Mike Hoefflinger อดีตหัวหน้าฝ่าย Global Business Marketing ของ Facebook ได้กล่าวในหนังสือของตนที่มีชื่อว่า Becoming Facebook เกี่ยวกับการที่ Facebook สามารถรอดพ้นจากเหตุวิกฤติเมื่อปี 2012 จนกลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ได้อย่างน่าสนใจ

Mike Hoefflinger อดีตหัวหน้าฝ่าย Global Business Marketing ของ Facebook ปี 2009 – 2015

เมื่อปี 1999 หัวหน้าฝ่ายบุคลากรของ Facebook ชื่อว่า Lori Goler ได้ใช้แนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลจากหนังสือ First, Break All the Rules ที่สำรวจและศึกษาผู้จัดการ 80,000 คน จาก 400 บริษัท จนสรุปได้  4 ข้อสำคัญ ดังนี้

  1. เลือกบุคคลากรที่มีความสามารถพิเศษ ไม่ใช่มีแค่ประสบการณ์หรือความมุ่งมั่นเท่านั้น
  2. กำหนดความสำคัญที่ผลลัพธ์ ไม่ใช่วิธีการ
  3. กระตุ้นพนักงาน โดยเน้นไปที่จุดแข็ง ไม่ใช่พยายามแก้ไขจุดอ่อน ***
  4. จัดหาตำแหน่งที่เหมาะสม ไม่ใช่เปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ***

Goler ได้มองว่า ข้อที่ 3 และ 4 นั้นสำคัญมาก เพราะบริษัทที่มีแนวคิดในการโฟกัสที่จุดแข็งของพนักงาน และมองข้ามจุดอ่อนไปได้นั้น จะเป็นแรงผลักดันให้พนักงานรู้สึกผูกพันกับตำแหน่งหน้าที่และบริษัท ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานและทำให้พนักงานอยากทำงานในบริษัทต่อไป

เมื่อนำแนวคิดดังกล่าวมาศึกษาและเปรียบเทียบเป็นค่าต่างๆ ทำให้ทราบว่า เมื่อกลุ่มคนหรืองค์กรสามารถสร้างเงื่อนไขในการทำงานร่วมกันได้ ก็จะเกิดกระแสการทำงานหมุนเวียนไปทั้งระบบ ซึ่งเรียกว่า “กระแสสังคม” และทาง Facebook ก็มีจุดมุ่งหมายในการสร้างโลกที่เปิดกว้างมากขึ้นและเชื่อมโยงถึงทุกระดับชั้นของบริษัท

และสำหรับพนักงานในยุคสมัยนี้ อาจกล่าวได้ว่า

การได้รับความสนใจในตำแหน่งหน้าที่และประสบความสำเร็จในการทำงานนั้น คือสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่ดี

แนวคิดนี้ ตอบโจทย์ Facebook หรือไม่ ?

Mark Zuckerberg ซีอีโอของ Facebook กับพนักงานที่สำนักงานของ Facebook ที่ Menlo Park

บริษัท Payscale ได้วิเคราะห์พนักงานในบริษัทเทคโนโลยีจำนวน 33,500 แห่งเมื่อปี 2015 และนำเสนอผลวิเคราะห์ในปี 2016 ว่า พนักงานของ Facebook มีระดับความพึงพอใจในการทำงานมากที่สุด (96%) และมีความเครียดน้อยที่สุด (44%) ในจำนวน 18 บริษัทเทคโนโลยีอันดับต้นๆ ที่ถูกนำมาศึกษา

อีกบริษัทที่มีผลวิเคราะห์ใกล้เคียงกันคือ Google ที่มีค่าความพึงพอใจของพนักงานน้อยกว่า 90% เล็กน้อย และ Apple ก็มีค่าพึงพอใจมากกว่า 70%

นอกจากนี้ เว็บไซต์ Glassdoor ยังได้ทำการสำรวจและพบว่า Facebook เป็น “บริษัทที่น่าทำงานมากที่สุด” เป็นอันดับที่ 2 โดยมีคะแนนอยู่ที่ 4.5 จาก 5 ดาว โดย 92% พนักงานทั้งหมด ได้แนะนำบริษัทให้กับเพื่อน, 92% พนักงานทั้งหมด มีแนวคิดด้านบวกต่ออนาคตของบริษัท และอีก 98% ของพนักงานทั้งหมด ยอมรับว่าความเป็นผู้นำของ Mark Zuckerberg ในฐานะซีอีโอของบริษัท

สำหรับ Google อยู่ในอันดับที่ 4 และ Apple อยู่อันดับที่ 36

และจากการวิเคราะห์ของเว็บไซต์สมัครงาน Top Prospect เมื่อปี 2011 พบว่า Facebook ได้ดึงพนักงานมาจาก Apple มากกว่าที่ Apple จะดึงมาจาก Facebook ถึง 11 ครั้ง โดยมีความได้เปรียบมากกว่า Google ถึง 15:1 และมากกว่า Microsoft ถึง 30:1

แม้แต่ Quartz ก็ยังแสดงข้อมูลที่สำรวจมากจาก LinkedIn ว่า Microsoft, Google และ Apple ต่างก็ติด 5 อันดับแรกของบริษัทที่มีอดีตพนักงานได้ไปทำงานกับ Facebook  และในขณะเดียวกัน Facebook ก็ไม่เคยติด 5 อันดับแรกของบริษัทที่อดีตพนักงานไปทำงานกับ Microsoft, Google และ Apple เลย

แนวคิดการจัดการทรัพยกรบุคคลของ Goler นั้น ถูกสะท้อนออกมาในการแบ่งงานบริหารของ Mark Zuckerberg ซีอีโอของบริษัทที่จะเน้นด้านยุทธศาสตร์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่วน Sheryl Sandberg ซีโอโอของบริษัท ก็จะเน้นด้านการโฆษณา ความสัมพันธ์กับบริษัทพันธมิตร, การติดต่อสื่อสาร และนโยบายบริษัท

นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่แสดงให้เห็นว่า Facebook สามารถเติบโตได้โดยเน้นการทำงานตามความถนัดของแต่ละบุคคล

ข้อมูลอ้างอิง :businessinsider