ทุกวันนี้โลกเรากำลังเร่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ความต้องการแร่ธาตุสำคัญก็พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งวัสดุอย่างลิเทียม โคบอลต์ และกราไฟต์ กลายเป็นส่วนประกอบหลักของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า, กังหันลม, แผงโซลาร์เซลล์ และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดอื่น ๆ ที่มีบทบาทมากขึ้นในระบบพลังงานของโลก

เมื่อความต้องการสูงขึ้น การทำเหมืองแร่บนบกอาจไม่เพียงพออีกต่อไป หลาย ๆ ฝ่ายจึงเริ่มหันไปมองทรัพยากรใต้ทะเลมากขึ้น เพราะมีแหล่งแร่โลหะมากมาย กระจายอยู่ทั่วในพื้นที่มหาสมุทรกว้างใหญ่หลายล้านตารางกิโลเมตร

ล่าสุด Reuters รายงานว่า ทำเนียบขาวกำลังพิจารณาออกคำสั่งให้สามารถทำเหมืองในทะเลลึกในน่านน้ำสากลได้ หากคำสั่งนี้ได้รับการลงนาม จะถือเป็นอีกหนึ่งความพยายามของทรัมป์ในการเข้าถึงแหล่งแร่ธาตุระหว่างประเทศ อย่าง นิกเกิลและทองแดง 

โดยการทำเหมืองในทะเลลึกเพื่อหาก้อนแร่ ‘โพลีเมทัลลิก’ (Polymetallic Nodules) ต้องใช้เครื่องจักรหนักหลายชิ้นที่ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรวบรวมและจัดเก็บก้อนแร่ได้อย่างประสบความสำเร็จและปลอดภัย กระบวนการแต่ละอย่างเหล่านี้จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เฉพาะ ที่หลัก ๆ จะสร้างมาเพื่อเครื่อง ‘Subsea Collector’ ดังต่อไปนี้ 

แร่ ‘โพลีเมทัลลิก’ (Polymetallic Nodules)

เรือสนับสนุนการผลิต (Production Support Vessel) 

เรือ PSV

เรือสนับสนุนการผลิต หรือ PSV (Production Support Vessel) เป็นเรือที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมและจัดเก็บ ก้อนแร่โพลีเมทัลลิก ที่ถูกขุดขึ้นมาจากก้นทะเล

โดยปกติแล้ว เรือเหล่านี้ถูกดัดแปลงมาจากเรือขุดเจาะน้ำลึกที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ซึ่งมีระบบควบคุมตำแหน่งแบบไดนามิก (Dynamic Positioning) เพื่อช่วยให้เรือสามารถลอยตัวอยู่กับที่ได้แม้จะอยู่กลางทะเลลึก

เรือ PSV ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่รองรับการขุดเหมืองใต้ทะเลเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์กลางของการควบคุม, การจัดการพลังงาน และการประมวลผลก้อนแร่ ก่อนนำส่งขึ้นฝั่งอีกด้วย

Subsea Collector

Subsea Collector

เครื่องเก็บก้อนแร่ใต้ทะเล หรือ Subsea Collector เป็นยานพาหนะใต้น้ำที่ถูกออกแบบมาให้เคลื่อนที่ไปตามก้นทะเล เพื่อเก็บรวบรวมก้อนแร่โพลีเมทัลลิกที่กระจายอยู่บนพื้นมหาสมุทร 

ซึ่งเรือ PSV แต่ละลำจะมีเครื่องเก็บก้อนแร่ใต้ทะเลอย่างน้อยหนึ่งตัวติดตั้งอยู่ ซึ่งได้รับพลังงาน การควบคุม และการสนับสนุนต่าง ๆ จากตัวเรือโดยตรง

เครื่องเก็บก้อนแร่ใต้ทะเลจะเคลื่อนที่ไปตามพื้นมหาสมุทรอย่างช้า ๆ ขณะเก็บรวบรวมก้อนแร่ โดยทั่วไปแล้วจะใช้ ล้อสายพาน (Caterpillar Tracks) เป็นระบบขับเคลื่อนเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างมั่นคงบนพื้นทะเลที่ขรุขระ

วิธียกก้อนแร่กลับขึ้นมาด้วย ‘Riser Air Lift System’

มีหลายวิธีในการยกก้อนแร่โพลีเมทัลลิกขึ้นจากก้นทะเล แต่ระบบยกด้วยอากาศแรงดัน (Riser Air-Lift System – RALS) เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด ระบบนี้ใช้การอัดอากาศเข้าไปในท่อส่งก้อนแร่ ทำให้น้ำมีความหนาแน่นลดลงและเกิดแรงลอยตัว และจะดันก้อนแร่ขึ้นสู่ผิวน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Surface Separator Equipment

เครื่องแยกส่วนหมุนเหวี่ยง (Centrifugal Separator)

เมื่อน้ำ, ก้อนแร่ และอากาศ ถูกส่งขึ้นมาจากระบบ RALS ถึงเรือ PSV ก็ต้องทำการแยกแต่ละส่วนออกจากกัน โดยทั่วไปแล้วจะใช้ Centrifugal Separator หรือเครื่องแยกส่วนหมุนเหวี่ยง 

อุปกรณ์จะนี้ใช้ในการแยกก้อนแร่ออกจากน้ำและอากาศ โดยมีของเหลวไหลเข้าไปในตัวแยกที่มีรูปทรงวงกลมในลักษณะมุมเอียง และไหลไปรอบขอบของตัวแยก

และก้อนแร่ก็จะถูกแยกออกไปจากน้ำ โดยที่ส่วนที่มีความหนาแน่นสูงจะถูกดันออกไปที่ขอบนอก ส่วนที่มีความหนาแน่นต่ำจะยังคงอยู่ในส่วนกลางของการไหล ทำให้เราแยกก้อนแร่ธาตุออกมาได้ง่าย ๆ นั่นเอง

สรุปแล้วจะเป็นอย่างไรต่อ ?

แม้ว่าจะมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับมหาสมุทรมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว แต่ข้อมูลที่เรามียังคงจำกัด หลายฝ่ายจึงกังวลว่าการสกัดแร่จากใต้ทะเลอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล และอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมของโลก

แต่จริง ๆ แล้ว การทำเหมืองใต้ทะเลสามารถดำเนินการได้ภายในน่านน้ำอธิปไตยของแต่ละประเทศ หรือในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone – EEZ) ซึ่งครอบคลุมระยะประมาณ 200 ไมล์ทะเล (370.4 กิโลเมตร) จากชายฝั่ง ตามกฎหมายระหว่างประเทศ

ปัจจุบันมีหลายประเทศที่เริ่มลงทุนในการทำเหมืองใต้ทะเลภายในน่านน้ำของตนเอง เช่น หมู่เกาะคุก, นอร์เวย์ และญี่ปุ่น โดยมีการสำรวจและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสกัดแร่ธาตุจากพื้นมหาสมุทร ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญในอนาคต

เนื้อหาล่าสุด

เผยสเปกเต็ม vivo X200s ก่อนเปิดตัวจริง 21 เม.ย. นี้ : ชิปเซตเรือธงใหม่ Dimensity 9400+

vivo เตรียมเปิดตัว X200s และ X200 Ultra ในวันที่ 21 เมษายน 2025 นี้ หลังจากที่ได้เปิดตัว X200 รุ่นมาตรฐานไปเมื่อเดือนตุลาคม 2024

ชวนอาสาสมัครทั่วโลกเสริมศักยภาพให้กับเยาวชนภูฏาน สร้างทักษะสำคัญของโลกยุคใหม่

The De-Suung Skilling Programme หรือ DSP เป็นโครงการเชิญชวนผู้ฝึกสอนอาสาสมัครจากทั่วโลก และผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายอุตสาหกรรมต่าง ๆ ...อ่านต่อ

WhatsApp กำลังทดสอบฟีเจอร์ห้าม Export บันทึกแชต และการเซฟมีเดียแบบอัตโนมัติ

เว็บไซต์ WABetaInfo เผยว่า WhatsApp กำลังทดสอบฟีเจอร์ "เพิ่มความเป็นส่วนตัวของแชตขั้นสูง" ที่จะทำให้ผู้ใช้ห้ามไม่ให้คู่สนทนา Export บันทึกการสนทนาออกไป ...อ่านต่อ

นักวิเคราะห์ชี้ ธุรกิจผลิตชิปของ Intel ไม่มีทางสู้ TSMC ได้ และควรเลิกทำธุรกิจนี้ซะ

นักวิเคราะห์ธุรกิจจาก Citi ตั้งคำถามในความสำเร็จของกิจการร่วมค้า (Joint Venture - JV) ระหว่าง Intel และ TSMC ที่จะใช้โรงงานของ Intel ในการผลิตชิปว่าไม่น่าจะมีธุรกิจสนใจมาลงทุนมากนัก

Honor จะเปิดตัว Power สมาร์ตโฟนระดับกลาง แบตฯ ใหญ่ 7,800 mAh ในวันที่ 15 เม.ย. นี้

Honor ได้ยืนยันว่าจะเปิดตัว Honor Power พร้อมแบตเตอรี่ใหญ่ อย่างเป็นทางการที่ประเทศจีน ในวันที่ 15 เมษายน 2025 เวลา 19.30 น.