ในตอนที่เราเป็นเด็กเริ่มหัดพูด สมองของเราจะไม่รู้ถึงคำศัพท์ที่เราพูดออกไป แต่หลังจากนั้นไม่นานสมองของเราก็จะเริ่มเรียนรู้ความหมายของคำนั้นๆ ได้เองเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้กันอยู่แล้ว

การเรียนรู้ภาษาตั้งแต่เกิดจนอยุ 18 ปี ที่ดูไม่ใช่เรื่องง่าย ไหนจะคำศัพท์มากมาย รวมทั้งความหมายของคำ แต่วารสารของ Royal Society Open Science ได้ทำการศึกษาหาค่าเฉลี่ยออกมาแล้วว่าคนเราใช้พื้นที่สมองประมาณ 12.5 ล้านบิต ในการเรียนรู้ด้านภาษา ซึ่งอย่างที่ทุกคนรู้บิตคือหน่วยในการเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ นักวิทยาศาสตร์เอาหน่วยบิตเข้ามาเปรียบเทียบ เพื่อให้เราเข้าใจขนาดความจำสมองที่ต้องใช้ได้ง่ายขึ้น

มันดูเหลือเชื่อใช่ไหมละที่หน่วยการเรียนรู้ด้านภาษาของเรามีขนาดเพียงแค่ 1.5 เมกะไบต์ หรือเทียบเท่ากับเพลง Mp3 ที่มีความยาวหนึ่งนาทีเท่านั้นเอง เหล่านักวิจัยประเมินว่าในวันวันหนึ่งผู้ใหญ่จะใช้พื้นที่เพียง 1,000 – 2,000 บิท เท่านั้นในการเรียนรู้คำศัพท์ และในกรณีที่น้อยที่สุดคือใช้พื้นที่เพียงแค่ 120 บิตเท่านั้น และพื้นที่ 12.5 ล้านบิตนั้นล้วนเป็นพื้นที่ที่ใช้จัดเก็บคลังคำศัพท์ไม่รวมถึงหลักไวยากรณ์ หรือรูปประโยคแต่อย่างใด

งานวิจัยนี้ทำให้เราเห็นว่าในความจริงแล้วการเรียนรู้ความหมายของคำศัพท์ จำเป็นมากกว่าการเรียนรู้ทางหลักไวยากรณ์ และ ปัญหาหลักของการเรียนรู้คือ เราจะมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรให้จำคำศัพท์เหล่านั้นได้

ส่วนคนที่สามารถจดจำ และเรียนรู้ได้ทั้งสองภาษานั้นนักวิจัยกล่าวว่า ในความจริงแล้วคำศัพท์ มารากศัพท์พื้นฐานที่ค่อนข้างคล้ายกันในด้านความหมายสมองของพวกเค้าจึงไม่จำเป็นต้องมีหน่วยความจำมากึ้นเป็นสองเท่าเพื่อเรียนรู้ภาษาที่สอง

อ้างอิง