ตั้งแต่ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน Microsoft Thailand ได้เน้นเรื่องของการผลักดัน AI ให้เข้าถึงคนทุกคน ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นบริษัทต่าง ๆ สตาร์ตอัป หรือแม้กระทั่ง นักเรียน เพื่อเพิ่มโอกาสและไม่ต้องใช้ช่องทางการลงทุน หรือเวลาจำนวนมหาศาลเหมือนเมื่อในอดีต นอกจากนั้น ยังได้ร่วมมือกับภาครัฐ เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ DE เพื่อพัฒนาหลักจริยธรรม AI อีกด้วย

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย

22 ตุลาคม 2562 – นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวถึงสาระสำคัญว่าด้วยภารกิจต่าง ๆ ของ Microsoft ในการผลักดัน AI หรือปัญญาประดิษฐ์ให้เข้าถึงทุก ๆ หน่วยงาน ได้แก่ การนำ AI มาใช้ในแก่นของธุรกิจ (AI in the core business), การเพิ่มความปลอดภัยด้านไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (Cyber Security and Data Privacy) รวมถึงจริยธรรมทาง AI (AI Ethics) และ ทักษะด้านดิจิทัลสำหรับอนาคต (Digital skills for a digital future)

AI in the core business

การนำ AI มาใช้ในแก่นของธุรกิจต่าง ๆ เช่น การนำ AI มาคาดการณ์พฤติกรรมของลูกค้า หรือป้องกันการสูญเสียลูกค้า รวมถึงการดูและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ขององค์กร เช่น ค่าไฟ ค่าแอร์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในทุก ๆ อุตสาหกรรม รวมถึงการสร้างบริการใหม่ ๆ สร้างโมเดลธุรกิจ โดยข้อมูลที่เก็บสะสมไว้ ทางองค์กรสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อทำ cross sale หรือ up scale ได้ สร้างรายได้ สร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ลูกค้าได้ ปัจจุบันหนึ่งในพันธมิตรของ Micorsoft ก็คือ STARBUCKS ซึ่งทางร้านได้นำระบบ AI ไปใส่ไว้ในเครื่องเพื่อทำการส่งสูตรใหม่ไปตามสาขาต่าง ๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปแต่ละสาขาเพื่อแจ้งพนักงานเปลี่ยนสูตรกาแฟ ส่วนลูกค้าก็สามารถสแกนดูเมล็ดกาแฟได้เลยเช่นกันว่าเมล็ดกาแฟนั้นมาจากไหน ซึ่งถือเป็น IoT อย่างหนึ่ง

Cyber Security and Data Privacy

เรื่องของความปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ หากพิจารณาจากงบประมาณที่ต้องสูญเสียไปกับอาชญกรรมไซเบอร์ในแต่ละปีทั่วโลกก่อนถึงปี 2020 จะเป็นตัวเลขสูงถึง 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น ในปี 2020 ที่จะมีเทคโนโลยีต่าง ๆ มากมายเกิดขึ้น หรือจะเรียกว่าเป็นยุค IoT เราไม่ควรละเลยเรื่องของการป้องกันหรือมองข้ามความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ เหมือนที่ซีอีโอของไมโครซอฟท์เคยกล่าวไว้ว่า “เรื่องของความปลอดภัยไซเบอร์ก็เหมือนไปยิมออกกำลังกาย เราจะแข็งแรงขึ้นไม่ได้ถ้ามัวแต่มองคนอื่นเขาเล่น คุณต้องไปที่นั่นทุกวันต่างหาก”

“Cybersecurity is like going to gym.

You can’t get better by watching others.

You’ve got to got to get there every day.”

-Stay Nadella CEO ของ Microsoft –

Microsoft Chief Executive Officer (CEO) Satya Nadella addresses the media during an event in New Delhi September 30, 2014. REUTERS/Adnan Abidi (INDIA – Tags: BUSINESS SCIENCE TECHNOLOGY)

เมื่อพูดถึงเรื่องของความเป็นส่วนตัวของข้อมูล นอกจากเรื่องความปลอดภัยและการป้องกันที่องค์กรต้องให้ความสำคัญแล้ว แต่ละองค์กรก็จำเป็นที่จะต้องรู้ว่าข้อมูลอยู่ที่ไหน มาจากไหน จะจัดการกับข้อมูลนั้นอย่างไร ใครที่ควรใช้ใครไม่ควรใช้ข้อมูลชุดต่าง ๆ เรื่องสุดท้ายที่ละไม่ได้ในประเด็นนี้คือเรื่องของหลักจริยธรรมของ AI แม้ว่า AI จะเป็นปัญญาประดิษฐ์ มีความฉลาดขึ้นเรื่อย ๆ จากการป้อนข้อมูลของเรา แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงก็คือการสร้างความยุติธรรมในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ AI วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องเม่นยำไม่เอนเอียง (Fairness)

Digital skills for a digital future

การส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับคนรุ่นใหม่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่ขณะเดียวกันการส่งเสริมทักษะด้านดิจิตอลในเจ้าของธุรกิจก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยปัจจุบันมีแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้องค์กรยุคใหม่ เช่น Microsoft Power Platform เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยส่งเสริม Digital Skill ให้เจ้าของธุรกิจแบบไม่ต้องพึ่งคนไอที เหมาะกับธุรกิจในทุก ๆ ขนาด

Microsoft Power Platform 

Power Platform เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์องค์กรของตนได้ เป็นระบบอัตโนมัติ ช่วยให้งานราบรื่นขึ้น ช่วยวิเคราะหฺข้อมูลเพื่อค้นหาข้อสรุป โดยไม่ต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคขั้นสูง หรือ Low code, No code ซึ่งในประกอบไปด้วย

  • Power BI ออกแบบมาสำหรับเจ้าของธุรกิจ ใช้หลักง่าย ๆ เพียงแค่ drag and drop เปิดให้ผู้บริหารและพนักงานเข้าถึงข้อมูลและวิเคราะห์ เพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน
  • Power Apps สร้างแอปใหม่ได้ภายในเวลาสั้น ๆ มี template มาให้เลย เช่น การสร้างแอป Site Inspectoin, Budget Track, งาน HR, To-Do list เป็นต้น โดยสามารถเลือกได้ว่าจะสร้างแอปสำหรับใช้กับสมาร์ตโฟน หรือ แท็บเล็ต ใช้ได้กับทั้ง  iOS และ Android ช่วยให้ดึงข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างเต็มที่
  • Microsoft Flow ใช้เพื่อเชื่อมโยงแอป และข้อมูล บริการต่าง ๆ เข้าหากัน โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย

Tech Intensity

ปีที่แล้ว Microsoft เสนอแนวคิด Tech Intensity หรือความแข็งแกร่งในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานภาคธุรกิจ ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ๆ 2 องค์ประกอบ คือ

  • Tech Adoption การนำเทคโนโลยีมาใช้
  • Tech Capability การสร้างเทคโนโลยีของตัวเอง ต่อยอดจากที่มีใช้งานอยู่

โดยปีนี้ Microsoft ได้เพิ่มเรื่องของ ความไว้วางใจในเทคโนโลยี (Trust) มาเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญ ซึ่งปีนี้และปีหน้าจะมุ่งผลักดันในเกิด Tech Capability ในทุกระดับ ตั้งแต่การพัฒนาทักษะเชิงดิจิทัลสำหรับเยาวชน คนทำงาน, การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตอบโจทย์การใช้งานเฉพาะทาง รวมถึงยกระดับพนักงานและผู้บริหารให้สามารถลงมือสร้างแอปปลิเคชันและเครื่องมือต่าง ๆ ด้วยตัวเอง

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส