เทคโนโลยีต่างๆ จะเกิดขึ้นนั้นล่วนเกิดจากการค้นคว้าวิจัย และการวิจัยต่างๆ นั้นจำเป็นต้องมีศูนย์วิจัยและพัฒนาเพื่อให้สิ่งนั้นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาอย่างจริงจัง

ในวันนี้ นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ มร. เฉา ไห่เฉิน ประธานบริหาร กลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด ร่วมเปิดศูนย์นวัตกรรม กฟภ. “PEA Innovation Center) ศูนย์พัฒนาและวิจัยด้านไฟฟ้าที่ทันสมัยที่สุดแห่งแรกในประเทศไทย ณ อาคาร LED สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หลังจากได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเพื่อจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวไปเมื่อเดือนพฤษจิกายน 2560 ที่ผ่านมา

ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้เป็นผลมาจากความร่วมมือระยะยาวระหว่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด สำหรับโครงการนำร่วง หัวเว่ยได้ติดตั้งโซลูชั่นเทคโนโลยีไอซีทีที่ทันสมัยภายในศูนย์ฯ ดังกล่าว โดยหัวเว่ยให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ออฟธิงส์ (IoT) และคลาวด์ สำหรับการพัฒนาและติดตั้งเทคโนโลยี Single Iot Platform ที่เกิดจากการผสานโครงข่าย PLC-Iot และ eLTE-Iot เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประศักยภาพและความน่าเชื่อถือของระบบและบริการด้านไฟฟ้าของ กฟภ. เช่น ช่วยในการเข้าถึงและประสมดุลระบบโครงข่ายไฟฟ้า (เพาเวอร์เกริด) ได้แบบเรียลไทม์ ปรับปรุการใช้ไฟฟ้าแะการประหยัดพลังงานอย่างเหมาะสม รวมไปถึงถึงระบบการใช้มิเตอร์อัจฉริยะ AMI (Advanced Metering Infrastructure)

Advanced Metering Infrastructure

AMI หรือ “สมาร์ทมิเตอร์” จะค่อยๆ เข้ามาแทนที่มิเตอร์รุ่นเก่าในอนาคต ซึ่งนอกจากวัดอัตราการใช้ไฟฟ้าได้แล้วยังสามารถระบุช่วงเวลาการใช้งานระหว่างวันได้ด้วย สมาร์ทมิเตอร์ใช้การสื่อสาแบบสองทาง สามารถถ่ายโอนข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและค่าไฟระหว่างผู้ใช้และการไฟฟ้าได้ และยังเอื้อต่อการดำเนินโครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ซึ่งสุดท้ายเทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้ กฟภ. สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต้นทุนการเป็นเจ้าของลงได้มากถึง 25 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ความร่วมมือในครั้งนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและใช้งานเทคโนโลยีเครือข่าย “ALL IP” ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนวัตกรรมจ่างๆ  อาทิ คลาวด์คอมพิวติ้งสำหรับพลังงานไฟฟ้า บิ๊กดาต้า อุปกรณ์ชาร์จพลังงานสำหรับรถยนต์ สมาร์ทโฮมและการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ สอดคล้องตามนโยบายของ กฟภ. ในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองการก้าวเข้าสู่ยุค PEA 4.0 มุ่งสู่การเป็น “การไฟฟ้าแห่งอนาคต” (Electric Utility of the Future)

นายเสริมสกุล คล้ายแก้ว ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า “ศูนย์นวัตกรรม กฟภ. แห่งนี้เป็นการหลอมรวมประสบการณ์ด้านอุตสหกรรมไฟฟ้าที่สั่งสมมายาวนานของ กฟภ. เข้ากับองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีไอทีซี ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาของหัวเว่ย เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มอันล้ำสมัยที่มีการบูรณาการในด้านการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ และเทคโนโลยีคลาวด์ต่างๆ ในภาคพลังงานไฟฟ้า ช่วยให้เราสามารถบริหารงานโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะและพัฒนาประสิทธิภาพด้านการให้บริการทั้งยังช่วยลดต้นทุนลงได้ นอกจากนี้ ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการฝึกอบรมบุคลากรด้านไอซีทีในภาคพลังงานไฟฟ้าและเผยแพร่เทคโนโลยีด้านสมาร์ทกริดในประเทศไทยออกไปในอนาคตด้วย”

มร. หูกัง หัวหน้าฝ่ายขายกลุ่มธุรกิจอินเตอร์ไพรส์ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของหัวเว่ย กล่าวว่า “ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดีจากการร่วมมือกับ กฟภ. เพื่อส่งเสริมและเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาและวิจัยการพัฒนาด้านอุตสหกรรมพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย และขยายออกสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวเว่ยภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรในโครงการอันยิ่งใหญ่นี้ โดยเราจะมุ่งมั่นทุ่มเททำงานร่วมกันเพื่อระดมแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีไฟฟ้าเพื่อสร้างสรรค์ประโยชน์สู่คนไทยทุกคน”

“หัวเว่ยขอขอบคุณท่านผู้ว่าการฯ และคณะทำงานที่ได้ร่วมกันสร้างโครงการด้านต้นแบบนี้ขึ้นมา ศูนบ์นวัตกรรม กฟภ. จะกลายเป็นจุดหมายสำคัญด้านบริการที่ตอบสนองความต้องการด้านไฟฟ้าภายในประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น และเรามั่นใจว่าศูนย์แห่งนี้จะมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวไปในทิศทางเดียวกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล”

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยแห่งนี้ยังเป็นให้อาจารย์ นิสิต นักศึกษา มาเข้าเยี่ยมชมกันได้อีกด้วย เป็นทั้งศูนย์วิจัยพัฒนาและเป็นพื้นที่ให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย