ศาลได้มีคำสั่งให้ Apple ยอมรับคำขอของ FBI ในการปลดล็อคมือถือที่เป็นของมือปืน San Bernardino แต่ทาง Apple กลับไม่ยอมรับคำตัดสินนั้น และเรียกคำสั่งนั้นว่า “เป็นการคุกคามความปลอดภัยมากที่สุดเป็นประวัติการณ์แก่ลูกค้าของเรา” การต่อสู้ครั้งนี้ ถือเป็นสิ่งชี้ชะตาการเข้ารหัสเครื่องของสมาร์ทโฟน (Encryption)

tim-cook

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2016 : ผู้พิพากษา ได้มีคำสั่งให้ Apple ให้ความร่วมช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่รัฐในการถอดรหัสการเข้าเครื่อง iPhone 5c ซึ่งเป็นของ Syed Farook มือปืนที่สังหารคนไป 14 คน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2015 ที่ผ่านมา เพื่อหาว่ามีใครที่คนร้ายได้ติดต่ออีกบ้าง แต่ Apple ปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านเทคนิคแก่เจ้าหน้าที่โดยอ้างว่า มันไม่ใช่เกี่ยวกับการเข้ารหัสตัวเครื่องหรือ Passcode เท่านั้น แต่มันรวมถึงการช่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐเห็น Passcode ของ iPhone ด้วยวิธีการถอดรหัสที่เรียกว่า “Brute Force” หรือการสุ่มรหัสผ่านจนกว่าจะเจอ ซึ่งปกติ iOS จะมีการหน่วงเวลาเมื่อกด passcode ผิดไปเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถสุ่มรหัสผ่านได้ อีกทั้งทาง FBI ยังมีความประสงค์จะให้รัฐสภา (Congress) เข้ามาควบคุมดูแลเรื่อง Encryption นี้ด้วย

d7197a2e56b5ff0fcbd615e94815ae23c2f1e6fa

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2016 : Tim Cook ปฏิเสธที่จะสร้างทางเข้าสู่การเข้ารหัสที่ติดตั้งภายในตัวเครื่อง iPhone ซึ่งเป็นสิ่งที่ Apple ปฏิเสธที่จะทำมาช้านาน โดยเขาได้กล่าวว่า “การทำ Master Key ให้นั้น ก็เท่ากับการเปิดประตูสู่ข้อมูลสมาร์ทโฟนนับร้อยล้านเครื่องต่อไป” และทาง Apple ถือว่า ความปลอดภัยของลูกค้าในด้านข้อมูล ถือเป็นสิ่งมีค่ามาก

ต่อมาในวันเดียวกัน Jan Koum ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง WhatsApp ได้ออกมาสนับสนุน Tim Cook เต็มที่ โดยกล่าวว่า “เราจะไม่ยอมให้เรื่องอันตรายเช่นนี่เกิดขึ้นได้ วันนี้เรามีเสรีภาพและอิสรภาพของเราเป็นเดิมพัน” เช่นเดียวกับ Microsoft และ Google ที่ยืนอยู่ข้าง Apple เช่นกัน

ล่าสุด สหภาพเสรีภาพพลเรือนอเมริกัน หรือ American Civil Liberties Union (ACLU)มูลนิธิพรมแดนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Frontier Foundation (EFF) และองค์การนิรโทษกรรมสากล หรือ Amnesty International ก็ได้ออกมาสนับสนุน Apple ด้วยเช่นกัน

3100

ต้องรอดูกันต่อไปว่าเหตุการณ์พิพาทนี้จะจบลงเช่นไร

ที่มา : theverge.com