Huawei มองถึง Ecosystem ของเทคโนโลยี cloud ที่ผสานนวัตกรรม AI และ IoT ยุคใหม่ จะช่วยลดต้นทุน เสริมประสิทธิภาพ และพัฒนาคุณภาพบริการแก่ธุรกิจไทย ผลักดันทุกภาคอุตสาหกรรมทั่วประเทศสู่ยุค “อัจฉริยะ” อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งคาดว่าภายใน 5 ปี อุตสาหกรรมธุรกิจในภาพรวมจะปรับมาใช้งาน cloud อย่างเต็มตัว นำไปสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยประเด็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ความเร็วในการรับส่งข้อมูล รวมถึงอีโคซิสเต็มของ cloud จะเป็นสิ่งที่บรรดาผู้ให้บริการ cloud ต้องให้ความสำคัญในอนาคต

โดยที่ระบบ cloud, AI และ IoT จะช่วยปรับระบบการปฏิบัติงานในองค์กรให้เป็นอัตโนมัติ ซึ่งรวมถึงระบบจัดการย่อย ๆ อย่างระบบไฟในสำนักงานหรือระบบประสานงานต่าง ๆ ส่งผลให้ต้นทุนการประกอบการลดลง การดำเนินงานในบริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น พนักงานในบริษัทก็จะสามารถส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ใช้งานที่ดีขึ้น ดึงให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ำและช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรอีกทางหนึ่งด้วย

จากรายงาน Huawei GIV (Global Industry Vision) คาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 กลุ่มธุรกิจองค์กรทั่วโลกทั้งหมด (100%) จะหันมาใช้เทคโนโลยี cloud และแอปพลิเคชันต่างๆ โดยมี 85% ที่จะรองรับการทำงานบน cloud นอกจากนี้ 86% ขององค์กรทั้งหมดจะเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยี AI และข้อมูลกว่า 80% ขององค์กรจะได้รับการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจัง

ส่วนเทรนด์การใช้งานบริการ cloud ขององค์กรในประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับบริการ cloud สาธารณะมากขึ้น (Public Cloud) เนื่องจากใช้งานได้สะดวกกว่า ให้ผลตอบแทนการลงทุน (RoI) ที่คุ้มค่ากว่า เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ธุรกิจหลายแห่งอยู่ในช่วงฟื้นตัวจากปัญหาเศรษฐกิจ

และนอกจากนี้ Public Cloud ยังเพิ่มความยืดหยุ่นให้องค์กร เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถขยายการลงทุนในด้านอื่น ๆ ของธุรกิจควบคู่กัน ซึ่งองค์กรที่ยังต้องการมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลเป็นพิเศษก็สามารถใช้บริการ cloud แบบผสมผสาน (Hybrid Cloud) และ Public Cloud ที่มีศูนย์ข้อมูลอยู่ในประเทศไทยได้อีกด้วย

HUAWEI CLOUD มีศูนย์ข้อมูลในประเทศไทยเพื่อรองรับการให้บริการ cloud โดยเฉพาะ จึงมีจุดเด่นเรื่องความหน่วง (Latency) ต่ำ ข้อมูลได้รับการปกป้องจากกฎหมายของประเทศไทย และสามารถส่งมอบการสนับสนุนจากทีม R&D ที่มีความเชี่ยวชาญด้าน cloud จากสำนักงานใหญ่ได้อย่างรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง โดยบริการ Cloud ของหัวเว่ยได้รับใบรับรองมาตรฐานระดับโลกกว่า 50 รายการ ซึ่งรวมถึงมาตรฐาน ISOA27701 และมีการออกเอกสารแนะนำในการใช้งานเพื่อให้เป็นไปตาม “พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (PDPA) ของประเทศไทยอีกด้วย

อีกทั้งยังรองรับการให้บริการทั้งแบบ Public Cloud และ Hybrid Cloud การที่หัวเว่ย ประเทศไทย มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์ในไทยมานานกว่า 21 ปี พร้อมด้วยความเชี่ยวชาญสูงสุดครอบคลุมทุกด้าน จึงเข้าใจความต้องการและความท้าทายที่องค์กรธุรกิจในไทยต้องเผชิญเป็นอย่างดี นอกจากนี้ การที่หัวเว่ยเป็นเจ้าของเทคโนโลยีทั้งอีโคซิสเต็ม ครอบคลุมเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์รอบด้าน ยังทำให้ระบบหลังบ้านบริการ cloud ของหัวเว่ยส่งมอบสมรรถภาพการทำงานแบบประสานกัน (Synergy) ที่ให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าบริการ cloud ทั่วไปถึง 30% รวมถึงช่วยประหยัดต้นทุนการดำเนินงานได้ถึง 30% เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า

เพราะผู้ให้บริการ cloud นั้นต้องให้ความสำคัญสูงสุดในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า การมีศูนย์ข้อมูล cloud อยู่ในประเทศไทยจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพราะบริการ cloud นั้น ๆ อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย รวมทั้งช่วยให้ทีมวิจัยพัฒนาและลูกค้าสัมพันธ์สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การที่บริการ cloud มีศูนย์ข้อมูลอยู่ในประเทศไทย ยังช่วยเสริมความเร็วในการรับส่งข้อมูลบน cloud ทำให้มีค่าความหน่วง (Latency) ในระดับน้อยกว่า 10 มิลลิวินาที ซึ่งน้อยกว่าผู้ให้บริการ cloud จากต่างประเทศประมาณ 5-10 เท่า เพื่อรองรับกับความเร็วของการเชื่อมต่อโครงข่ายในประเทศไทยที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้เต็มที่

เทคโนโลยี cloud ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรองรับเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี AI, IoT, VR/AR, 5G เพื่อนวัตกรรมโครงข่ายแห่งอนาคต เนื่องจาก cloud เป็นดั่งรันเวย์ที่เสริมพลังการขับเคลื่อนด้านการประมวลผลให้แก่เทคโนโลยีเหล่านี้ หัวเว่ยจึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับเทคโนโลยี cloud ด้วยการลงทุนจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสำหรับให้บริการ cloud ในประเทศไทยโดยเฉพาะเป็นแห่งแรก รวมถึงกลยุทธ์ Cloud First ที่มุ่งเน้นพัฒนาอีโคซิสเต็มสำหรับประเทศไทยเพื่อการส่งมอบประสบการณ์ใช้งานที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ใช้งานชาวไทย

การร่วมกันผลักดันเทคโนโลยีทั้งด้านนโยบายภาครัฐและการสนับสนุนจากเอกชนมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากที่ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่เป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายผลักดันด้านเทคโนโลยีไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 การสร้างโครงข่ายนวัตกรรมรวมถึงบริการรูปแบบใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้งานชาวไทยอย่างต่อเนื่องของภาคเอกชน ทั้งนี้ ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับหัวเว่ย และเป็นตลาดเดียวที่เรานำเสนอครบทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ Carrier, Enterprise, Consumers และ cloud & AI เพื่อให้สามารถส่งมอบอีโคซิสเต็มที่สมบูรณ์ ครอบคลุมเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างรอบด้าน และช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทยไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industry) ได้อย่างรวดเร็วขึ้น

คุณอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

การผสานการทำงานระหว่างเทคโนโลยี cloud, AI และ IoT จะช่วยผลักดันให้เกิด Smart City ในระดับประเทศ เช่น ระบบการจัดการเมืองอัจฉริยะ การจัดการจราจรแบบอัจฉริยะ หรือการตรวจสอบภาคสนามทางไกลผ่านหุ่นโดรน เป็นต้น ส่วนในระดับภาคเอกชน การผสานของเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยปรับกระบวนการดำเนินงานขององค์กรธุรกิจในหลายมิติ โดยระบบเครือข่ายรวมไปถึงแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Internet of Things (IoT) จะทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายส่วนแล้วส่งขึ้นไปให้ AI ช่วยประมวลผลบน cloud ส่งผลให้องค์กรธุรกิจในประเทศไทยที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถลดต้นทุนการประกอบการ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหลังบ้าน และส่งมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้าได้

คุณปิยะธิดา อิทธิระวิวงศ์ ประธานกรรมการ แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

HUAWEI CLOUD ถือเป็นผู้ให้บริการระดับโลกรายแรก และเป็นรายเดียวในปัจจุบันที่มีศูนย์ข้อมูลในประเทศไทยสองศูนย์เพื่อรองรับการให้บริการ Cloud โดยเฉพาะ ทั้งนี้ บริการ cloud ของหัวเว่ยให้บริการครอบคลุมทั้งในภาคอุตสาหกรรมค้าปลีก การเงินการธนาคาร รวมไปถึงภาคอุตสาหกรรมการผลิตรายใหญ่ของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีองค์กรระดับนานาชาติในต่างประเทศอีกหลายรายที่ใช้บริการ HUAWEI CLOUD อาทิ ผู้ให้บริการด้านการขนส่ง J&T Express ผู้ให้บริการด้านคอนเทนท์ ความบันเทิง Mango TV และธุรกิจด้านสื่อ XINHUA NEWS AGENCY เป็นต้น

คุณสุรศักดิ์ วนิชเวทย์พิบูล หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี แผนกธุรกิจคลาวด์ ประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด