ธนาคารเกียรตินาคินเปิดตัว KK Magic Mirror กระจกวิเศษที่ช่วยแนะนำการเงินการลงทุนได้ โดยยังรักษาเสน่ห์ของปฏิสัมพันธ์แบบมนุษย์

Play video

ดร. อนุชิต อนุชิตานุกูล ประธานสายพัฒนาระบบงาน ช่องทางขายและผลิตภัณฑ์ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร เผยว่าธนาคารฯ ได้พัฒนา “KK Magic Mirror” นวัตกรรมการบริการในรูปแบบกระจกวิเศษที่ช่วยเรื่องการเงินให้ง่ายขึ้น ซึ่งใช้เทคโนโลยีมาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับธนาคารในแบบที่เป็นธรรมชาติที่สุด (Human Interaction) โดยถือเป็นประสบการณ์ใหม่เพราะเป็นการให้บริการที่ปรึกษาทางการเงินผ่านจอ LED แบบ Interactive ครั้งแรกของประเทศไทย

ดร. อนุชิต อนุชิตานุกูล ประธานสายพัฒนาระบบงาน ช่องทางขายและผลิตภัณฑ์ ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

บริการของ KK Magic Mirror แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ แบบแรก คือการโต้ตอบกับพนักงานเสมือนจริง โดยเพียงตอบข้อมูลทางการเงิน 2 คำถาม ระบบจะสรุปแนวทางการวางแผนการลงทุนเบื้องต้นในรูปแบบเฉพาะบุคคล เพื่อเป็นแนวทางในการเข้ารับคำปรึกษาเรื่องการลงทุนอย่างเต็มรูปแบบที่สาขาธนาคารต่อไป แบบที่สอง คือการพูดคุยกับกูรูทางการเงินจากกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรในรูปแบบ Live Video Call ในช่วงกิจกรรมพิเศษ เพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินที่เหมาะสมกับความต้องการ หรือนอกจากช่วงกิจกรรมพิเศษ ลูกค้าก็สามารถติดต่อกับพนักงานได้ทันทีเพื่อซักถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการผ่าน Live Video Call ได้เช่นกัน

โดย KK Magic Mirror แตกต่างจากเครื่องมือด้านการเงินทั่วไปที่มักมีลักษณะเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ KK Magic Mirror ถูกออกแบบมาให้พูดคุยโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้เหมือนกำลังสื่อสารกับมนุษย์จริงเพื่อสร้างความรู้สึกที่เป็นมิตรและเข้าถึงง่าย” ดร. อนุชิต กล่าว

ภายในเดือนมีนาคม KK Magic Mirror จะเริ่มติดตั้งใน 5 พื้นที่นำร่องคือ

  • ธนาคารเกียรตินาคิน สาขาอโศก
  • ศูนย์การค้าสยาม พารากอน
  • ศูนย์การค้าเค วิลเลจ
  • ศูนย์การค้าซีคอน สแควร์ ศรีนครินทร์
  • อาคารซีพี ทาวเวอร์ 1 สีลม

หลังจากนี้ ธนาคารยังมีแผนพัฒนาช่องทางการให้บริการและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าในยุคดิจิตอลอีกอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันธนาคารมีลูกค้าที่เริ่มติดต่อหรือทำธุรกรรมจากบนแพลตฟอร์มออนไลน์ร่วม 50,000 รายต่อปี โดยตั้งเป้าจะเพิ่มฐานลูกค้าในส่วนนี้อีกราว 20%

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเงินดิจิตอล

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าจำนวนธุรกรรมที่ประชาชนทำผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารและตู้ ATM ลดลงจากประมาณ 41% ของธุรกรรมทั้งหมดในปี 2553 เหลือเพียง 17% ในปัจจุบัน ขณะที่ธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นจากประมาณ 15% เป็น 66% ในช่วงเวลาเดียวกัน

โดยสาเหตุที่ประชาชนหันมาทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้นมี 2 ประการ ได้แก่ หนึ่ง กระแสเทคโนโลยียุค 4.0 (Industry 4.0) ที่ทำให้การใช้โทรศัพท์มือถือและรูปแบบธุรกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) มีมากขึ้น และสอง การนำเสนอบริการพร้อมเพย์หรือการโอนเงินและรับโอนเงินที่ผูกบัญชีเงินฝากธนาคารเข้ากับหมายเลขบัตรประชาชนหรือโทรศัพท์มือถือตามโครงการ National e-Payment ของภาครัฐ ซึ่งช่วยลดทอนค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน ได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นจำนวนมาก โดยมูลค่าสะสมการทำธุรกรรมโอนเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ล่าสุด อยู่ที่ 4 แสนล้านบาท และมีผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์ของบุคคลธรรมดาแล้ว 37 ล้านบัญชี และของนิติบุคคลอีก 45,000 บัญชี

ผู้สนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ KK Contact Center โทร. 02 165 5555 หรือ www.kiatnakin.co.th