หลังจากเกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 กันแล้ว เรามาดูทางด้านงานวิจัยเพื่อหาวิธีการรับมือกับเจ้าเชื้อร้ายตัวนี้กันบ้างดีกว่า เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมามีข่าวงานวิจัยที่น่าสนใจของเชื้อ Covid-19 ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Science

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Texas และสถาบันสุขภาพแห่งชาติได้ทดลองสร้างโครงสร้างสามมิติของ Covid-19 เมื่อมันอยู่ในเซลล์มนุษย์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่นักวิจัยทั่วโลกใช้เพื่อพัฒนาวัคซีนและยาต้านไวรัส นับเป็นโชคดีที่ก่อนหน้านี้รองศาสตราจารย์ Jason McLellan ได้ใช้เวลาหลายปีไปกับการศึกษาเชื้อไวรัสโคโรนาอย่าง SARS-CoV และ MERS-CoV ทำให้การจับโครงสร้างง่ายต่อการวิเคราะห์ และง่ายต่อการคาดเดารูปแบบการเรียงตัวของโปรตีนในเชื้อที่กลายพันธุ์

เพียง 2 สัปดาห์หลังจากที่ได้รับลำดับจีโนมเชื้อมาจากนักวิจัยชาวจีน พวกเขาใช้เวลาเพียง 12 วันเท่านั้นในการออกแบบโครงสร้างเชื้อสามมิติที่มีความเสถียรที่เรียกว่า ‘โครงสร้างโมเลกุลของสไปค์โปรตีน’ ก่อนจะใช้เวลาในการตรวจสอบความถูกต้องอีกหลายเดือน ถึงแม้โครงสร้างที่ทีมวิจัยได้มาจะเป็นเพียงแค่ส่วนนอกเซลล์ แต่นั่นก็เพียงพอที่จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในมนุษย์ และทำหน้าที่เป็นวัคซีนได้

spike-protein-structure

แล้วสิ่งที่ได้จากห้องแลบนี้มีความสำคัญอย่างไร?

หลังจากที่ทำการตรวจสอบเสร็จสิ้นทีมวิจัยของ McLellan วางแผนที่จะใช้โมเลกุลของพวกเขาเป็นโครงสร้างในการแยก Covid-19 ออกจากการสร้าง Antibodies ในผู้ป่วยที่เคยได้รับเชื้อ Covid-19 และได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว ซึ่ง Antibodies ในปริมาณที่มากพอจะสามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อโคโรนาได้ทันทีหลังจากที่ได้รับเชื้อ นับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ต้องลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อสูง และวิธีนี้จะตอบสนองต่อการรักษาได้เร็วกว่าในขณะที่วัคซีนยังคงต้องรอระยะเวลาการกระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกสักระยะ

อ้างอิง UT NEWS

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส