ปีที่แล้ว เป็นปีแห่งวิกฤตไฟป่า หลังจากทั่วโลกต่างวิตกกังวลกับสถานการณ์ไฟป่าในแคลิฟอร์เนีย ต่อเนื่องมาด้วยไฟป่าครั้งใหญ่ที่ทำร้ายปอดหลักของโลกอย่างป่าแอมะซอน พอสถานการณ์เงียบสงบได้ไม่นาน ก็มาเกิดไฟป่าในออสเตรเลียอีก ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม แล้วข่าวก็เงียบหายไปจากโลกโซเชียล บรรดาสำนักข่าวเลิกลงข่าวคืบหน้า เราต่างก็เข้าใจว่าสถานการณ์อยู่ในภาวะควบคุมได้แล้ว แต่แท้จริงแล้วกลับตกกันข้าม พอข้ามพ้นเข้าปี 2020 ทั่วโลกก็ได้รับรู้ข่าวร้ายกันรับต้นปีว่าสถานการณ์ไฟป่าออสเตรเลียนั้นเข้าสู่สภาวะเลวร้ายหนัก เป็นวิกฤตการณ์ไฟป่าที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในรอบทศวรรษ ไฟป่ายังคงกลืนกินพื้นที่ป่า ชีวิตผู้คนและสัตว์ไปมากมายเกินจะนับไหว เฉพาะแค่รัฐนิวเซาธ์เวล ไฟป่าก็มอดไหม้บ้านเรือนไปแล้วกว่า 1,300 หลัง แม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศแล้วก็ตาม สถานการณ์ก็ยังลุกลามเกินกว่าจะควบคุมได้

ที่น่ากังวลหนักก็คือระยะเวลาไฟป่าที่ลุกลามยาวนานนี้ จะส่งผลต่อเนื่องในระยะยาว แล้วจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงสภาพอากาศในมุมกว้าง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่แย่อยู่แล้ว ให้บานปลายถึงขั้นเลวร้ายและส่งผลกระทบครอบคลุมไปถึงนานาประเทศ ซึ่งสภาวะวิกฤตขณะนี้ ไม่ใช่แค่ปัญหาที่อยู่ในความรับผิดชอบแค่ประเทศเดียวแล้ว แต่เป็นปัญหาลูกโซ่ที่ส่งผลกระทบไปถึงภูมิอากาศในระดับโลกที่เราต่างต้องตื่นตัวแล้ว บทความนี้จะสรุปสถานการณ์ไฟป่าให้เข้าใจกันแบบง่าย ๆ สั้น ๆ ครับ

พื้นที่ไฟป่าออสเตรเลียขณะนี้

ภาพจากดาวเทียมของนาซา ผ่านกระบวนการ 3 มิติ ให้เห็นพื้นที่ไฟป่าของออสเตรเลียในปัจจบัน

ภาพจากดาวเทียมของนาซา ผ่านกระบวนการ 3 มิติ ให้เห็นพื้นที่ไฟป่าของออสเตรเลียในปัจจบัน

อาจกล่าวได้ว่าทุกรัฐในออสเตรเลียต่างได้รับผลกระทบของไฟป่าในขณะนี้ แต่ถ้าพูดถึงรัฐที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤตสุดก็คือ นิว เซาธ์เวล เปลวไฟได้เผาผลาญพื้นที่ป่า รวมไปถึงพื้นที่อุทยานแห่งชาติ บลู เมาน์เทน ด้วย เมืองหลวงของออสเตรเลียทั้ง เมลเบิร์น และ ซิดนีย์ ต่างก็ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง บรรดาชาวบ้านที่อยู่ต่างชานเมืองหลายหลังคาเรือนต่างก็เผชิญกับไฟป่าเช่นกัน ส่วนพื้นที่ในเมืองหลวงก็ได้รับผลกระทบเป็นฝุ่นควันปกคลุมท้องฟ้าหนาแน่น สภาพอากาศในเมืองซิดนีย์เมื่อเดือนธันวาคมนั้นเลวร้ายอย่างหนัก สภาพอากาศทะลุเกินขีดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ไปถึง 11 เท่าตัว

ลักษณะของไฟป่าที่กระจายตัวไปรอบประเทศออสเตรเลียนั้น มีตั้งแต่ไฟกองเล็ก ๆ ที่ผุดขึ้นมาตามชุมชน ที่ใช้เวลาไม่ถึงวันก็ควบคุมได้ ส่วนชนิดที่รุนแรงสุดก็คือไฟป่าที่ครอบคลุมพื้นที่เป็นเฮกเตอร์ (เท่ากับ 100 เอเคอร์ หรือ 10,000 ตรม.) ซึ่งพื้นที่ขนาดนี้ใช้เวลาเป็นเดือนก็ยังไม่สามารถควบคุมได้

สาเหตุไฟป่าเกิดจากอะไร

ตัวอย่างการเกิด "ฟ้าผ่าแห้ง" สาเหตุหนึ่งของไฟป่า

ตัวอย่างการเกิด “ฟ้าผ่าแห้ง” สาเหตุหนึ่งของไฟป่า

หลากหลายสาเหตุของไฟป่าครั้งนี้ ถูกตั้งขึ้นเป็นสมมติฐาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ว่า ไฟเกิดจากภัยพิบัติธรรมชาติ ซึ่งออสเตรเลียก็ประสบเหตุไฟป่าเป็นปกติอยู่แล้วในช่วงฤดูร้อน ที่อากาศร้อนจัด และแห้งมาก ทำให้เกิดไฟป่าและลุกลามเป็นพื้นที่กว้างได้ง่าย บ่อยครั้งที่เกิดไฟป่า แล้วมักจะอ้างว่าเกิดจากเหตุธรรมชาติอยู่บ่อยครั้ง อย่างเช่นฟ้าผ่าในพื้นที่เป็นป่าที่สภาพอากาศแห้ง เมื่อเดือนธันวาคม ที่เพิ่งผ่านมานี้ เกิดไฟป่าขึ้นหลายจุดในบริเวณ วิกตอเรียตะวันออก มีการตั้งสมมติฐานว่าเกิดจาก “ฟ้าผ่าแห้ง” (Dry Lightning ฟ้าผ่าในขณะที่ไม่มีฝนตก) แล้วไฟป่าในครั้งนี้ก็ลุกลามครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 20 ตารางกิโลเมตร ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 5 ชั่วโมงเท่านั้น

บางครั้งไฟป่าก็เกิดจากฝีมือมนุษย์นี่ล่ะ หลักฐานล่าสุด เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 เจ้าหน้าดับเพลิงนิว เซาธ์เวล จับกุมเด็กหนุ่มวัย 19 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้อาสาสมัครร่วมดับเพลิง ในข้อหาว่าเป็นผู้วางเพลิงมากกว่า 7 ครั้ง ในช่วงเวลา 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ด้วยการวางแผนไว้ล่วงหน้า

ทำไมไฟป่าออสเตรเลียครั้งนี้ ถึงรุนแรงกว่าทุกครั้ง

18 ธันวาคม 2019 วันที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย

18 ธันวาคม 2019 วันที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย

คือที่ผ่านมา ช่วงฤดูไฟป่าในออสเตรเลียปกติก็อันตรายอยู่แล้ว ย้อนไปดูเหตุการณ์รุนแรงในอดีตเมื่อปี 2009 เกิดภัยพิบัติไฟป่าชื่อ “Black Saturday” ครั้งนั้นก็คร่าชีวิตพลเรือนในรัฐวิกตอเรียไปถึง 173 คน เป็นเหตุการณ์ไฟป่าที่คร่าชีวิตพลเรือนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และแล้วก็มาถึงปีนี้ที่วิกฤตการณ์ไฟป่ารุนแรงกว่าปกติอีกครั้ง เปลวเพลิงเริ่มแพร่สะพัดไปในทิศทางที่เจ้าหน้าที่เริ่มควบคุมได้ยากกว่าปกติที่ผ่านมา ส่อเค้าวิกฤตการณ์เลวร้ายตั้งแต่เริ่มต้น

สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้สถานการณ์ไฟป่าในปีนี้เลวร้ายและรุนแรงกว่าที่ผ่านมาก็เพราะประเทศออสเตรเลียกำลังเข้าสู่สภาวะอากาศแห้งแล้งที่สุดในรอบทศวรรษ กรมอุตุนิยมวิทยาของออสเตรเลียเผยว่า ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมานั้น ออสเตรเลียตกอยู่ในสภาวะแห้งแล้งที่สุดในประวัติศาสตร์ ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ออสเตรเลียยังประสบกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงที่สุดและครอบคลุมพื้นที่กว้างสุดในประวัติศาสตร์อีกด้วย บางเมืองต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงถึง 40 องศาเซลเซียสเลยด้วย

พออากาศแห้งจัด ก็เกิดเหตุไฟป่าได้ง่าย แล้วพอไฟป่าเกิดขึ้นแล้ว ได้รับลมแรงมาช่วยสมทบอีก ทำให้ไฟป่ากระจายพื้นที่ในวงกว้างอย่างรวดเร็วและรุนแรงถึงขั้นมีการเสียชีวิต อาสาสมัครหนุ่มวัย 28 รายหนึ่งในรัฐ นิว เซาธ์เวล ต้องสังเวยชีวิตด้วยเหตุลมพัดรุนแรงจนรถกระบะของเขากลิ้งไปมา แล้วตัวเขาก็เสียชีวิตอยู่ในรถ

ผู้เชี่ยวชาญออกมาวิเคราะห์สถานการณ์ภาครวมในช่วงนี้ว่าเกิดจากสภาวะอากาศโลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เลวร้ายมากขึ้น โลกมนุษย์จะต้องเจอกับภัยพิบัติธรรมชาติมากขึ้นทั้งน้ำท่วมและไฟป่า เรายังจะต้องเจอกับภัยพิบัติธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นกว่านี้กันอีก แต่ละประเทศอาจจะต้องเจอกับฤดูไฟป่าที่เกิดเร็วขึ้นกว่ากำหนด และรุนแรงกว่าที่ผ่านมา

มองไปที่ผู้บริหารระดับชาติของออสเตรเลียว่ามีการตื่นตัวกับสภาวการณ์นี้กันขนาดไหน มีการคาดการณ์ถึงสถานการณ์เลวร้ายนี้ล่วงหน้าแล้ว อดีตอธิบดีสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของนิว เซาธ์เวล ตื่นตัวกับเค้าลางเกิดเหตุครั้งนี้ เขาได้ส่งจดหมายโดยตรงถึงประธานาธิบดี สก็อตต์ มอร์ริสัน เตือนว่าออสเตรเลียกำลังจะประสบกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศอย่างรุนแรง ซึ่งประธานาธิบดีสก็อตต์ ก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อคำเตือนนี้ ตอบรับด้วยการออกมาตรการ “ควบคุมการปล่อยสารคาร์บอน” อย่างจริงจัง แล้วก็ติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ได้มีเพียงมาตรการนี้เท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับทุกมาตรการที่จะมีผลต่อการควบคุมการเกิดไฟป่าในประเทศอีกด้วย

ความเสียหายจากไฟป่าครั้งนี้

หญิงเจ้าของบ้านมาสำรวจซากเถ้าถ่านของบ้านเธอเอง หลังถูกเพลิงเผาผลาญในเมืองนิมบอยดา นิวเซาธ์เวล

หญิงเจ้าของบ้านมาสำรวจซากเถ้าถ่านของบ้านเธอเอง หลังถูกเพลิงเผาผลาญในเมืองนิมบอยดา นิวเซาธ์เวล

ทั่วทั้งประเทศออสเตรเลียต่างได้รับผลกระทบจากไฟป่าครั้งนี้ ประชาชนในหลาย ๆ รัฐต่างต้องสูญเสียที่อยู่อาศัย นิว เซาธ์เวล เป็นรัฐที่ประสบปัญหาหนักสุด กว่า 1,300 ครอบครัวต้องสูญเสียบ้าน และอีกกว่า 440 หลังคาเรือนต่างได้รับความเสียหาย ถึงตอนนี้ไฟป่าได้เผาผลาญพื้นที่ไปแล้วกว่า 14.7 ล้านเอเคอร์ (37.19 ล้านไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 6 รัฐ (ถ้าประเมินพื้นที่ความเสียหายนี่กว้างกว่า ประเทศเบลเยี่ยม กับไฮติ รวมกันเสียอีก) อย่างที่กล่าวไป รัฐ นิว เซาธ์เวล ได้รับความเสียหายหนักสุด พื้นที่ในรัฐถึง 8.9 ล้านเอเคอร์ (22.51 ล้านไร่) โดนไฟป่าเผาผลาญไปเรียบร้อยแล้ว แล้วไฟป่าครั้งนี้ยังได้คร่าชีวิตไปแล้ว 24 ราย ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและอาสาสมัครกู้ภัย และที่น่าสลดไปกว่านั้นคือเหล่าโคอาลา ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองจากภัยพิบัติครั้งนี้ได้ ต้องเสียชีวิตไปมากถึง 1 ใน 3 ของจำนวนโคอาลาทั้งหมดในรัฐนิว เซาธ์เวล แล้วไฟป่ายังทำลายพื้นที่อยู่อาศัยของเหล่าโคอาลาไปถึง 1 ใน 3 ด้วยเช่นกัน

เปรียบเทียบ 3 เหตุไฟป่าครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในปี 2019 ให้เห็นภาพชัด ๆ

เหตุไฟป่าแอมะซอน ยังเป็นเหตุไฟป่าที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ รวมพื้นที่ที่โดนไฟป่าเผาผลาญมากถึง 17.4 ล้านเอเคอร์ (44.02 ล้านไร่)ตัวเลขนี้ได้รับการเปิดเผยเป็นทางการจากประเทศบราซิล
ส่วนเหตุไฟป่าในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เกิดขึ้นติดต่อกันในปี 2018 และ 2019 ในปี 2018 นั้น พื้นที่เสียหายไป 1 ล้านเอเคอร์ (2.53 ล้านไร่) ส่วนปี 2019 นั้น เสียหายไป 247,000 เอเคอร์ (624,910 ไร่)
เห็นตัวเลขขณะนี้ ก็ได้แต่ภาวนาขอให้ไฟป่าครั้งนี้ถึงการณ์ยุติเสียที อย่าได้รุนแรงไปจนถึงขั้นแซงพื้นที่เสียหายของไฟป่าแอมะซอนเลย

ทางการออสเตรเลียและความร่วมมือจากนานาชาติได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง

เครื่องบินกำลังทิ้งสารที่ชะลอเปลวเพลิงลงพื้นที่ไฟป่า

เครื่องบินกำลังทิ้งสารที่ชะลอเปลวเพลิงลงพื้นที่ไฟป่า

หน่วยงานรัฐฯ และรัฐบาลกลางได้ร่วมมือต่อสู้กับไฟป่ามาตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแล้ว รัฐนิว เซาธ์เวล และ ควีนส์แลนด์ ได้ออกประกาศเตือนภัยให้พื้นที่รัฐอยู่ในภาวะฉุกเฉิน รัฐบาลกลางได้มอบหมาย สิทธิและอำนาจพิเศษ ให้อธิบดีหน่วยดับเพลิงในรัฐนิว เซาธ์เวลในการจัดสรรทรัพยากรและออกคำสั่งโดยตรงกับหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐให้ดำเนินการได้ตามสมควร ตอนนี้มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิงกว่า 2,300 นาย ได้ลงพื้นที่ และความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา, นิวซีแลนด์ และแคนาดา ก็กำลังตามมาสมทบ

ส่วนรัฐบาลกลางออสเตรเลียก็ได้ออกคำสั่งให้เหล่าทหารบก ทหารอากาศ และทหารเรือ ได้เข้าช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ดับเพลิงในภารกิจต่อสู้ไฟป่าครั้งนี้ พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณกว่า 23 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียเพื่อจุนเจือครอบครัวและธุรกิจที่เป็นเหยื่อของไฟป่านี้ด้วย สำหรับอาสาสมัครดับเพลิงที่ลงพื้นที่มาแล้วกว่า 10 วัน จะได้รับเงินตอบแทนในภารกิจครั้งนี้มากถึง 6,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 125,000 บาท)

มีแนวโน้มว่าไฟป่าออสเตรเลียจะควบคุมได้เมื่อใด?

ภาพจากดาวเทียม แสดงให้เห็นถึงพิษสงอันน่ากลัวของไฟป่า

ภาพจากดาวเทียม แสดงให้เห็นถึงพิษสงอันน่ากลัวของไฟป่า

เป็นหัวข้อที่อ่านมาถึงแล้วจะสลดยิ่งขึ้นครับ

ออสเตรเลียกำลังเข้าสู่ช่วงสภาวะแห้งแล้งที่สุดของปี ก็คือช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ ของทุกปี นั่นแปลว่าสถานการณ์ที่วิกฤตอยู่แล้ว อาจจะเลวร้ายกว่าเดิมอีก ถ้าจะควบคุมสภาวะไฟป่าได้ ก็ยังไม่ใช่ในช่วง 2 เดือนจากนี้

สถานการณ์จากนี้จะรุนแรงสุดและแน่นอนว่าจะส่งผลถึงสภาวะอากาศโลกให้แย่ลง เป็นผลกระทบถึงทุกประเทศบนโลกนี้รวมถึงประเทศไทยด้วย สิ่งที่เราทุกคนจะมีส่วนร่วมได้นั้น ก็สามารถร่วมบริจาคกับทุกหน่วยงานและหลากหลายกิจกรรมที่กำลังเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ที่ต่างช่วยระดมทุนทรัพย์ส่งไปสนับสนุนหน่วยงานและอาสาสมัครดับเพลิงที่กำลังเสี่ยงภัยต่อสู้ไฟป่าอยู่ในขณะนี้ ใครไม่มีกำลังทรัพย์ก็ช่วยส่งแรงใจกันครับขอให้ไฟป่าครั้งนี้ยุติได้โดยเร็วทีเถอะ

 

อ้างอิง