15 พฤศจิกายนที่ผ่านได้มีการประท้วงอย่างหนักในอิหร่านหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมัน 50% ซึ่งทำให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติสูงสุดของอิหร่านต้องตัดสินใจปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อระงับการขยายความไม่สงบโดยตัดการสื่อสารของผู้ประท้วงและยังตัดขาดการสื่อสารกับโลกภายนอก นอกจากมีการตั้งข้อสังเกตว่าต้องการให้ผู้ประท้วงไม่สามารถเผยแพร่ภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่จะเข้ามาปราบปรามไปยังสื่อต่างประเทศเพื่อฟ้องชาวโลกได้ด้วยหรือไม่

สัปดาห์ต่อมากองกำลังความมั่นคงของอิหร่านได้ทำการปราบปรามผู้ประท้วงจนมีผู้เสียชีวิตประมาณ 140 – 208 คน หลังจากนั้นอินเทอร์เน็ตในอิหร่านค่อย ๆ กลับมาใช้งานได้ และประธานธิบดี Hassan Rouhani ได้ออกมาแถลงการณ์ว่าการปิดอินเทอร์เน็ตอาจนำไปสู่การตรวจสอบมากขึ้นในปี 2020 และปีต่อ ๆ ไป

8 ธันวาคม ประธานธิบดี Hassan Rouhani กล่าวต่อรัฐสภาอิหร่านเกี่ยวกับ National Information Network (NIN) หรือเครือข่ายอินทราเน็ตว่า “เพื่อประชาชนจะได้ไม่ต้องการเครือข่ายต่างประเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของพวกเขา” ซึ่งเครือข่ายอินทราเน็ตยังได้รับคำสั่งสนับสนุนจากผู้นำสูงสุด Ali Ali Kamenei อีกด้วย สรุปง่าย ๆ ว่าต้องการให้ใช้อินเทอร์เน็ตเท่าที่จำเป็นและควบคุมได้

อินทราเน็ตจะช่วยให้รัฐบาลควบคุมไม่ให้ประชาชนสามารถเข้าอินเทอร์เน็ตไปสู่โลกภายนอกโดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลสามารถเลือกได้ว่าจะให้ประชาชนเข้าเว็บไซต์ บริการ และเนื้อหาอะไรได้บ้าง แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการสร้างเครื่องมือและค่าใช้จ่ายของระบบทั้งหมด

มาตรการปิดกั้นการใช้งานอินเทอร์ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นเพราะก่อนหน้านี้รัสเซียก็มีนโยบายที่ออกมาคล้ายกันและหลายปีก่อนจีนก็ได้มี Great Firewall หรือไฟร์วอลล์ขนาดใหญ่ที่ป้องกันการเข้าสู่บริการและแพลตฟอร์มที่ไม่พึงประสงค์

ขณะนี้ WiFi ในอิหร่านสามารถกลับมาใช้งานได้ทั่วประเทศ แต่อินเทอร์เน็ตบนมือถือยังถูกปิดให้บริการอยู่ในหลายจังหวัด (ข้อมูลจากทวีตของ Vinicius Fortuna ผู้นำทีม @Jigsaw ของ Google ในการต่อสู้กับการปิดกั้นใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบกดขี่) นอกจากอิหร่านแล้วการปิดอินเทอร์เน็ตเพื่อควบคุมการประท้วงนั้นได้เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เช่น แคชเมียร์และอิรัก

ที่มา : cnet

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส