เชื่อว่าพวกเราแบไต๋คงคงทราบข่าวเกี่ยวกับ “ภารกิจพิชิตอวกาศ” ของ Xiaomi ที่พึ่งจะเสร็จสิ้นภารกิจและกลับสู่พื้นโลกกันบ้างแล้ว และก็คงได้เห็นภาพถ่ายของโลกที่น่าทึ่งจากเจ้า Redmi Note 7 แล้วเช่นกัน (ดูภาพภารกิจในคลิปได้เลยนะ)

Play video

มาถึงตรงนี้หลายคนคงจะสงสัยว่าแล้วตอนนี้ Redmi Note 7 มันจะมีสภาพเป็นอย่างไรนะ?

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อครับพ่อแม่พี่น้อง เจ้า Redmi Note 7 เนี่ยยังคงสภาพดีอยู่ สภาพยอดเยี่ยมเหมือนตอนที่มันถูกส่งออกไปยังนอกโลก! แม้ว่ามันจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวนและอุณหภูมิที่ติดลบก็ตาม

เที่ยวบินของ Redmi Note 7 ใช้เวลาการเดินทางทั้งหมด 2 ชั่วโมง 3 นาที เป็นระยะทาง 193 กิโลเมตร ซึ่งเดินทางกลับมาจากอวกาศแบบไร้รอยขีดข่วนซะด้วย และยังคงใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพสมกับเป็นสมาร์ทโฟนเทียบเท่ารุ่นเรือธงได้ดังเดิม

ทำไม Xiaomi ต้องเล่นใหญ่?

การส่ง Redmi Note 7 ขึ้นไปบนอวกาศครั้งนี้ไม่ได้มีเหตุผลพิเศษใดๆ เลย ทางบริษัทเค้าแค่อยากทำอะไรที่มันดูตื่นเต้นและพิสูจน์ศักยภาพความทนทานถึงขีดสุด ของมือถือรุ่นนี้แค่นั้น

แม้ว่าจะไม่มีเหตุผลพิเศษอะไรใดๆ อย่างน้อยการพิสูจน์ครั้งนี้ก็แสดงให้เห็นว่า Redmi Note 7 ไม่เพียงฝ่าด่านสภาพอากาศที่แปรปรวน และอุณหภูมิติดลบถึง -58 องศาเซลเซียส ในอวกาศเท่านั้น แต่ยังสามารถถ่ายภาพอวกาศออกมาได้อย่างงดงามความละเอียดสูงถึง 48 ล้านพิกเซล

10 ความจริงที่เรารู้เกี่ยวกับ “ภารกิจพิชิตอวกาศ” ครั้งนี้

  1. Redmi Note 7 จำนวน 5 เครื่อง ที่ถูกส่งขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศเป็นเครื่องทั่วไปที่เราวางจำหน่าย ไม่ได้มีการปรับแต่งหรือเสริมความทนทานใดๆ เพื่อภารกิจนี้ โดย 3 ใน 5 เครื่อง ที่ถูกส่งไปในอวกาศได้กลับลงมาได้ถูกนำมามอบให้กับ Mi Fans ชาวอังกฤษอีกด้วย
  2. บอลลูนตรวจอากาศที่บรรจุแก๊สฮีเลียม จำนวน 1 ลูกถูกนำมาใช้ในภารกิจครั้งนี้
  3. เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้สำหรับถ่ายภาพถูกบรรจุไว้ในกล่องโฟม XPS ที่มีความหนาแน่นสูง ออกแบบขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับภารกิจครั้งนี้
  4. มีการใช้งานแอปพลิเคชัน intervalometer สำหรับตั้งเวลาถ่ายภาพ ควบคุมจากระยะไกลในการบันทึกภาพทุก 10 วินาที
  5. ภารกิจครั้งนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง 3 นาที, ใช้เวลาในการลอยขึ้นไปผ่านชั้นบรรยากาศ 1 ชั่วโมง 27 นาที, หล่นลงสู่พื้นดินทั้งสิ้น 36 นาที, ระยะทางตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดภารกิจ 193 กิโลเมตร
  6. จุดที่มีอุณหภูมิต่ำสุดอยู่ที่ -58 องศาเซลเซียส
  7. บอลลูนสำรวจอากาศสามารถขึ้นไปในชั้นบรรยากาศสูงถึง 35,375 เมตร ก่อนที่บอลลูนจะแตกและดิ่งลงพื้นด้วยอุปกรณ์ร่มชูชีพที่ติดไปกับบอลลูน
  8. ภาพถ่ายโลกถูกถ่ายที่ชั้นความสูงประมาณ 35,100 เมตร ซึ่งมีสภาพอากาศ -55 องศาเซลเซียส
  9. ไม่มีการชาร์จแบตเตอรี่เครื่องโทรศัพท์ทั้งหมดตลอดระยะเวลาในการทำภารกิจ
  10. หลังจากจบภารกิจพบว่ามีแบตเตอรี่สำหรับใช้งานในเครื่องถึง 60% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอึดของแบตแม้จะถูกถ่ายรูปทุกๆ 10 วินาที ตามภารกิจพิชิตอวกาศ

ขอปิดท้ายภารกิจนี้ด้วยฟีเจอร์ของ Redmi Note ล่ะกันนะ

  • กล้องหลังคู่ความละเอียดสูงถึง 48 ล้านพิกเซล + 5 ล้านพิกเซล ที่สุดของกล้องถ่ายภาพในสมาร์ทโฟนระดับเดียวกัน
  • ประสิทธิภาพทรงพลัง ขับเคลื่อนด้วยหน่วยประมวลผล  Qualcomm® Snapdragon™ 660
  • คุณภาพเหนือระดับ ครอบด้วยกระจก  Corning® Gorilla® Glass 5 ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
  • จอแสดงผล Dot Drop ขนาดใหญ่  6.3  นิ้ว ให้หน้าจอที่สวยสะดุดตา ด้วยความละเอียดระดับ FHD+
  • แบตเตอรี่ขนาดใหญ่ความจุ 4000mAh สามารถรับชมวีดิโอต่อเนื่องยาวนาน 13 ชั่วโมง และเล่นเกมส์ต่อเนื่องยาวนาน 7 ชั่วโมงอีกด้วย

อยากเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนพิชิตอวกาศ?

Redmi Note 7 มี 3 สีให้เลือก ได้แก่ Space Black, Neptune Blue และ Nebula Red จำหน่ายใน Mi Authorized Store ทั่วประเทศ  โดยรุ่น RAM 3GB/32GB วางจำหน่ายในราคา 4,999 บาท รุ่น RAM 4GB/64GB ราคา 6,599 บาท และรุ่น RAM 4GB/128GB ราคา 6,799 บาท

Redmi Note 7 สี Space Black, Neptune Blue และ Nebula Red

Redmi Note 7 กล้องหลัง

Redmi Note 7 หน้าจอ

Redmi Note 7 สวยงามทั้ง 3 สี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เมื่อ Xiaomi ส่ง Redmi Note 7 ไปถ่ายภาพบรรยากาศในอวกาศ พร้อมดิ่งชนโลกโดยไม่ได้รับความเสียหาย!