“คนไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก” ยิ่งในสถานการณ์แบบนี้ ในวิกฤตการณ์ไวรัส COVID-19 ก็ยิ่งทำให้เห็นน้ำใจของคนหลาย ๆ คน ไหลออกมากันอย่างล้นหลามจากทุก ๆ ฝ่าย ซึ่งมีไวรัลที่น่าสนใจเกียวกับการต่อสู้กับวิกฤติไวรัส COVID-19 ของคนไทย ที่นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเกิดประโยชน์ และเจ๋งสุด ๆ ไปเลย อย่าง CoXsys Robotics (โคเอ็กซ์ซิส โรโบติกส์) บริษัทสตาร์ทอัป R&D รายหนึ่งของประเทศไทย ที่พัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติเพื่อนำมาช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ให้ช่วยลดความเสี่ยงในการทำงานลงไปได้อย่างมาก

น้อง “Coconut” คือหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (Autonomous Mobile Robot) ปฏิบัติงานสู้ COVID-19 ในสถานพยาบาล โดยน้องหุ่น Coconut จะเป็นโมเดลพื้นฐานของหุ่นยนต์อีกสองตัวที่กำลังพัฒนากันอยู่ จะทำหน้าที่แตกต่างกัน โดยตัวแรกจะทำหน้าที่ขนส่งอาหารให้กับผู้ป่วยติดเชื้อแทนมนุษย์จริง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงการในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ และตัวที่สองจะเป็นหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยรังสี UV

 

โดยน้อง Coconut สามารถทำงานได้ทั้งแบบอัตโนมัติ และแบบควบคุมผ่านแอปพลิเคชันได้ เพียงแค่เลือกพื้นที่ในสถานที่นั้น ๆ ให้เข้าไปทำงาน โดนที่ไม่ต้องบังคับ ซ้าย-ขวา (กึ่งอัตโนมัติ) สามารถควบคุมระยะไกลได้

“เราพัฒนาหุ่นยนต์เป็น Core Tech มาได้ ปีกว่า ๆ แล้วครับ พอถึงวิกฤตนี้ เราเห็นว่ามันเป็นโอกาสที่เราจะสามารถช่วยผู้คนด้วยเทคโนโลยีได้ ทีมเราเลยตัดสินใจจะขอสู้กับโควิด ด้วยการไปทดสอบระบบเราในสถานที่จริงอย่างโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ เราก็เลยเร่งทำงานอย่างสุดความสามารถเพื่อที่ทำระบบให้ได้น่าเชื่อถือที่สุด ให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด”คุณ พาย ธนัชชา หัวหน้าทีม Coxsys Robotics

ซึ่งน้อง Coconut ได้รับความสนใจให้เข้าไปทดสอบระบบแล้วในโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลพญาไท 2 ซึ่งผลการทดสอบเป็นไปตามแผนที่วางไว้ และยังได้รับความร่วมมือจากทีมแพทย์ และอาจารย์จากศูนย์วิจัยของโรงพยาบาลรามาธิบดีเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ COVID-19 ด้วยรังสี UVC อีกด้วย โดยคาดว่าการพัฒนาหุ่นน้อง Coconut จะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้

ซึ่งจากการสัมภาษณ์ทีม CoXsys Robotics ยังมีอีกหลายฟีเจอร์ที่อยากจะเพิ่มเข้าไปให้น้องหุ่น Coconut ในอนาคต เช่น ความสามารถในการติดต่อผ่าน Video Call ระหว่างผู้ป่วยติดเชื้อ และคุณหมอ เพื่อลดการติดต่อกันในระยะใกล้ ซึ่งยังต้องศึกษา และพัฒนาอีกสักพัก โดยในปัจจุบันจะมุ่งหน้าพัฒนาความสามารถหลักของตัวหุ่นยนต์ก่อน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ออกมาดีที่สุด

นอกจากนี้ คุณ ธนัชชา ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับการตระหนักถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้งานในสถานการณ์แบบนี้ ว่าจะกลายเป็นกรณีศึกษาถึงความจำเป็นในการนำหุ่นยนต์มาใช้งานในอนาคตหากเกิดสถานการณ์แบบนี้อีก และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทยด้านการวิจัย และพัฒนา

โดยผู้ใดหรือหน่วยงานใดที่สนใจ อยากสนับสนุนผลงานนี้เพื่อเป็นกำลังใจให้ทีมงาน สามารถบริจาคหน้ากาก และชุดปลอดเชื้อ PPE สำหรับภาคสนามได้นะครับ (ข้อมูลติดต่ออยู่ด้านล่าง)

E-mail: [email protected]
โทร: 0632594649
Line: @coxsys (มี @ ด้านหน้าด้วยนะครับ)
Website: www.coxsys.com

 

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส