หลายคนอาจรู้จัก Visa ในฐานะบัตรที่เอาไว้รูดเวลาไปต่างประเทศ แต่ทราบหรือไม่ว่าเป้าหมายของ Visa ไปไกลกว่านั้นมาก #beartai มีโอกาสเดินทางไปเยือนสำนักงานของ Visa ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Visa Innovation Centre ศูนย์รวมไอเดียและกลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่ Visa ใช้รับมือกับยุค Technology Disruption มาทั้งทีก็ขอพูดคุยกับผู้บริหารกันหน่อย เผื่อเขาจะยอมสปอยล์อะไรล้ำ ๆ ให้เราฟัง!

VISA Innovation Center ตั้งอยู่บนชั้น 8 ของอาคาร 71 Robinson Road

VISA Innovation Centre ตั้งอยู่บนชั้น 8 ของอาคาร 71 Robinson Road

Visa Innovation Centre ตั้งอยู่บนชั้น 8 ของอาคาร 71 Robinson Road

VISA Innovation Center ตั้งอยู่บนชั้น 8 ของอาคาร 71 Robinson Road

เมื่อเดินทางถึงก็ได้พบกับคุณ คริส คลาร์ก ประธานบริหารวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่มาแชร์ประวัติของ Visa ที่หลายคนไม่รู้มาก่อน

คุณ คริส คลาร์ก ประธานบริหารวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวต้อนรับทีมงาน #beartai

คุณ คริส คลาร์ก ประธานบริหารวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวต้อนรับทีมงาน #beartai

คุณ คริส คลาร์ก ประธานบริหารวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวต้อนรับทีมงาน #beartai

ย้อนกลับไปเมื่อ 60 กว่าปีก่อน Visa เริ่มจากไอเดียของคุณ Dee Hock ผู้พัฒนาบัตรการันตีการจ่ายหนี้ที่มีชื่อว่า BankAmericard ให้กับชาวเมืองเฟรสโน รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ เพื่อเป็นเครื่องหมายยืนยันว่าเจ้าของบัตรมีความสามารถและความน่าเชื่อถือที่จะจ่ายเงินที่ยืมไปคืนตามกำหนด แต่ผลลัพธ์ก็ไม่ค่อยจะสู้ดีนัก เพราะชาวบ้านต่างเอาบัตรไปรูดปื๊ด ๆ จนติดเงิน ไม่ยอมจ่ายคืนกันเป็นแถว

บัตรเครดิต BankAmericard ก่อนที่จะมาเป็น VISA ในปัจจุบัน

บัตรเครดิต BankAmericard ก่อนที่จะมาเป็น Visa ในปัจจุบัน

หลังจากตัวบัตรได้รับการพัฒนา ระบบก็มีความเสถียรมากขึ้น จากเมืองเล็ก ๆ ที่มีประชากรเพียง 6 หมื่นคน ก็ขยายไปใช้กับธนาคารต่าง ๆ และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Visa ในปี 1976 เพื่อสื่อถึงการยอมรับจากทั่วโลก    

และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของ Cashless Society ในยุคแรก ๆ ก็ว่าได้

ก้าวต่อไปของ VISA 

คุณ คริส คลาร์ก ประธานบริหารวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวต้อนรับทีมงาน #beartai

คุณคริสเล่าต่อว่า Visa กำลังปรับตัวสู่ยุค Technology Disruption จากภาพลักษณ์ที่เป็นผู้ให้บริการเครดิต เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ช่วยผลักดันการใช้จ่ายทั่วโลก ซึ่งศูนย์ Visa Innovation Centre แห่งนี้เปรียบเสมือนคลังสมองที่คิดค้นนวัตกรรม Fintech ใหม่ ๆนั่นเอง 

สิ่งที่น่าสนใจคือ ‘คู่แข่ง’ ของ VISA ไม่ใช่แบรนด์บัตรเครดิต ไม่ใช่ e-wallet และไม่ใช่ธนาคารเจ้าไหนแต่อย่างใด! คุณคริสบอกว่า

“คู่แข่งรายหลักและรายเดียวของ Visa คือเงินสดนั่นเอง! “

คุณ คริส คลาร์ก ประธานบริหารวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวต้อนรับทีมงาน #beartai

ได้ฟังอย่างนี้แล้ว มาดูกันว่า Visa กำลังพัฒนาอะไรที่ศูนย์แห่งนี้!

คุณเจนนี่ ชุง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมและการออกแบบวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เล่าให้เราฟังว่า Innovation Centre แห่งนี้เปิดมาตั้งแต่ปี 2016 แรกเริ่มมีเจ้าหน้าที่จาก 10 กว่าคน จนปัจจุบันมีกว่า 40 คน ซึ่งแต่ละคนมีหน้าที่คิดและพัฒนาโพรเจกต์หลากหลายด้าน ตั้งแต่ Fintech (เทคโนโลยีการเงิน) ไปจนถึงการพัฒนาขั้นตอนการทำงานระดับเบสิค ซึ่ง Visa จะร่วมกับองค์กรที่เป็นพาร์ตเนอร์ ล้วงลึกศึกษาปัญหาที่แท้จริง หรือ Pain Point ของผู้ใช้ สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน ไปจนถึงการ ระดมสมอง (brainstorm) เคาะโจทย์ พัฒนา และสร้างตัวต้นแบบ (Prototype)ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น (จากสมัยก่อนที่อาจกินเวลาหลายเดือน)

บรรยากาศการทำงานของสำนักงาน VISA ขนาด 7,000 ตร.ม.

บรรยากาศการทำงานของสำนักงาน Visa ขนาด 7,000 ตร.ม.

บรรยากาศการทำงานของสำนักงาน VISA ขนาด 7,000 ตร.ม.

เจนนี่ ชุง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมและการออกแบบวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เจนนี่ ชุง ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนวัตกรรมและการออกแบบวีซ่า ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

คุณเจนนี่ได้พาทีมงานเยี่ยมชมตัวอย่างเทคโนโลยี Fintech ที่ Visa กำลังนำมาใช้ในอาเซียน และบ้านเราเช่น

  • การวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล เช่นสิ่งของที่เราชื่นชอบจากโลกออนไลน์ เชื่อมต่อไปยังร้านค้าที่เราเดินเข้าไป เพื่อกำหนดโปรโมชันและสินค้าที่เหมาะกับเราเป็นรายบุคคล ณ จุดขาย (PoS)
ภายในศูนย์ฯ มีการจัดแสดงเวทีหมุนได้ตาม Scenario ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

ภายในศูนย์ฯ มีการจัดแสดงเวทีหมุนได้ตาม Scenario ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

  • ระบบ e-payment และ ต่อประกันรถสาธารณะ อย่างรถตุ๊ก ๆ ซึ่งผู้โดยสารสามารถสแกนจ่ายค่าโดยสารผ่าน QR Code ได้ทันที
    อีกหน่อยเราจะได้ใช้ QR Code จ่ายเงินตุ๊ก ๆ กันแล้ว

    อีกหน่อยเราจะได้ใช้ QR Code จ่ายเงินตุ๊ก ๆ กันแล้ว

นอกจากนั้น Visa กำลังคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มจากการรูดบัตร เพื่อมา ‘สู้’ กับ ‘เงินสด’ เช่น

Contactless Payment (การจ่ายแบบถือบัตรเหนือเครื่องอ่านข้อมูล)

ตัวอย่างบัตร VISA ที่มีสัญลักษณ์ Contactless คล้าย Wifi แนวนอน

ตัวอย่างบัตร VISA ที่มีสัญลักษณ์ Contactless คล้าย Wifi แนวนอน

วีซ่ากำลังทยอยเพิ่มฟังก์ชัน Contactless เข้าไปในบัตร Visa ในประเทศไทย ซึ่งคุณสุริพงษ์ ตันติยานนท์ บอสใหญ่ของ Visa ประเทศไทย บอกว่าน่าจะได้เห็นการใช้อย่างเต็มรูปแบบในปีหน้า (2020) ความพิเศษของระบบ contactless คือเราไม่จะเป็นต้องเสียเวลารอรูดบัตร หรือยื่นบัตรเราให้กับพนักงาน บัตรจะอยู่ในมือเราตลอดเวลา โดยการจ่ายเงินก็เพียงแค่ถือบัตรเหนือเครื่องอ่าน เครื่องก็สามารถอ่านข้อมูล และทำการตัดเงินให้เรียบร้อย สามารถใช้ได้กับทั้งร้านค้ารวมถึงรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งในปีที่ผ่านมานี้ Visa บอกว่าได้ร่วมมือกับ 20 เมืองใน 12 ประเทศเพื่อพัฒนาระบบนี้ ปัจจุบัน Visa ได้ร่วมพัฒนาระบบ contactless ในระบบขนส่งสาธารณะ (เชื่อมกันทั้งหมดระหว่างรถไฟฟ้าบนดิน รถไฟฟ้าใต้ดิน รถเมล์ เรือ และทางด่วน) ในกว่า 150 เมืองทั่วโลก และก็หวังว่าจะได้เห็นกันในไทยในอีกไม่นาน!

