ปลายปีนี้ตามแผน Crew Dragon ของ SpaceX จะมีภารกิจส่งนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติเป็นครั้งแรก ซึ่งจะมีนักบินอวกาศร่วมทริป 4 คนด้วยกัน ซึ่งจะนำความภาคภูมิใจกลับมาสู่ NASA อีกครั้งว่าสหรัฐฯ สามารถกลับมาส่งมนุษย์ไปสู่อวกาศด้วยจรวดและยานอวกาศของตัวเอง

2 เมษายน Jim Bridenstine ผู้บริหารของ NASA ได้ทวีตว่าโลโก้ NASA แบบตัวหนอนจะกลับมาอีกครั้ง เมื่อจรวด Falcon 9 ของ SpaceX จะทำการส่งมนุษย์อวกาศไปกับยาน CrewDragon ซึ่งโลโก้นี้จะแสดงถึงการกลับมาของเที่ยวบินส่งมนุษย์สู่อวกาศบนจรวดของอเมริกาจากแผ่นดินของอเมริกา

https://twitter.com/JimBridenstine/status/1245744389692981259

NASA ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1958 และในปีที่สอง คือ 1959 ได้มีการออกแบบโลโก้ประจำ NASA  ที่มีชื่อเล่นว่า “meatball” (ลูกชิ้น) ซึ่งออกแบบโดยพนักงานที่ชื่อ James Modarelli และถูกใช้งานเป็นเวลา 16 ปี แต่ในปี 1975 ได้เปลี่ยนมาใช้รูปแบบที่เรียบง่ายด้วยคำว่า NASA ที่มีชื่อเล่นว่า “worm” (ตัวหนอน) ถูกออกแบบโดยบริษัท Danne & Blackburn เนื่องจากโลโก้แบบเดิมทำซ้ำหรือพิมพ์ได้ยาก นอกจากนี้ความหมายจะอิงไปทางการเมืองซึ่งไม่เหมาะกับการบินอวกาศในยุค 70s ที่มีการร่วมมือกันระหว่างประเทศ ในปี 1976 โลโก้ตัวหนอนได้ถูกประทับอยู่บนกระสวยอวกาศเอนเทอร์ไพรซ์ และในปี 1984 ประธานาธิบดีเรแกนแฟนพันธุ์แท้ของ NASA ได้เอ่ยปากชมว่าเป็นการออกแบบที่เรียบง่ายและมีนวัตกรรม

Meatball Worm nasa logo

ซ้าย : Meatball และ ขวา : Worm

ต่อมาในปี 1992 โลโก้ตัวหนอนก็ถูกยกเลิกใช้งาน โดยกลับไปใช้โลโก้ลูกชิ้น ยกเว้นที่ใช้ในเสื้อผ้าและของที่ระลึกอื่น ๆ แต่ต่อมา NASA ก็ไม่ได้ใช้โลโก้แสดงขีดความสามารถอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งวันนี้ได้กลับมาประกาศใช้โลโก้ตัวหนอนอีกครั้ง

NASA กล่าวว่าโลโก้ที่ทันสมัยจะช่วยสร้างความตื่นเต้นในภารกิจใหม่ อย่างการบินอวกาศยุคใหม่บนจรวด Falcon 9 ที่จะพานักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติและหนึ่งในนั้นก็คือการทดสอบ Demo-2 ปลายเดือนพฤษภาคมนี้ และมีโอกาสที่คุณจะได้เห็นโลโก้ที่แสดงอย่างเป็นทางการอื่น ๆ บนภารกิจนี้และในอนาคต แต่หน่วยงานยังไม่สรุปว่าจะใช้ที่ไหนอย่างไร โลโก้ตัวหนอนไม่ได้ถูกเลิกจะมีโอกาสได้เห็นในการสำรวจอวกาศ และโลโก้ลูกชิ้นยังคงเป็นโลโก้หลักของ NASA ตลอดกาล สรุปง่าย ๆ ว่าเราจะได้เห็นโลโก้ NASA แบบตัวหนอนในการทดสอบ Demo-2 และการส่งนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติปลายปีนี้

ที่มา : engadget

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส