ไมโครซอฟท์เปิดโอกาสให้เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์และผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาการทำคอนเทนต์ให้ง่ายและสร้างสรรค์มากขึ้นด้วย Copilot พร้อมครีเอเตอร์ที่เข้ามาแชร์ประสบการณ์การใช้งาน AI ในการทำคอนเทนต์ และบอกเล่าว่า “AI เข้ามาเปลี่ยนการใช้ชีวิตอย่างไรบ้าง ?” และประเด็นนี้เองที่ไมโครซอฟท์จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ Copilot นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ที่จะทำให้การทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันของคุณง่ายขึ้น

Copilot ในการทำคอนเทนต์ เด่นเรื่องอะไรบ้าง ?

“พ่อมดติ๊กต๊อก” หนึ่งในอินฟลูเอนเซอร์บนแอปฯ TikTok และเป็นผู้ใช้งาน Copilot ในการทำคอนเทนต์ก็ได้มาอธิบายว่าได้นำ Copilot ไปใช้งานแบบ ‘IAS’ เพื่อปั้นคอนเทนต์ให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย และทำความเข้าใจ Target ผ่านรูปแบบการสร้างคอนเทนต์ผ่านตัวเอง

  • Idea : ปลดล็อกไอเดียสุดสร้างสรรค์ด้วย Copilot ช่วยคิดคอนเทนต์สดใหม่อยู่เสมอ พร้อมแนะนำแนวทางการทำคอนเทนต์
  • Analysis : วิเคราะห์เทรนด์และประสิทธิภาพคลิป เพื่อให้ทันกระแสและน่าดึงดูด
  • Segmentation : เข้าใจกลุ่มเป้าหมายผ่านสคริปต์สรุป วิเคราะห์ไลฟ์สไตล์และความต้องการของแฟน ๆ

Copilot อยู่ทุกที่ที่เราอยู่ และสามารถเข้าใจรูปแบบการใช้งานของเราด้วย

หากเข้าไปหน้า SERP เมื่อโหลดแอปฯ เราจะเห็น ‘Ask copilot’ ข้าง ๆ Search bar ซึ่งตรงนี้เราก็สามารถใช้ค้นหาได้ทันที หรือจะใช้เสียงพูดเพื่อแปลภาษาแบบเรียลไทม์ มาดูกันว่านอกจากนี้มีฟีเจอร์อะไรบ้าง และแน่นอนว่าหากเข้าไปในหน้าแรกของ Copilot (หน้า Discover) เราจะเจอกับหน้าที่ Customized มาให้คุณโดยเฉพาะ โดยอ้างอิงจากลักษณะ และคำสั่งที่มาจากการใช้งานของคุณเอง

  • Copilot daily – Personalized content หรือเนื้อหาสำหรับผู้ใช้งานโดยเฉพาะ เช่น เช้านี้อยากฟังเพลงอะไร ร้านอาหารที่น่าจะถูกใจมีร้านไหนบ้าง
  • Weather forecast – บอกสภาพอากาศ และการคาดการณ์สภาพอากาศให้คุณ
  • ฟีเจอร์แนะนำ – ตัวนี้จะเข้ามาแนะนำเนื้อหาต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสูตรอาหาร หรือการแนะนำที่คัดมาแล้วว่าน่าจะเหมาะกับผู้ใช้งาน

ในส่วนของ Chatbot ก็จะเน้นการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น โดยจะเน้นการป้อนพรอมต์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

  • Quick response – ถาม/ตอบแบบเร็ว ด่วน ทันใจ สำหรับการพูดคุยที่เน้นสั้น ๆ ไม่ได้ต้องการเนื้อหาที่ลึกมาก
  • Think Deeper – เน้นเนื้อหาที่ลึกขึ้น เนื้อหาจะยาวมากขึ้น
  • อัปโหลดไฟล์ – สามารถอัปโหลดไฟล์เพื่อวิเคราห์ วิจารณ์ และอ่านได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาเปรียบเทียบได้ด้วย
  • อัปโหลดรูป – สามารถอธิบายเนื้อหาในรูปได้ เช่น ให้ Copilot สรุปหรือรีวิวหนังสือเพียงแค่ถ่ายรุปปกหนังสือแล้วอัปโหลดลงไปในช่องคำถาม

ข้อจำกัด การเข้าถึงเนื้อหาการใช้งานและนโยบาย (Data usage and policy)

ในส่วนของการ Generate รูปภาพ ไมโครซอฟท์จะยังไม่สามารถ Generate ภาพได้ เพราะยังให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว ในส่วนของ AI Hallucination ซึ่งมักพบเจอใน AI ทั่วไป ตัว Copilot จากไมโครซอฟท์จะแปะลิงก์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องให้ ดังนั้นให้มองว่าตัว copilot นี้เปรียบเสมือนเพื่อนที่สามารถถาม-ตอบเราได้ แต่เรื่องความน่าเชื่อถือยังต้องเช็กเองอยู่

เปรียบเทียบความแตกต่างของ Copilot และ Copilot 365

ตัว Copilot ที่เราพูดถึงจะเน้นถาม-ตอบทั่วไป และเป็นการใช้งานที่ทำได้หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ได้กับไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน แต่ตัว 365 จะเน้นเรื่องการทำงาน ที่มาพร้อม office 365 ดังนั้นจึงจะเน้นไปที่การทำงาน การสรุปประชุม เพราะตัวนี้จะเข้าใจ Agenda สำหรับใช้ในการทำงานโดยเฉพาะ