Sea (ประเทศไทย) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน อาทิ
การีนา (
Garena) ช้อปปี้ (Shopee) และแอร์เพย์ (AirPay) จัดงานเสวนาพิเศษ Sea Insight Future Focus” เพื่อเปิดมุมมองให้องค์กร สังคมโดยรวม และคนไทย ก้าวทันกับ ‘Digital Transformation’ หรือปรากฏการณ์ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

ผู้ดำเนินรายการ

  • ดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group
  • คุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ก่อตั้งบริษัท กาแฟดำ จำกัด 

Sea Insight Future Focus

 

ยุค Digital Transformation เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อตอบรับการเปลี่ยนแปลง เพราะปัจจุบันเมื่อเทียบกับ 5 ปีที่ผ่านมานั้น โลกหมุนไปเร็วมาก ซึ่งการเข้ามาสู่วงการด้านเทคโนโลยีครั้งแรกของ ดร. สันติธาร นั้นเกิดขึ้นจากความกลัว กลัวที่จะตกเทรนด์ และเกิดจากความคิดว่า จะเตรียมตัวให้กับลูกทั้ง 2 อย่างไรในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า เพราะโลกสมัยนี้หมุนไวมาก แล้วเราจะยังอยู่ในอาชีพเดิมของตัวเองหรือไม่ จึงค่อย ๆ หาความรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ รวมไปถึงการเขียนหนังสือ ที่เปรียบเสมือนกับการเขียนจดหมายให้ลูกอ่าน และคิดว่าอนาคตเป็นอย่างไร

การทำแล้วผิดไม่ได้น่าอาย ความกล้าต่างหากคือสิ่งที่เราต้องมุ่งไปเพื่อให้ไปสู่เป้าหมายในอนาคต

5 ปีจากนี้ไปของเมืองไทย

คิดว่ามีทั้งเรื่องดีและไม่ดี เพราะไทยมีความสามารถหลายอย่างที่สามารถนำมาใช้ได้ในยุค 4.0 อย่างเช่นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตเช่น E-Sports ซึ่งปัจจุบันมีขนาดใหญ่มาก มีผู้ชมกว่า 300 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งในเดือนที่ผ่านมาในงาน Garena world ก็มีคนร่วมกว่า 270,000 คนมาร่วมงานนี้ มั่นใจว่าไทยมีศักยภาพสูง มีหัวคิดด้าน Creativity ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งคนไทยสามารถสร้างสรรค์ตัวละครเพิ่มเติมในเกมเป็นต้น ซึ่งสิ่งนี้สามารถผลักดันประเทศไทยไปได้ไกลมาก แต่เรามีความเข้าใจพอหรือไม่ โดยเฉพาะเรื่องทักษะและความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัล โดยสิ่งเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่คนบางกลุ่มไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงเรื่องของการศึกษาว่า จะมีโอกาสไปต่อได้

ในอนาคตอาชีพที่เป็นผู้ให้ความรู้หรือคำว่าอาจารย์ จะเริ่มมีความเปลี่ยนไปในอนาคต ในอนาคตอาจจะกลายเป็นเหมือนกับโค้ชแทน ซึ่งโค้ชจะมีหน้าที่คือช่วยนำพาเด็กไปสู่ชัยชนะ ไปสู่เป้าหมาย แทนที่จะมองเห็นแค่เพียงคะแนน ซึ่งทำให้เหล่าคนรับความรู้ มีความรู้สึกว่าอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน สิ่งเหล่านี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลง

ในฐานะผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตแพลตฟอร์มชั้นนำ Sea มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคของเราให้มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยี ผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากบริษัทในเครือได้แก่ การีนา ช้อปปี้ และแอร์เพย์ เราต้องปรับตัวเพื่อขานรับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทำให้เราตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ปัจจุบันนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างได้ถูกผลัดเปลี่ยนเข้าสู่สังคมแบบดิจิทัล เรียกได้ว่าทุกๆ สิ่งถูก ‘Disrupt’ ด้วยกระบวนการทางดิจิทัลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคนในสังคมไม่มากก็น้อยทั้งในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจต่างๆ การเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองและการปรับตัวให้เข้ากับการผลัดเปลี่ยนเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบนี้ จะทำให้การใช้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นมาเติมเต็มชีวิตให้เกิดความสะดวกสบายได้มากยิ่งขึ้น  จึงเป็นที่มาของการจัดงานเสวนารอบพิเศษ ‘Sea Insight Future Focus’ ขึ้น โดยเป็นการนำเสนอมุมมองและสำรวจแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเข้ามาของเศรษฐกิจดิจิทัลและการรับมือกับ Disruptionและเทรนด์ใหม่ๆ พร้อมกันนี้ เรายังอยากให้ทุกท่านมาร่วมกันหาคำตอบว่าทำอย่างไรเราจึงจะปรับตัวให้มีความรู้ความสามารถเท่าทันการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อให้ก้าวข้ามขีดจำกัดและเปิดศักยภาพใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพดร. สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist แห่ง Sea (Group)

และอีก 1 หัวข้อ “Shaping the FutureDiscovering Essential Skills for Future Workforce” เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับทักษะใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ปรับตัวเข้าสู่การทำงาน การศึกษา และการใช้ชีวิตท่ามกลางสังคมที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ผู้ร่วมอภิปราย

  • ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ Director of Sea(Thailand)
  • คุณรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์ สหโอสถ จำกัด
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนานิสิตและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณชยุตม์ สกุลคู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แทคท์ โซเชียล คอนซัลติ้ง จำกัด 

Shaping The Future: Discovering Discovering Essential Skills for Future Workforce

ในยุคปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยหลายองค์กรเริ่มทำ Digital Transformation ซึ่งจะต้องมีการสร้างความเข้าใจให้กับคนในองค์กร เป็นสิ่งที่ไม่ง่าย บางครั้งการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว แม่นยำยิ่งขึ้น ถ้าเราไม่ได้มองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ซึ่ง Digital Transformation ที่แท้จริงจะต้องอยู่บนพื้นฐาน 2 ประการคือ

  1. ต้องช่วยให้การทำงานดีขึ้น
  2. ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราเข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้นจนลูกค้าสามารถมองเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ได้

ซึ่งศรีจันทร์ได้ Digital Transformation มา 5 ปีแล้ว ซึ่งในช่วงแรกมีแรงต้านเยอะมาก จึงได้แบ่งคนเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มคนที่ทำงานในแบบเดิมเพื่อผลักดันองค์กรต่อไปเรื่อย ๆ และอีกกลุ่มคือกลุ่มที่นำร่องไปทำสิ่งต่าง ๆ แล้วสร้างหลักฐาน สร้างสิ่งที่จับต้องได้ออกมาให้คนกลุ่มแรกได้เห็น ซึ่งคนเหล่านี้จะมี Incentive เพื่อให้คนเปลี่ยนแล้วรู้สึกว่ามันดีขึ้น

โลกปัจจุบันนั้น ทุกการตัดสินใจควรดูจาก Big Data เป็นสำคัญ แทนที่จะใช้เรื่องของ Gut Feeling ทำให้การตัดสินใจแม่นยำยิ่งขึ้น เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเพียงคนเดียว แต่ใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อหาทิศทางที่ดีที่สุด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งที่วัดค่าได้จริง

เรียกได้ว่าปัจจุบันเรากำลังอยู่ที่จุดศูนย์แห่งรุ่งอรุณ เพราะปี 2019 นี้ ถือเป็นปีแรกที่คนบนโลกที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมากกว่าคนที่ไม่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และมีมูลค่าการตลาด Digital Ads มากกว่า Traditional Ads เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา

ฝั่งมหาวิทยาลัยจุฬาฯ ก็เริ่มมีการทำ Digital Tranformation มาแล้วเรื่อย ๆ เช่นการทำ CU Transformation มี Digital ID ที่อยู่บนมือถือ หรือฟีเจอร์พิเศษมากมาย รวมไปถึงการชำระเงินผ่านมือถือ ลงทะเบียนออนไลน์ ติดตามข่าวสาร ก็เป็นรูปแบบออนไลน์ และกำลังเปลี่ยนจาก Lechurer ให้เป็น Mentor หรือโค้ช เพื่อผลักดันเด็ก ๆ ให้สามารถปรับตัวในยุคปัจจุบันได้

ในฝั่งการทำงาน ก็มีการปรับเปลี่ยนจากการทำงานเพียงอย่างเดียว กลายเป็นการทำงานเป็นโปรเจ็คก์ ซึ่งทำให้มองเห็นความสำเร็จสูง โดยทั้งองค์กรอายุค่อนข้างเด็กอยู่มาก ซึ่งทำให้ฝั่งทำงานเกิดการเรียนรู้และฝึกฝนได้ ยุคนี้เป็นยุคของ Gen Y ซึ่งปัจจุบันเป็นคนที่ค่อนข้างเบื่อง่าย แต่องค์กรสามารถมอบงานที่ตรงกับ Passion และสร้าง Impact ให้กับองค์กรของเขา จะทำให้เขาอยากทำงานให้ดียิ่งขึ้น

มองการทำงานในอนาคต

ในอนาคต 2022 สกิลหรือทักษะประมาณครึ่งหนึ่งจะไม่สามารถเอาไปใช้ทำอะไรได้เลย ซึ่งภายในปี 2022 นี้ ทุก ๆ คนจะต้องหาเวลาไปศึกษาเพิ่มเติม 100 วัน เพื่อพัฒนา หาความรู้ใหม่ เพราะความรู้จะเก่าเร็วมาก และในอนาคตปี 2025 คาดว่าจะมี Robot มากกว่า 50% ของการทำงานทั้งหมด งานหายไป 78 ล้านงาน แต่มีงานเพิ่มขึ้น 133 ล้านงาน โดยมี 2 Part คือเรื่องเทคโนโลยี และเรื่องของการโค้ชคน ซึ่งจะต้องมีความสามารถและทักษะในการสอน

Anyone Can Learn จุฬาได้ทำการเรียนการสอนแบบ Online ในชื่อ Massive Open Online Course (MOOC) ที่จะให้คนเข้ามาเรียนรู้ และตอบคำถามไปเรื่อย ๆ พร้อมกับสอบในตอนท้าย และ Mass to Individual หรือระบบวัดนักเรียนว่า ขาดอะไร และให้คำแนะนำว่าจะต้องเติมอะไรลงไปเช่น กิจกรรมนอกห้องเรียน วิชาต่าง ๆ และยังมีการให้คำปรึกษาว่า ถ้าต้องการเป็นอะไร ก็ให้คำแนะนำว่าควรไปไหน ซึ่งการเป็น Mentor นั้นไม่ง่าย เพราะคนที่เป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในด้านนั้น ๆ และมีการรับฟังที่ดีและตอบให้เป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวเป็นอย่างมาก

“เราคงบอกอย่างชัดเจนไม่ได้ว่าในอีก 10 – 20 ปีข้างหน้า รูปแบบการศึกษาซึ่งเป็นพื้นฐานหนึ่งของการใช้ชีวิต รวมไปถึงสังคมจะมีการเปลียนแปลงไปมากมายอย่างไร แต่สิ่งที่แน่นอนมากที่สุดที่ควรจะเกิดขึ้นคือการเตรียมความพร้อมรับมือต่อสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น เรื่องของเทคโนโลยีส่งผลดีอย่างเป็นรูปธรรมมากมายแม้ว่าในบางครั้งเราจะพบกับอุปสรรคในการปรับตัว ดังนั้นองค์กรและสถาบันการศึกษาต่างๆ ต้องหันมาให้ความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนตลาดแรงงาน ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการอบรมทักษะ ที่จำเป็นให้แก่บุคลากรไทย ทั้ง ‘Learning Skills’ เช่น การคิดวิเคราะห์และความสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ที่เข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ‘Literacy Skills’ เช่น การทำความเข้าใจข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีที่ใช้บริหารจัดการข้อมูล และ ‘Life Skills’ เช่น การต่อยอดสิ่งเดิมๆ ให้สอดรับกับสถานการณ์ใหม่ๆ ความเป็นผู้นำ และ Passion ในการริเริ่ม ทุ่มเท ทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการปรับตัวไปตามสภาวะเศรษฐกิจ ตลาดแรงงาน วิถีการทำงาน และสังคมโลกที่เปลี่ยนผันไปอย่างรวดเร็วบนโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและข้อมูล”ดร.ศรุต วานิชพันธุ์ Director of Sea (Thailand)