นับถอยหลังกันอีกไม่กี่วันแล้วที่ Google เซิร์ชเอ็นจิ้นสามัญประจำบ้านของคนยุคนี้ เตรียมปรับระบบการค้นหาครั้งใหญ่บีบให้ทุกเว็บไซต์หันมารองรับการใช้งานบนมือถือและอุปกรณ์พกพาอย่างเต็มตัว 

ทั้งนี้ Google ได้ออกมาประกาศว่าในวันที่ 21 เมษายนนี้ พวกเขาจะทำการปรับระบบอัลกอริธึมใหม่อย่างเป็นทางการ โดยการปรับเปลี่ยนครั้งนี้มีผลต่อระบบการค้นหาจากมือถือ (mobile search) ทุกภาษาทั่วโลก ซึ่งในมุมของผู้ใช้งาน (End User) ที่ใช้ Google เข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือหรืออุปกรณ์พกพานั้นจะสามารถค้นเจอเว็บไซต์คุณภาพที่เหมาะใช้งานบนมือถือจริงๆ มากขึ้น ผ่านการคัดกรองและจัดลำดับ Ranking ใหม่ด้วย mobile friendly algorithm ที่จะอ้างอิงข้อมูลจาก app indexing มาจัดลำดับ แน่นอนเหลือเกินว่าในมุมของภาคธุรกิจที่ทุกวันนี้ทำรายได้ผ่าน mobile marketing ถึงเวลาต้องปรับกลยุทธ์ SEO ตามสถานการณ์เช่นกัน

สำหรับเว็บไซต์จะถูก Google หักคะแนนในการจัดลำดับ Ranking หากมีข้อบกพร่องดังต่อไปนี้ในการใช้งาน

  • ตัดคะแนนเว็บไซต์ที่มีความบกพร่อง ดังนี้
  • เว็บที่มีไฟล์ Javascript, CSS หรือรูปภาพที่ถูกบล็อค
  • เว็บไซต์ที่แสดงผลบนมือถือไม่ได้
  • เว็บไซต์ที่เมื่อ user คลิปเข้าไปแล้วดันพาไปเว็บไซต์อื่นอย่างมีนัยสำคัญ
  • เว็บไซต์ที่ใช้เวลานานเกินไปในการแสดงผลบนมือถือ

เบื้องต้นการปรับเปลี่ยนอัลกอริธึมของ Google ครั้งนี้จะทำให้หน้าตา Ranking ของเว็บไซต์ที่ถูกจัดลำดับในการใช้งาน mobile search ซึ่งครอบคลุมในส่วนมือถือและอุปกรณ์พกพาอื่นๆ จะเปลี่ยนไปจากเดิมแน่นอนเมื่อดูจากเงื่อนไขข้างต้น ทำให้หน้าเว็บหน้าเก่าใหม่ทั้งหลายจำเป็นต้องทำการบ้านปรับเว็บไซต์รองรับการใช้งานบนมือถืออย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนี่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบรูปธรรมที่สะท้อนเทรนด์ของโลกในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้นี้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตหน้าเว็บไซต์ต่างๆ นั้น ได้เปลี่ยนจากหน้า desktop มาเป็นบนมือถือหรือแท็บเล็ตไปแล้ว (ผลสำรวจจาก Global Web Index เผยว่ามีการใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ผ่านอุปกรณ์พกพาที่ไม่ใช่บน desktop สูงถึง 80%)

สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องการทดสอบว่า Googlebot มองเว็บไซต์ของคุณว่ามีความเหมาะสมในการใช้งานบนมือถือหรือไม่นั้น เบื้องต้นสามารถเข้าไปทดสอบได้ที่ mobile friendly test เพียงกรอก URL เว็บไซต์ที่ต้องการลงไปแล้วกด Analyze เพื่อประมวลผลครับ

sssss

ผลการทดสอบเว็บ Beartai.com ใน Mobile-Friendly Test ที่ระบุว่าเหมาะสมกับการใช้งานบนมือถือ

smartphone_users.668by334

ที่มา : computerworld / business