พบกับงานแสดงนวัตกรรมใหม่ล่าสุด ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท โซเชียลแล็บ จำกัด ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย พร้อมผนึกกำลังภาครัฐฯ และเอกชนชั้นนำ พาคนไทยเปิดประตูสู่อนาคตไปกับงาน “OIIO” (ศูนย์หนึ่งหนึ่งศูนย์) Thailand TECHLAND 2019 ภายใต้แนวคิด The Future is Now ที่นำเทคโนโลยี นวัตกรรม, แกดเจ็ต และซอฟต์แวร์ล่าสุดมาจัดแสดงภายในงานในรูปแบบ Industry 4.0 พร้อมจัด 6 โซนนิทรรศการไฮไลต์ Conference Hall 500 ที่นั่ง ชวนคนไทยร่วมสร้างสังคมแห่งความเจริญด้านนวัตกรรม เพื่อให้สามารถเข้าแข่งขันทัดเทียมกับเทคโนโลยีของโลกปัจจุบันได้ โดยมีเหล่า Guru แนวหน้าพร้อมแนะนำสร้างสรรค์ ภายใต้พื้นที่ 4,400 ตารางเมตร ได้ถูกแบ่งออกเป็น 6 โซนหลัก ๆ คือ

  1. Lifestyle
  2. Food & Wellness Tech
  3. Educational Tech
  4. Thai Tech Trend
  5. 5G
  6. Smart City

ภาพบรรยากาศภายในงาน

โดยในงานนี้มีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงมากมาย ซึ่งมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ตั้งแต่จุดถ่ายภาพแบบ 360 ที่คุณสามารถเข้าไปแสดงแอ็คชันท่าทางได้ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

หรือจะเป็นบูธหุ่นยุนต์ทำอาหารสุดล้ำที่สามารถทำอาหารให้ชม หรือแม้แต่การทำชานมไข่มุกก็มีหุ่นยนต์มาทำในงานนี้เช่นกัน ซึ่งทำให้เห็นถึงพัฒนาการของหุ่นยนต์ที่จะเข้ามาแทนที่งานของมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต

และในงานนี้ยังมี Smell Cinema ที่จำลองเป็นโรงภาพยนตร์ที่สามารถรับชมภาพยนตร์ไปพร้อมกับกลิ่น สร้างความน่าดึงดูดให้กับการรับชมภาพยนตร์ไปได้อีกขั้น

คุณ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES)

คุณ พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) เป็นประธานเปิดงาน OIIO ในครั้งนี้ โดยขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ พลังซอฟต์แวร์ไทย สู่อนาคตยุคดิจิทัลไทยแลนด์ (Future Empowerment: Thai Software for Digital Thailand) โดยพูดถึงภาพรวมของประเทศไทยว่า ปัจจุบันประเทศไทยนั้นไม่ได้เป็นประเทศที่นักลงทุนมองเห็นเป็นอันดับ 1 อย่างแน่นอนเหมือน 20 ปีที่แล้วอีกต่อไป เพราะประเทศเพื่อนบ้านเราเริ่มพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเทียบเคียงกับประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องของ Infrastructure 5G ที่เริ่มมีการเปิดใช้งานแล้วในหลายประเทศเพื่อนบ้าน เพราะ 5G ไม่ใช่อินเทอร์เน็ตที่เอามาใช้ในด้านการสื่อสารเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องมีการเร่งประมูลคลื่นความถี่ 5G เพื่อสร้างรากฐานพร้อมรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะเข้ามาลงทุนในอนาคต

ซี ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซเชียลแล็บ จำกัด ผู้ร่วมจัดงาน “OIIO” Thailand TECHLAND 2019

ตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมาในวางการข่าวสารด้านไอที ทีมโซเชียลแล็บ ได้เล็งเห็นความแตกต่างของกลุ่มคน 3 กลุ่่มในบริบทที่ต่างกันตั้งแต่

  • ระดับ นโยบาย เป็นผู้กำหนดกลยุทธ์ที่สำคัญของชาติ
  • ภาคเอกชน ที่ต้องขานรับการปรับตัวและปฏบัติตามออกมาอย่างแตกต่างและน่าสนใจ
  • ภาคประชาชน ก็นำมาใช้จริงในหลากหลายมิติ

ซึ่งโซเชียลแล็บได้เก็บข้อมูลความสำเร็จของบริษัทด้านเทคโนโลยีระดับโลกมาสร้างแรงบรรดาลใจให้กับคนไทย จนเกิดมาเป็นงาน OIIO ซึ่งจากที่ต่างชาติได้มองเราว่า เรานับเพียงแค่ 1 แต่การมาของงาน OIIO จะกลายเป็นเหมือนการผลักดันกลุ่มคนทางสังคมไทยตั้งแต่เลข 1 ไปสู่เลข 10 ได้ในอนาคต

โดยงานนี้ได้หยิบยกเอาเทคโนโลยีมาแสดงให้คนไทยเห็นก่อนมากมายเช่น การรับชมภาพยนตร์รูปแบบใหม่ หุ่นยนต์ชงชานมได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นการมองเห็นว่าโลกของเรากำลังถูก Disrupt งานไปเรื่อย ๆ ถ้าเราไม่ตามโลกให้ทันก็อาจจะทำให้เราตกงานได้ และมองเห็นภาพเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราได้เป็นอย่างดีซี ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โซเชียลแล็บ จำกัด ผู้ร่วมจัดงาน 'OIIO' Thailand TECHLAND 2019

คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

จุดประสงค์ของการจัดงานนี้คือ ตั้งใจเปลี่ยนสังคมไทย ให้เรื่องของดิจิทัลเข้าไปสู่ในชีวิตมากขึ้น เปลี่ยนรูปแบบงานจาก B2B เป็น B2B2C เพราะเชื่อว่าในอนาคต Digital จะไม่อยู่ในวงการไอทีเพียงอย่างเดียว แต่จะอยู่ในทุก ๆ ที่ โดยนำเอาเรื่องไอที เรื่องดิจิทัลมาปรับใช้ และคาดว่าในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้น มากขึ้นเรื่อย ๆ อยากให้กลับไปแล้วไม่ใช่แค่เห็น แต่อยากปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเข้ามาในอนาคต และจุดประกายไอเดียใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คุณทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

คุณ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ปัจจุบันประเทศไทยมีศักยภาพอยู่ที่อันดับ 40 ของโลก ซึ่งเพื่อนบ้านเราอย่างประเทศสิงคโปร์ อยู่ในอันดับ 2 ของโลกแล้ว ซึ่งประเทศไทยมีค่าศักยภาพด้านต่าง ๆ โดยจุดอ่อนของเราคือด้านของ digital and technological skill รวมไปถึงเรื่องการใช้งานอุปกรณ์เพื่อการศึกษา มากน้อยขนาดไหน และด้านการปรับตัวของบริษัทในประเทศไทย รวมไปถึงเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ประเทศไทยยังค่อนข้างมาก

โดยกฎของ Moore’s ได้กล่าวว่า ในอนาคตเชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์จะสามารถพัฒนาได้เหนือมนุษย์ จากการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องได้ตลอดเวลา ไม่มีเหนื่อย ไม่มีหยุด และไม่มีอคติ ถ้าใครจำได้ เราได้เห็น AI สามารถชนะผู้เล่นโกะระดับโลกได้แล้ว และ AI นี้แหละจะสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไร้ที่สิ้นสุด ทำให้การนำ AI มาพัฒนาศักยภาพในการทำงาน ก็จะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้นได้

ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยจะต้องดำเนินการโดยปรับเปลี่ยน 5 แผนยุทธศาสตร์ดังนี้

  1. สร้างมาตรฐานใหม่เพื่อการก้าวไปข้างหน้าสู่ยุคดิจิทัล
  2. หลายบริษัทควรร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลงานเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด
  3. สร้างกลุ่มคนที่มีศักยภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ Coding ไปจนถึงในด้านบริหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องขับเคลื่อนและวางเป้าหมายให้ชัดเจน
  4. ทำ Digital Economy Transformation โดยสภาดิจิทัลพร้อมช่วยขับเคลื่อนและผลักดัน
  5. สร้างประเทศไทยให้มีสเกลหรือมีศักยภาพในด้าน Digital Technology เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อเศรฐกิจโลก

และนอกจากนี้ประเทศไทยจะต้องมีการ Transformation 3 สิ่งหลัก ๆ ดังนี้

  1. ด้าน Economic Zoning ซึ่งเป็นจุดอ่อนของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านรายได้ต่อหัวที่ยังคงค้างอยู่ในระดับเดิม ซึ่งเกิดจากกลุ่มพี่น้องชาวเกษตรกรที่ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ
  2. ด้าน Education/ Innovation HUB ซึ่งปัจจุบันเด็กจบใหม่หางานยากมาก เพราะการเรียนจบออกมานั้นไม่ได้ตอบโจทย์กับงานที่รออยู่ จึงต้องมีการใช้เทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์และสร้างสกิลที่เหมาะสม
  3. ด้าน Agriculture Transformation คือตัวแปรสำคัญเพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ถ้าเรานำเอาเทคโนโลยีมาพัฒนาปรับใช้ ก็จะช่วยยกระดับของผลผลิต รวมไปถึงคุณภาพของผลผลิตขึ้นมาได้ และนำไปสู่การเพิ่มรายได้ให้กับพวกเขาอย่างมหาศาล
คุณ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
และยังมี Session ต่าง ๆ ที่น่าสนใจให้รับชมตลอดทั้งงานอีกด้วย สำหรับใครที่สนใจอยากเดินทางมาร่วมงาน OIIO Thailand TECHLAND 2019 โดยงานนี้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 – 6 พฤศจิกายนนี้ที่ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน สามารถเข้าร่วมงานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส