ยูเนี่ยนเพย์ (UnionPay) ประกาศความร่วมมือกับหัวเว่ย (Huawei and Industrial) และ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) พร้อมเปิดตัวบริการใหม่ หัวเว่ย เพย์ (Huawei Pay) เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อตอบรับกับความต้องการในการใช้จ่ายแบบไร้เงินสดที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคในตลาด

ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ หัวเว่ย และ ออเนอร์ สามารถเปิดใช้งานบริการ หัวเว่ย เพย์ ได้ด้วยการเพิ่มบัตรเครดิตยูเนี่ยนเพย์ ที่ออกโดยธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ไปยังแอปพลิเคชัน หัวเว่ย วอลเล็ท (Huawei Wallet) และชำระเงินแบบไร้สัมผัสผ่านโทรศัพท์มือถือ ด้วยการแตะเพื่อใช้จ่าย (tap-and-go payments) ณ กว่า 30 แบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้บริการในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นร้านค้าขายปลีก ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ สถานเสริมความงามและสุขภาพ รวมไปถึงโรงภาพยนตร์

นายเหวิน ฮุ่ย หยาง ผู้จัดการทั่วไป ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “เพื่อตอบรับกับพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ยูเนี่ยนเพย์ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านการชำระเงินด้วยโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง (Mobile Payment Service) ทั้งในประเทศไทย และตลาดทั่วโลกในปีต่อ ๆ ไป เราเป็นพันธมิตรกับ หัวเว่ย (Huawei) และ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) มาอย่างยาวนาน และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สานต่อความร่วมมือในการออกผลิตภัณฑ์ หัวเว่ย เพย์ ในประเทศไทย เพื่อมอบประสบการณ์การชำระเงินแบบไร้เงินสดที่ทั้งง่าย และสะดวกสบายอย่างไร้รอยต่อมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้บริโภคในประเทศไทย”

ดร.จื้อกัง หลี่ ประธานกรรมการธนาคารไอซีบีซี (ไทย) กล่าวว่า “ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นธนาคารรายแรกในประเทศไทยที่ให้บริการ หัวเว่ย เพย์ ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ระหว่าง ไอซีบีซี (ไทย) หัวเว่ย และ ยูเนี่ยนเพย์ ถือเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมในการช่วยให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมไร้เงินสด อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคให้สามารถชำระเงินได้โดยไม่จำเป็นจะต้องพกเงินสดหรือบัตรเครดิต ด้วยการมอบประสบการณ์ด้านบริการชำระเงินที่ดียิ่งขึ้นผ่านการชำระเงินด้วยโทรศัพท์มือถือ

“หัวเว่ย รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับทางยูเนี่ยนเพย์ และ ไอซีบีซี (ไทย) ในการเปิดตัว หัวเว่ยเพย์ (Huawei Pay) ในประเทศไทย ซึ่งการเปิดตัวบริการหัวเว่ย เพย์ในครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนโทรศัพท์หัวเว่ยในมือของลูกค้าให้กลายเป็น อี-วอลเล็ต ที่มอบประสบการณ์ด้านการชำระเงินที่ไม่เพียงแค่มอบความสะดวกสบายในการใช้งานแต่ยังคงความปลอดภัยไว้อีกด้วย” กล่าวปิดท้าย โดย เชน ชาน ผู้อำนวยการบริการคลาวด์สำหรับผู้บริโภคหัวเว่ยประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ปัจจุบัน ยูเนี่ยนเพย์ให้บริการการชำระเงินด้วยโทรศัพท์มือถือ (UnionPay mobile payment services) การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (UnionPay mobile QuickPass) และการชำระเงินด้วย QR code (UnionPay QR code payment) ณ กว่า 61 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก โดยมีผู้ประกอบการและร้านค้ากว่า 29 ล้านรายทั่วโลก ที่รองรับการชำระเงินด้วย QR code ของยูเนี่ยนเพย์ (UnionPay QR code payment) และอีกกว่า 20 ล้านจุดชำระเงิน (POS) ใน 49 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก ที่รองรับการชำระเงินแบบไร้สัมผัสของยูเนี่ยนเพย์ (UnionPay mobile QuickPass)

รายชื่อร้านค้าในประเทศไทยที่รองรับบริการ หัวเว่ย เพย์

ร้านค้า

  • บุญถาวร (บางสาขาที่ร่วมรายการ)
  • บู๊ทส์ (Boots)
  • ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
  • ห้างสรรพสินค้าเอ็มโพเรียม (Emporium)
  • ห้างสรรพสินค้าเอ็มควอเทียร์ (Emquartier)
  • ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ (The Mall)
  • ห้างสรรพสินค้าพารากอน (Paragon)
  • ห้างสรรพสินค้าสยาม ทากาชิมาย่า (Siam Takashimaya)
  • สวารอฟสกี้ (Swarovski)
  • เจมาร์ท (Jaymart)
  • คิง พาวเวอร์ (King Power)
  • มิสเตอร์ ดี.ไอ.วาย (Mr. DIY)
  • โพเมโล (Pomelo)

ร้านสะดวกซื้อ

  • กูร์เมต์ มาร์เก็ต (Gourmet Market)
  • เลมอนฟาร์ม (Lemon Farm)

ร้านอาหารและเครื่องดื่ม

  • หง เปา (Hong Bao) (บางสาขาที่ร่วมรายการ)
  • ชีวิต ชีวา (Cheevit Cheeva)
  • เจฟเฟอร์ สเต็ก (Jeffer Steak)
  • นีโอ สุกี้ (Neo Suki)
  • เอส แอนด์ พี (S&P) (บางสาขาที่ร่วมรายการ)
  • ซานตาเฟ่ สเต็ก (Santa Fé Steak)
  • ชาคาริคิ 432 (Shakariki 432)
  • ซูชิ ฮิโระ (Sushi Hiro)
  • กาแฟวาวี (Wawee Coffee)
  • โรงภาพยนตร์
  • เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ (Major Cineplex)
  • สถานเสริมความงาม จักษุ และสุขภาพ
  • บิวตี้ บุฟเฟต์ (Beauty Buffet)
  • บิวตี้ คอทเทจ (Beauty Cottage)
  • หอแว่น (Better Vision) (บางสาขาที่ร่วมรายการ)
  • หาญ (HARNN)
  • เดอะเฟสช็อป (The Face Shop)