นักวิทยาศาสตร์และหุ่นยนต์ศาสตร์ได้ร่วมกันพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ สำหรับเครื่องจักรกลโดยอ้างอิงจากการทำงานของธรรมชาติมากขึ้น โดยล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศแคนาดา ได้นำแรงบันดาลใจการที่ค้างคาวสามารถระบุตำแหน่งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน หรือที่เรียกว่า Echolocation มาใช้ในการออกแบบหุ่นยนต์โดรนขนาดเล็กที่นำระบบเสียงสะท้อนนี้มาใช้ในการนำทางด้วยตนเองอัตโนมัติได้อย่างน่าชื่นชม

ข้อดีของการพัฒนาโดรนในรูปแบบนี้คือ ไม่จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดแวร์หรือชิ้นส่วนราคาแพง หรือมีขนาดใหญ่และหนักจนเกินไป โดยทีมนักวิจัยได้ใช้ดำเนินการติดตั้งฮาร์ดแวร์เสียง แล้วขยายการทำงานด้วยการติดตั้งไมค์และลำโพงราคาถูกไว้บนหุ่นยนต์โดรนจิ๋วขนาดเท่าฝ่ามือเท่านั้น

ระบบจะนำทางหุ่นยนต์โดรนนี้ด้วยเสียงสะท้อน หรือ Echolocation ที่ได้รับการออกแบบให้แพร่กระจายผ่านคลื่นความถี่ต่าง ๆ ได้ด้วยไมโครโฟน แล้วคอยรับเสียงสะท้อนที่ตกกระทบกับมายังหุ่นยนต์ และใช้อัลกอริทึมที่ทีมนักวิจัยสร้างขึ้นในการวิเคราะห์และสร้างแผนที่ของห้องทดสอบได้อย่างยอดเยี่ยม

drone

ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่า ระบบที่ได้รับการคิดค้นขึ้นนี้สามารถติดตั้งในหุ่นยนต์โดรนขนาดเล็กโดยใช้ต้นทุนต่ำ และสามารถนำมาใช้ในภารกิจค้นและกู้ภัยในพื้นที่ห่างไกลหรือที่หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ อีกทั้งยังสามารถนำมาปรับใช้ในงานอื่น ๆ ได้อีกหลายรูปแบบ

ในตอนนี้ ระบบที่พวกเขาคิดค้นขึ้นมายังมีความแม่นยำน้อยกว่าฮาร์ดแวร์ราคาแพงอย่างเซนเซอร์ GPS หรือกล้อง เป็นต้น แต่พวกเขาคาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาเวอร์ชันใหม่ที่มีความแม่นยำมากขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้นี้

อ้างอิง

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส