่าจะเกิดขึ้นจริงไม่เกิน 3 ปีนี้ เพราะอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปเริ่มมี IoT เข้ามาควบคุมแล้วแทบทุกสิ่ง

AIS ลงทุนทำ NB-IoT เพื่อให้อุปกรณ์เล็ก ๆ ใช้ Data น้อย ๆ และ eMTC สำหรับอุปกรณ์ IoT ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาโดยเสริมซึ่งกันและกัน

และ AIS ก็ได้จับมือ Partner อื่น ๆ มากมายเพื่อให้สามารถใช้ Internet of Things ได้อย่างแน่นอน เพราะ No one Country them all..

ซึ่งคุณสมชัยเผยข้อมูลว่าคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตวันละ 4.8 ชั่วโมงในปี 2017 จากเดิม 3 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งเป็นการเติบโตขึ้นมาก เพราะเราเผลอ ๆ ก็หยิบขึ้นมาใช้ และมันจะมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน

เผยข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยและทั้งโลกเติบโตสูงขึ้นมาก

ส่วนพฤติกรรมคนดูหนัง ปีที่ผ่านมา คนดู Streaming 41 ล้านและ Digital 67 ล้านและมากกว่า 80% เป็นคอนเทนต์ภาษาไทย ซึ่งพฤติกรรมคนถูกเปลี่ยนผ่านไปแล้ว

#วันนี้เรายังมีโอกาสในการพัฒนา

3 ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม

– ยุคที่ 1 เครื่องจักรไอน้ำ ในโรงงานอุตสาหกรรม ใครมีโรงงานใหญ่ ๆ จะครองโลก
– ยุคที่ 2 เกิดศาสตร์การบริหารจนกลายมาเป็นหลักการบริหารธุรกิจ การตลาด ใครมีหลักการเหล่านี้ก็จะเป็นเจ้าโลก ซึ่งค่ายที่ดัง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นค่ายของอเมริกา
– ยุคที่ 3 เป็นเรื่องของยุค Platform ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำลายยุคเก่า ๆ ไปอย่างสิ้นเชิง เพราะเราจะเห็นธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมา เป็นบริษัทที่มี Platform ที่ดีโดยไม่ต้องสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเลยเช่น Uber, อาลีบาบา เป็นต้น ในยุค 2020 จะอยู่ในช่วงของ IoT เพราะในอนาคตอุปกรณ์ต่าง ๆ จะกลายเป็น Smart ควบคุมดูแลผ่านมือถือได้ทั้งหมด

ทั้งหมดนี้ก็เป็น 1 ในวิสัยทัศน์ที่เราได้รับฟังกันในงาน AIS Vision 2018 ที่น่าสนใจในปีนี้