Mobile Contactless Payment (การจ่ายโดยใช้มือถือสเแกนเหนือเครื่องอ่านข้อมูล)

วิธีนี้คล้ายการจ่ายเงินแบบ Contactless แต่ไม่ต้องใช้บัตรแต่อย่างใด เพราะข้อมูลบัตรอยู่ในมือถือ เวลาเจอเครื่องสแกนก็แค่เอามือถือ หรือ Smartwatch ไปไว้ใกล้ ๆ เหมาะกับคนรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องการพกบัตรให้พะรุงพะรัง แต่ลูกค้าบางรายก็ยังอยากใช้บัตรแบบพลาสติก เพราะสามารถใช้ได้ยามฉุกเฉิน เช่นเวลามือถือแบตหมด

ระบบ Contactless ถูกนำมาใช้กับสมาร์ตโฟนและสมาร์ตวอทช์

ระบบ Contactless ถูกนำมาใช้กับสมาร์ตโฟนและสมาร์ตวอทช์

QR Payment (การจ่ายผ่านการสแกน QR Code) 

หลายคนสงสัยว่า QR Code ดีกว่า Contacless ไหม เพราะ QR Code ใช้แค่มือถือก็ซื้อของได้ ยิ่งในจีนใช้กันเพียบ เรื่องนี้ทาง Visa บอกว่า ความเร็วของการชำระเงินไม่ต่างกันมาก เพราะเป็นระดับมิลลิวินาที  ส่วนรูปแบบของการใช้จ่ายไม่ว่าจะเป็นบัตรพลาสติก QR Code หรือ Mobile Payment เป็นเรื่องของพฤติกรรมการใช้และความชอบของผู้บริโภค ซึ่งผู้บริหาร Visa เองบอกว่าบริษัทจะยังคงมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีการชำระเงินที่ปลอดภัยและทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และจะให้ผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสินเองว่าจะเลือกใช้แบบไหน แฟร์ดีไหมล่ะ ยกตัวอย่างเช่นในยุโรป ออสเตรเลีย และสิงคโปร์มีการใช้บัตร Contactless กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งจากการพูดคุยกับคุณคูนาล ชาเทอร์จี ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศสิงคโปร์และบรูไนบอกว่าชาวสิงคโปร์เป็นเจ้าของบัตรเครดิตตกอยู่ที่ 5 – 7 ใบต่อคน! แต่สำหรับในจีน และอาเซียนบางประเทศ ทาง Visa เขาก็มีทำระบบ QR ออกมาเพื่อรองรับการจ่ายที่เราคุ้นเคยเช่นกัน โดยจากการสำรวจพบว่าภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ใช้สมาร์ตโฟนถึง 300 ล้านคน

การจ่ายเงินด้วย QR Code บนรถตุ๊ก ๆ

การจ่ายเงินด้วย QR Code บนรถตุ๊ก ๆ

นอกจากนั้น Visa ยังได้ศึกษาถึงความเป็นไปได้ และทำ survey ซึ่งประกฎว่าผู้ใช้จำนวนมากอยากให้มีระบบ Biometric Payment (การจ่ายผ่านการสแกนลายนิ้วมือ)Facial Payment (การจ่ายผ่านการสแกนใบหน้า), หรือเเม้กระทั่ง Chatbot (หุ่นยนต์สนทนา) ในอนาคต

#beartai ลองใช้ Contactless ขึ้นรถไฟฟ้าใต้ดินสิงคโปร์

อีกไม่นานเราคงไม่ต้องรอต่อแถวซื้อบัตร เติมเงิน ที่รถไฟฟ้าให้ยาวเป็นงูเลื้อยตอนวันศุกร์สิ้นเดือนกันแล้ว เพราะ Contactless กำลังจะมาไทย #beartai เลยขอลองใช้จริงซะเลย ที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน Downtown ในสิงคโปร์  พอลองใช้จริงแล้ว บอกเลยว่าง่าย มาก ๆ แค่มีบัตรพรีเพด เดบิต หรือเครดิตที่มีสัญลักษณ์ Contactless (คล้ายๆ สัญลักษณ์สัญญาณ Wifi) มาวางห่าง ๆ ด้านบนประตูกั้น เท่านี้ประตูก็เปิดให้เราเข้าได้แบบสบาย ๆ ไม่ต้องไปต่อคิวที่เครื่องออกบัตรโดยสาร หรือ ห้องออกบัตรให้เสียเวลา ดูแล้ว คนที่นี่เดินผ่านประตูกันฉลุยไม่มีแถวยาว ๆ แบบที่ไทย คณะที่ไปบางท่านไม่มีบัตร contactless เลยตั้งเสียเวลาคลำหาสถานีที่ต้องการไป ดูว่าต้องซื้อบัตรโดยสารราคาเท่าไหร่ กว่าจะหาเศษเหรียญครบ เล่นเอาเหนื่อยกันเลยทีเดียว 

#beartai ทดลองการใช้บัตร Contactless ที่สถานี Downtown

#beartai ทดลองการใช้บัตร Contactless ที่สถานี Downtown

สังเกตว่าชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่เดินตรงเข้าประตูด้วยบัตร contactless

สังเกตว่าชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่เดินตรงเข้าประตูด้วยบัตร contactless

การซื้อตั๋วด้วยเครื่องออกบัตรโดยสาร ต้องใช้เวลาต่อแถว

การซื้อตั๋วด้วยเครื่องออกบัตรโดยสาร ต้องใช้เวลาต่อแถว ยิ่งถ้าไม่คุ้นเคยกับระบบขนส่งในต่างประเทศแล้วยิ่งต้องใช้เวลากันพอสมควร

บัตร VISA Contactless ที่พกติดตัวมาจากไทย ยื่นไว้ข้างบนปุ๊บ ประตูเปิดทันที

บัตร Visa Contactless ที่พกติดตัวมาจากไทย ยื่นไว้ข้างบนปุ๊บ ประตูเปิดทันที

บรรยากาศบนรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สิงคโปร์

บรรยากาศบนรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สิงคโปร์

ถึงที่หมาย สถานี Chinatown

ถึงที่หมาย สถานี Chinatown

VISA Fintech Fast-Track Program

ปัจจุบัน Visa ถูกใช้งานใน 200 กว่าประเทศทั่วโลก มีร้านค้ารองรับถึง 54 ล้านร้านค้า แต่ VISA ก็ยังเปิดกว้างให้เหล่าสตาร์ตอัป (Startup) หรือ บริษัทฟินเทค (Fintech) ใหม่ ๆ ก้าวเข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์แบบ Fast-Track

INSTAREM หนึ่งในพาร์ทเนอร์ในโครงการ Fintect Fast-Track ของ VISA

INSTAREM หนึ่งในพาร์ตเนอร์ในโครงการ Fintect Fast-Track ของ Visa

สำหรับสตาร์ตอัปที่มีไอเดียเจ๋ง ๆ สามารถมาส่งเอกสารให้ Visa ตรวจสอบ เพื่อก้าวมาเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจในแคมเปญ Visa Fintech Fast-Track Program โดย Visa จะช่วยคิด สนับสนุน เปิดให้เข้าถึงคลังข้อมูล เทคโนโลยีต่าง ๆ ของ Visa พร้อมให้คำแนะนำการพัฒนาโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจใกล้ชิดกับ Visa มากขึ้น รวมถึงพัฒนาระบบด้านการเงิน ภายใน Visa เองด้วย เรียกได้ว่า Win-Win กันทั้งสองฝ่าย และที่สำคัญแอปที่ได้รับการพัฒนานั้นส่วนมากจะพร้อมใช้งาน (onboard)  ภายในเวลาเพียง 4 สัปดาห์เท่านั้น ใครมีไอเดียดี  ๆ ก็ลองมาเสนอ Visa กันดูนะ! เขาเปิดให้คนทั่วไปเข้าไปศึกษา และพูดคุยกันได้ด้วย คลิกเพื่อศึกษาเพิ่มเติม

หลังได้ชมนวัตกรรมและแนวคิดของ Visa ที่สิงคโปร์ ทำให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ VISA ทำในยุค Disruption ไม่ได้เป็นการแข่งขันกับแบรนด์อื่น ๆ แต่เป็นดึงแบรนด์เหล่านั้นมาสมทบในสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)

ปล. #beartai แอบถามคุณคริสเหมือนกันว่า 2 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ payment อย่าง Visa และ Libra ที่กำลังถูกพัฒนาโดย Facebook จะร่วมมือกันอย่างไร ซึ่งก็ได้คำตอบว่า มีการเซ็นความร่วมมือกันไปแล้ว ขณะนี้ Visa กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนการศึกษา เพราะถือเป็นสิ่งใหม่ที่ไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าจะออกมาอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ทุกคนมีคู่แข่งคนเดียวกัน นั่นก็คือ ‘เงินสด’ นั่นเอง

 

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส