ความเชื่อที่พูดต่อ ๆ กันมาคือ 1 ปีของสุนัขมีอายุเท่ากับ 7 ปีของมนุษย์ โดยสุนัขมีอายุประมาณ 12 ปีมนุษย์ นั่นหมายความว่าสุนัขมีอายุประมาณ 84 ปี แต่จากงานวิจัยล่าสุดจะทำให้เราลบล้างความเชื่อเก่า ๆ ได้เลยเพราะ 1 ปีของสุนัขนั้นไม่ได้เท่ากับ 7 ปีของมนุษย์ครับ

อ้างอิงจากงานวิจัยล่าสุดชื่อ Quantitative Translation of Dog-to-Human Aging by Conserved Remodeling of the DNA Methylome ที่เผยแพร่บนวารสาร Cell การเทียบอายุสุนัข 1 ปีเท่ากับ 7 ปีมนุษย์นั้นไม่ถูกต้อง โดยการวิจัยนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากสุนัขพันธ์ลาบราดอร์ 104 ตัว อายุตั้งแต่ 1 สัปดาห์ – 16 ปี ซึ่งจากการศึกษา DNA พบว่า

  • สุนัขจะมีอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวัยละอ่อนแต่เริ่มช้าลงเมื่ออายุมากขึ้น
  • ในปีแรกของสุนัขจะมี methyl groups ที่มากกว่ามนุษย์ ดังนั้น สุนัขอายุ 8 สัปดาห์ก็เท่ากับมนุษย์อายุ 9 เดือนแล้ว และเมื่อเวลาผ่านไป การสะสมของ methyl groups จะน้อยลงเรื่อย ๆ เป็นเหตุผลว่าทำไมยิ่งสุนัขโตมากเท่าไหร่ จะยิ่งแก่ช้าลง

ในการเทียบอายุสุนัขกับคนไม่สามารถเทียบแบบเอาอายุคนคูณ 30 ได้ตรง ๆ หรือคูณ 7 ในแบบที่ทำ ๆ กันมา แต่ตองใช้การเทียบสมการเอา โดยมีสูตรคือ อายุคน = 16ln(อายุสุนัข) + 31. (ลอการิทึม) ตัวอย่าง ผลที่ได้จากการคำนวนด้วยสมการดังกล่าวพบว่า สุนัขอายุ 6 ปีจะเท่ากับ 60 ปีของมนุษย์ ส่วนสุนัขอายุ 12 ปีจะเท่ากับ 70 ปีมนุษย์ เป็นต้น

ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวเก็บแค่พันธ์ลาบลาดอร์เท่านั้น หากเป็นพันธ์ุอื่นน่าจะมีความแตกต่างด้านตัวเลขของอายุครับ

นอกจากนี้ Lucy Asher ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมสัตว์ (แต่ไม่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย) ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่าเราจะพอเปรียบเทียบอายุคนกับสัตว์ได้ แต่คุณลักษณะอื่น ๆ อย่างเช่น เรื่องฮอร์โมนและพฤติกรรมนั้นไม่สามารถเทียบกันได้ อย่างเช่น กรณีที่คนอายุ 30 ปี อาจมีอายุเซลล์ที่ใกล้เคียงกับสุนัขอายุ 1 ปี แต่สุนัขส่วนมากยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ในอายุเท่านี้ รวมถึงยังมีฮอร์โมนและพฤติกรรมที่ยังไม่คงที่อีกด้วย

อ้างอิง BusinessInsider

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส