ในที่สุดบริษัท ฟิลิปส์ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ก็ทำตลาดฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) หลอดไฟอัจฉริยะ อย่างเป็นทางการในไทยสักที หลอดไฟที่สามารถเปลี่ยนเฉดสีได้หลากหลายสี ทำงานได้ด้วยการควบคุมผ่านแอปพลิเคชั่น หรือ การสั่งงานด้วยเสียง (Voice control) วันนี้แบไต๋ขอรีวิวให้ดูกันเบื้องต้นกับการควบคุมผ่าน แอปพลิเคชั่น นะคะ

ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) ทำมาเพื่อเจาะกลุ่มไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ที่สนใจในการสร้างบรรยากาศให้กับความบันเทิงภายในห้องหรือบริเวณบ้าน พร้อมผนวกเทรนด์ Internet of Things” (IoT) เข้าสู่การใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน “ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) 

ตัวที่เราจะมีรีวิวให้ดูกันคือ Philips Hue Starter Kit – หลอดไฟเปลี่ยนสีอัจฉริยะ 3 หลอด พร้อม Philips Hue Bridge (ราคา 6,990 บาท)

  • ชุดเริ่มต้น Bridge+Bulbs พร้อมใช้งานได้ทันที
  • หลอดไฟขั้วมาตรฐานแบบ E27
  • ปรับค่าสีได้สูงสุด 16 ล้านสี
  • Sync ได้กับทุก Mood & Tone เช่น หนัง เพลง หรือ เกมส์
  • สั่งงานผ่าน Voice Control บน Smartphone
  • เชื่อมต่อกับ Smartphone ได้สูงสุด 10 เครื่อง
  • รองรับการใช้งานผ่าน Application ทั้งระบบ iOS และ Android

เริ่มต้นด้วยการติดตั้งกันก่อนเลยค่ะ (แอบยากนิดหน่อยสำหรับคุณผู้หญิงที่ต้องติดตั้งเอง T T)

  • ก่อนอื่นเลยคือการต่อหลอดไฟค่ะ (ซึ่งตัว “ฟิลิปส์ ฮิว” มี 3 รูปแบบด้วยกัน ไปตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.beartai.com/news/it-thai-news/227015)
  • จากนั้นคือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ซึ่งภายในกล่องมีอุปกรณ์มาให้ดังนี้
    • ตัวกล่องปล่อยสัญญาณ
    • สายแลน
    • ตัวปลั้กที่ใช้เสียบเพื่อเปิดการทำงาน
    • และก็หลอดไฟ “ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) แบบหัวเกลียวค่ะ
  • การเชื่อมต่ออุปกรณ์ก็คือ
    • นำตัวกล่องปล่อยสัญญาณมาเชื่อมต่อกับสายแลน (จริง ๆ ใช้สายแลนของที่มีที่บ้านก็ได้นะคะ ไม่ต้องใช้สายที่เขาให้มาก็ได้อ่ะ)
    • จากนั้นก็เชื่อมต่อกับปลั้ก แล้วก็เสียบปลั้กเข้ากับเต้าเสียบภายในห้อง หรือ ภายในบ้าน (สังเกตการทำงานคือ จะมีสัญญาณไฟสีฟ้าขึ้นมา 3 จุดค่ะ)

ต่อมาคือการโหลดตัวแอปพลิเคชั่นเพื่อควบคุมการทำงานของหลอดไฟ “ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue)

  • แอปพลิเคชั่นหลักที่เราต้องโหลดคือ แอปฯที่ชื่อว่า Philips Hue สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android (ไม่มีค่าใช้จ่ายน้า
  • ซึ่งแอป “ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) จะสามารถควบคุมการเปิด-ปิด , การลดแสง-เพิ่มแสง , หรือตั้งระยะเวลาการเปิด-ปิดหลอดไฟ ผ่านทางแอปพลิเคชั่นได้เลยด้วย (เหมาะสำหรับคนที่ขี้เกียจลุกขึ้นไปปิดปุ่มสวิตช์ไฟ)
  • เราจะต้องโหลดแอปฯย่อยเพื่อให้หลอดไฟ “ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) ทำงานตามกิจกรรมที่เราต้องการด้วย ได้แก่
    • แอปฯ Philips Hue gen 1 : เพื่อช่วยเชื่อมต่อกับแอปฯย่อยอีกที (แอบยุ่งยากนิดหน่อย) ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแอปพลิเคชั่นที่เสียค่าใช้จ่ายนะคะ

แต่เดี๋ยวก่อนเรามีแอปฯฟรีมาให้ด้วยค่า ^^ นั่นคือ

  • แอปพลิเคชั่น(ฟรี) ที่ใช้เชื่อมต่อคลังเพลงของคุณเพื่อให้หลอดไฟเปลี่ยนสีคือ Musicbox ซึ่งจะมีให้เราเลือกว่าต้องการจะเชื่อมต่อเพลงจากที่ไหนมาฟัง
  • แต่ถ้าไม่อยากเลือกเพลงให้ยุ่งยากก็โหลดแอปฯที่ชื่อว่า HueManic : เป็นแอปฯที่มีดนตรีมาให้เราเลือกเล่นได้เลย
  • ส่วนแอปพลิเคชั่น(ฟรี) อีกตัวที่ทำให้หลอดไฟเปลี่ยนสีเมื่อเราดูวิดีโอจาก Youtube คือ Hue Ambilight ค่ะ

สรุป (ตามความสามารถที่เราใช้งานจริง) คือ… เจ้าหลอดไฟ “ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) เขาก็ช่วยสร้างความบันเทิงเพิ่มมากขึ้นไปจากเดิม ช่วยเพิ่มสีสัน เพิ่มบรรยากาศได้โอเคเลยค่ะ ซึ่งหลอดไฟ “ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) ก็เปลี่ยนสีตามภาพบรรยากาศในวิดีโอได้ถูกต้องจริง ๆ ตามวิดีโอจาก Youtube หรือดนตรีที่เราเลือกเลย จากที่เราดูวิดีโอหรือฟังเพลงกับบรรยากาศภายในห้อง หรือ ภายในบ้านแบบเดิมๆ ก็เปลี่ยนมาเป็นบรรยากาศที่ช่วยเพิ่มอรรถรสในความบันเทิงให้เราตื่นตาตื่นใจมากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของแต่ละบุคคลด้วยนะคะ ว่าอยากจะมีเจ้าตัวหลอดไฟ “ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) ไว้ใช้งานรึเปล่า!!

หากสนใจผลิตภัณฑ์หลอดไฟอัจฉริยะ “ฟิลิปส์ ฮิว” (Philips Hue) สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ ร้านขายอุปกรณ์ Gadget ชั้นนำ หรือ เว็บไซต์ www.lazada.co.th ค่ะ