นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ ได้วางเป้าหมายให้รอบปีข้างหน้า ซึ่งเป็นปีที่ 4 ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ให้เป็น “ปีแห่งการเดินหน้า” เพื่อร่วมสร้างหนทางใหม่ ๆ ให้คนไทย องค์กรไทย และสังคมไทยได้เดินหน้ากันต่อไปจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ในยุคของการใช้ชีวิตและทำงานในแบบรีโมต ที่แทบทุกอย่างต้องมีดิจิทัลเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยได้มุ่งเน้นในด้านหลักต่าง ๆ ดังนี้

สร้างมาตรฐานใหม่

ไมโครซอฟท์ได้ร่วมงานกับหลายภาคส่วนในประเทศไทยเพื่อยกระดับมาตรฐานทางเทคโนโลยีสำหรับปัจจุบันและอนาคต ให้ทุกภาคส่วนได้เดินหน้าและเติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง

  • Microsoft Teams และ Microsoft 365 ได้ผ่านการตรวจประเมินมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของระบบควบคุมการประชุม โดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ไปเมื่อปีที่ผ่านมา จึงรองรับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องทั่วไปหรือเรื่องลับขององค์กร
  • ไมโครซอฟท์มีผลิตภัณฑ์ บริการ และมาตรการสนับสนุนครบครันสำหรับองค์กรไทยที่ต้องการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดยเฉพาะกับการรองรับมาตรฐานใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย แม้ว่ากฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีการเลื่อนบังคับใช้เต็มรูปแบบออกไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ก็ตาม
  • สำหรับการประยุกต์ใช้ AI ไมโครซอฟท์ก็ได้ร่วมมือกับนักวิชาการและหน่วยงานภาครัฐในการให้คำปรึกษาเพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์กับคนไทยอย่างแท้จริง จนเกิดเป็นแผนงาน Responsible AI Framework ที่ทางคณะรัฐมนตรีได้ลงมติรับรองเพื่อนำไปบังคับใช้ไปในปีนี้

สร้างทักษะใหม่

ไมโครซอฟท์มีเป้าหมายที่จะสร้างทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยเกินกว่า 10 ล้านคนในทุกระดับ นับตั้งแต่นักเรียน นักศึกษา ไปจนถึงคณาจารย์และคนทำงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

  • ในรอบปีที่ผ่านมา ความร่วมมือของบริษัทกับกระทรวงศึกษาธิการได้ก่อให้เกิดการกระจายความรู้และทักษะเชิงดิจิทัลผ่านเครือข่ายบุคลากรครู 470,000 คน ซึ่งครอบคลุมนักเรียนกว่า 6,650,000 คน พร้อมด้วยนักเรียนอาชีวะอีก 1,000,000 คนทั่วประเทศไทย รวมเป็นกว่า 8,120,000 คน
  • อีกหนึ่งความร่วมมือกับทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ทำให้หลักสูตรด้านทักษะของไมโครซอฟท์จาก LinkedIn Learning และ Microsoft Learn for Educators ถูกผสานเข้ากับแผนการสอนในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครอบคลุมนักศึกษาและคณาจารย์รวมถึง 2,300,000 คน
  • ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน ช่วยให้แรงงานไทยกว่า 4 ล้านคนสามารถเข้าถึงเนื้อหาการเรียนการสอนด้านทักษะดิจิทัลในหลายระดับ ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
  • ไมโครซอฟท์เองได้เปิดหลักสูตรการสอนทักษะคลาวด์ ทั้ง Azure Cloud, Azure Data & AI และ Power BI พร้อมด้วยการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรรับรองทักษะสำหรับการทำงานต่อไป โดยปัจจุบันมีคนทำงานสายไอทีเข้าร่วมเรียนในหลักสูตรดังกล่าวแล้วกว่า 30,000 คน
  • ไมโครซอฟท์ยังคงเปิดให้คนทำงานสายไอทีเข้ามาเรียนรู้และวัดระดับทักษะของตัวเองผ่านการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรรับรองทักษะในด้านต่างๆ โดยจากเดิมที่เปิดสอบในประเทศไทยอยู่แล้วใน 4 หลักสูตร จะเพิ่มมาอีกหนึ่งหลักสูตรในเดือนตุลาคมนี้ ได้แก่:
    • AZ-900 (Azure Fundamentals)
    • AI-900 (Azure AI Fundamentals)
    • DP-900 (Azure Data Fundamentals)
    • PL-900 (Power Platform Fundamentals)
    • และล่าสุด SC-900 (Security, Compliance, and Identity Fundamentals)

โดยขณะเดียวกัน ไมโครซอฟท์ยังจะนำโครงการ Enterprise Skills Initiative (ESI) เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทยในปีนี้ เพื่อมุ่งยกระดับทักษะด้านเทคโนโลยีเชิงลึกของบุคลากรในองค์กรขนาดใหญ่อีกด้วย

สร้างวิถีใหม่

8 วิถีใหม่ที่ขับเคลื่อนการสรรสร้างนวัตกรรม จากมุมมองของไมโครซอฟท์:

  1. Anywhere, Everywhere: การที่เราจะทำอะไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ผ่านระบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การเล่น การติดต่อสื่อสาร หรือการใช้ชีวิต
  2. Digital First World: การที่ทุกอย่างเป็นดิจิทัล ทำให้ระบบทุกอย่างจะถูกออกแบบมาเพื่อการนี้ รวมไปถึงโมเดลธุรกิจที่ต้องมีดิจิทัลเป็นหัวใจ
  3. Cloud Economy: การมาอย่างรวดเร็วและยิ่งใหญ่ของระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยคลาวด์
  4. New Gen of Business & Intelligence: ก้าวต่อไปของการยกระดับธุรกิจด้วยข้อมูล
  5. Strategic Economy Partnership: สร้างความร่วมมือด้วยจุดมุ่งหมายและกลยุทธ์ที่ชัดเจน มุ่งสู่ความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
  6. Citizen Developers: พลเมืองนักพัฒนา เมื่อทุกคนสามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนางานของตัวเองได้
  7. Economy of Trust: เมื่อความไว้วางใจต้องมาก่อน เป็นรากฐานในการออกแบบทุกผลิตภัณฑ์และบริการ ให้ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์ไปด้วยกัน
  8. Sustainable Development Goal: ตั้งเป้าหมายในด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน

ในปีนี้ ไมโครซอฟท์จะมีผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ มากมายเข้ามาตอบสนองต่อความต้องการและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ให้สอดรับกับทั้งสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต

  • ผลิตภัณฑ์และบริการในกลุ่ม Power Platform ยังคงเป็นส่วนสำคัญในการจุดประกายให้คนทำงานนอกสายไอทีโดยตรง ผันตัวเองมาเป็นนักพัฒนาประเภท “Citizen Developers” ได้ลงมือสร้างสรรค์เครื่องมือหรือวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตัวเองให้ตอบโจทย์กับเนื้องานที่ทำอยู่
  • บริการใหม่ Windows 365 มอบประสบการณ์ Windows ที่คุ้นเคยแบบส่งตรงจากคลาวด์ ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอป ข้อมูล คอนเทนต์ และการตั้งค่าทุกอย่างของเครื่องพีซีในองค์กรได้จากอุปกรณ์ใดก็ได้ ที่ไหนก็ได้ จึงทำให้สามารถทำงานได้จากทุกที่อย่างมั่นใจ และที่สำคัญคือมีเครื่องมือพร้อมความปลอดภัยครบครันครอบคลุมทุกดีไวซ์ 
  • ส่วนแพลตฟอร์มคลาวด์ Azure ก็มีโซลูชั่นที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์เฉพาะตัวของแต่ละอุตสาหกรรม ทั้งในด้านของการทำงานและการตอบรับกับมาตรฐานต่าง ๆ ในแต่ละอุตสาหกรรม โดยมีทั้งคลาวด์ อาซัวร์เพื่อสถาบันการเงิน เพื่อการแพทย์ เพื่อภาคการผลิต เพื่อองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และเพื่อกลุ่มค้าปลีก โดยเฉพาะ

สร้างการเติบโต

ไมโครซอฟท์ยังคงทำงานกับเครือข่ายพันธมิตรที่กว้างขวาง ครอบคลุมทุกภาคส่วนและหลากหลายอุตสาหกรรมในประเทศไทย เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างทั่วถึง

สำหรับอุตสาหกรรมไอทีไทยในปีนี้ คาดว่าจะมีการใช้จ่ายในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้นราว 4.9% ขณะที่การใช้จ่ายกับบริการคลาวด์สาธารณะ (public cloud) มีแนวโน้มจะขยายตัวขึ้นถึง 31.7% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 23.1%

สำหรับไมโครซอฟท์เอง เล็งเห็นว่าผลิตภัณฑ์และบริการในกลุ่ม Power Platform, Intelligent Endpoint, Data & AI, Microsoft Teams, Azure, Dynamics และโซลูชั่นเพื่อความปลอดภัย มีแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุด

สร้างความมั่นใจ

การเป็นแพลตฟอร์มที่ไว้ใจได้ ยังคงเป็นหัวใจสำคัญในการออกแบบทุกผลิตภัณฑ์และบริการของไมโครซอฟท์ ด้วยหลักการพื้นฐานที่ครอบคลุมทั้งการปกป้องทุกภาคส่วนจากภัยไซเบอร์ การรองรับมาตรฐานทั้งในเชิงกฎหมายและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม และการเสริมสร้างความมั่นใจในเทคโนโลยีให้องค์กรเลือกใช้งานได้โดยไม่กังวล

ปัจจุบัน 5 โซลูชั่นด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ ได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ “Leader” หรือผู้นำตลาด ในรายงาน Gartner Magic Quadrant ในหลายมิติด้วยกัน

สร้างความยั่งยืน

เมื่อเร็วๆ นี้ ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัว Cloud for Sustainability กลุ่มโซลูชั่นคลาวด์ใหม่ล่าสุดที่มุ่งช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น ผ่านทางการติดตามข้อมูล ทำรายงานสรุป และวัดประสิทธิภาพการทำงานในด้านการลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้องค์กรที่ใช้งานสามารถรับรู้ รายงาน ลด และชดเชยการปล่อยมลภาวะของตนเองได้ดียิ่งขึ้น

ในระดับโลก ไมโครซอฟท์มี 4 เป้าหมายหลักด้านความยั่งยืน ได้แก่

  • มุ่งสู่สถานะ “Carbon Negative” (กำจัดมลภาวะคาร์บอนมากกว่าได้มากกว่าปริมาณที่ปล่อยออกสู่ภายนอก) ภายในปี 2030
  • มุ่งสู่สถานะ “Water Positive” (คืนน้ำสะอาดสู่สิ่งแวดล้อมมากกว่าที่นำมาใช้) ภายในปี 2030
  • มุ่งสู่สถานะ “Zero Waste” (ลดขยะให้เป็นศูนย์) ภายในปี 2030
  • พัฒนาระบบ “Planetary Computer” ด้วยคลาวด์ที่รวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลก พร้อมให้นักวิจัยด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ค้นหาคำตอบของปัญหาที่โลกกำลังเผชิญ