หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สำนักงานกสช. ได้ประกาศหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ โดยเปิดให้ทั้งสามค่าย ทั้งเอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เข้ารับเอกสารและข้อเสนอในการจัดสรรคลื่นจากทากสทช. เมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ การจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าว เป็นไปตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ตามความประกาศในราชกิจจานุเบกษา อาศัยตามมาตรา 44 ให้กสทช. จัดสรรคลื่นความถี่ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นโครงข่าย 5G ต่อไป

รวมถึงเป็นการเปิดทางให้ทางกสทช. สามารถขยายระยะเวลาในการชำระค่างวดใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิม 4 ปี เป็น 10 ปี โดยการเข้ารับจัดสรรคลื่นครั้งนี้ ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทั้งสามค่าต้องพิตารณาว่าจัตอบรับ หรือจะปฏิเสธ

ล่าสุด ทั้งสามค่ายมือถือต่างตบเท้า เข้ารับการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวที่สำนักงานกสทช. โดยแต่ละค่าย ได้ช่วงชุดคลื่นความถี่ที่แตกต่างกันออกไป และทางกสทช. ได้มีการเผยแพร่ประกาศออกมา

เอไอเอสเข้ารับจัดสรรคลื่นความถี่ มองเป็นข้อดี เสริมความแข็งแกร่งให้องค์กร

เริ่มต้นที่ค่ายเอไอเอสกันก่อน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ได้เปิดเผยว่า ทางเอไอเอสได้มอบหมายให้แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค หรือ เอดับบลิวเอ็น (AWN) เข้ารับการจัดสรรคลื่นความถี่ ตามที่สำนักงานกสทช. ได้ประกาศให้เอดับบลิวเอ็น เป็นผู้มีสิทธิ์ในการรับอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 700 เมกกะเฮิรตซ์ พร้อมทั้งยังอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมถึงการเข้ารับการจัดสรรคลื่นในครั้งนี้ด้วยว่า ได้มีการศึกษาร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก เกี่ยวกับประโยชน์และความเหมาะสมในการยื่นคำขอรับใบอนุญาตฯ พบว่า ตามมาตรฐานของเทคโนโลยี 5G การผสมผสานคลื่นความถี่ระหว่างย่านความถี่สูง (สูงกว่า 6 GHz) ย่านความถี่กลาง (ระหว่าง 2-6 GHz) และย่านความถี่ต่ำ (ต่ำกว่า 2 GHz) จะช่วยให้การให้บริการ 5G มีประสิทธิภาพและเพิ่มความยืดหยุ่นในการลงทุน โดยคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ถือเป็นคลื่นความถี่มาตรฐานของเทคโนโลยี 5G ในย่านความถี่ต่ำที่มีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านความครอบคลุม การได้คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ มาในครั้งนี้ จึงเป็นการสร้างความพร้อมสำหรับการให้บริการ 5G ที่จะเกิดขึ้นภายใน 2-3 ปีข้างหน้า รวมถึงความพร้อมทั้งในเชิงอุปกรณ์โครงข่ายและเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมถึงบริการที่รองรับคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะมีมากขึ้น โดยตัวอย่างบริการ 5G ที่อาจนำมาให้บริการจริง (commercial) ได้แก่ บริการเสมือนจริงต่างๆ (Virtual Reality/Augmented Reality) เช่น การเพิ่มประสบการณ์รับชมคอนเสิร์ตและกีฬา การเล่นเกม การให้บริการด้าน IoT (Internet of Things) รวมไปถึงการให้บริการอินเทอร์เน็ตบ้านแบบไร้สาย (Fixed Wireless Access) และเครือข่ายเฉพาะสำหรับลูกค้าองค์กร เป็นต้น ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ที่สำคัญในธุรกิจโทรคมนาคม

นอกจากนี้ คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ หากนำมาผสมผสานในโครงข่ายปัจจุบัน ยังมีประโยชน์ในการขยายความจุ (Network Capacity) และความครอบคลุมของโครงข่ายที่มีอยู่ ซึ่งช่วยให้สามารถตอบสนองการใช้งานของลูกค้าที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประหยัดเงินลงทุนที่ต้องใช้สำหรับการขยายสถานีฐานเพิ่มเติม ทำให้โครงข่ายโดยรวมมีประสิทธิภาพและช่วยเพิ่มประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้งานภายในอาคาร ดังนั้น บริษัทจึงประเมินแล้วว่า เงื่อนไขของการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ก่อให้เกิดความคุ้มค่าทางการเงิน และช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งของบริษัทในการเป็นผู้นำในตลาดโทรคมนาคมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยระหว่างนี้จนกว่าจะสามารถใช้งานคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ได้ บริษัทจะร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ รวมถึงกสทช.ในการวิจัยและพัฒนาการให้บริการ 5G เพื่อวางแผนการลงทุนอย่างเหมาะสมต่อไป

ดีแทคเข้ารับจัดสรร เสริมความแกร่งให้ชุดคลื่นความถี่ที่มีให้มากขึ้น

ทางด้านคุณอเล็กซานดรา ไรช์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า “เราจะไม่หยุดพัฒนาเพื่อลูกค้าของเรา ทั้งนี้ จากการที่ดีแทคได้รับการจัดสรรคลื่นย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นคลื่นย่านความถี่ต่ำ (low band) จากสำนักงาน กสทช. ดีแทคจะได้ขยายโครงข่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพื้นที่การครอบคลุมสัญญาณ และเพิ่มความจุของโครงข่าย ขณะนี้โครงข่ายของดีแทคสามารถครอบคลุม 94% ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ และคลื่นความถี่ต่ำย่าน 700 เมกะเฮิรตซ์ จะมาเสริมความแกร่งให้ดีแทคให้บริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปิดท้ายที่ทรูมูฟ เข้ารับคลื่นเพื่อรักษาความเป็นผู้นำทางด้นโครงข่าย

ทรูมูฟส่งคณะกรรมการบริหารเข้ารับชุดคลื่นความถี่ นำทีมโดยรองประธานคณะกรรมการบริหาร คุณวิเชาวน์ รักพงษ์ไพโรจน์ โดยเหตุผลของการเข้ารับในครั้งนี้ ทางทรูมูฟได้จัดทำเอกสารรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สรุปใจความจากฉบับดังกล่าวได้ความว่า เพื่อรักษาความเป็นผู้นำในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และให้เพื่อเป็นไปตามเงื่อนไขของการลดหย่อนและแบ่งชำระค่างวดของใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ จากเดิมที่ต้องชำระ 4 งวด เป็นชำระ 10 งวด

ทั้งนี้ เมื่อมาดูถึงส่วนของการจัดสรรคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ในครั้งนี้ ทางสำนังานกสทช. ได้นำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 30 เมกะเฮิรตซ์ แบ่งออกเป็นสามใบอนุญาต ในหนึ่งใบอนุญาต จะได้รับคลื่นจำนวน 10 เมกะเฮิรตซ์โดยบางส่วนของชุดคลื่นที่มีการจัดสรรนั้น มีการคาบเกี่ยว หรือติดกับคื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งถือว่าเป็นแง่ดีสำหรับบางค่ายหรือบางผู้ให้บริการ ที่ถือชุดคลื่นความถี่นี้ไว้ในมือ บางส่วนของคลื่น ไปใกล้เคียงกับคลื่นความถี่ที่ใช้กันในระบบไมค์โครโฟนไร้สาย หรือไมค์ไวร์เลส อาจจะเกิดการรบกวนกันของสัญญาณก็เป็นได้

โดยการจัดสรรคลื่นความถี่เป็นไปดังนี้

  • คลื่นความถี่ชุดที่หนึ่ง ช่วงคลื่นความถี่ระหว่าง 703 – 713 เมกะเฮิรตซ์ และ 758 – 768 เมกะเฮิรตซ์ ผู้ที่เลือกรับคลื่นความถี่ชุดนี้ไปครอง คือ ทรูมูฟ (ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมูนิเคชั่น)
  • คลื่นความถี่ชุดที่สอง ช่วงคลื่นความถี่ระหว่าง 713 – 723 เมกะเฮิรตซ์ และ 768 – 778 เมกะเฮิรตซ์ ผู้ที่เลือกรับคลื่นความถี่ ชุดนี้ไปครอง คือ ดีแทค (ดีแทค ไตรเน็ต)
  • คลื่นความถี่ชุดที่สาม ช่วงคลื่นความถี่ระหว่าง 723 – 733 เมกะเฮิรตซ์ และ 778 – 788 เมกะเฮิรตซ์ ผู้ที่เลือกรับคลื่นความถี่ชุดนี้ไปครอง คือ เอไอเอส (แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค)

ทั้งนี้ ในส่วนของราคาของแต่ละใบอนุญาตนั้น อยู่ที่ราคา 17,584 ล้านบาท และการอนุญาตให้ใช้งานในย่านความถี่ดังกล่าวนั้น มีระยะเวลา 15 ปี การชำระเงิน แบ่งออกเป็นสิบงวดเท่าๆ กัน โดยสามารถเริ่มใช้งานและให้บริการในคลื่นความถี่ดังกล่าวนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เป้นต้นไป หรือจนกว่ากสทช. จะมีข้อกำหนดในรูปแบบอื่น