คอมพิวเตอร์ควอนตัมมีศักยภาพในการถอดรหัสข้อมูลละเอียดอ่อนที่ส่งผ่านเครือข่ายทั่วไป จึงถือเป็นภัยคุกคามต่อความปลอดภัยของเศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีข้อมูลละเอียดอ่อนที่เก็บระยะยาว เช่น การบริการทางการเงิน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงเป็นพิเศษจากการโจมตีเหล่านี้

ขณะนี้ ผู้ไม่หวังดีได้เริ่มรวบรวมข้อมูลที่เข้ารหัสไว้แล้ว เพื่อรอให้คอมพิวเตอร์ควอนตัมพัฒนาไปไกลในอนาคตที่จะถอดรหัสข้อมูลเหล่านี้ได้ การโจมตีแบบนี้เรียกว่า ‘เก็บก่อน ถอดรหัสทีหลัง’ และมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมอย่างธนาคารและฝ่ายต่าง ๆ ในหน่วยงานรัฐบาล การโจมตีลักษณะนี้อาศัยการที่ข้อมูลสำคัญมักมีอายุขัยยาวนาน ใช้เวลานานกว่าจะหมดประโยชน์ ดังนั้น หากต้องการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว องค์กรต่าง ๆ จะต้องดำเนินการเชิงรุกและตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครือข่ายของตนมีการเข้ารหัสป้องกันชนิดปลอดภัยระดับควอนตัมไว้ล่วงหน้า

ดังนั้น เครือข่ายปลอดภัยระดับควอนตัม เป็นทางออกเดียวในการปกป้องไม่ให้ข้อมูลถูกดักเก็บและนำไปถอดรหัสแม้ว่าผู้โจมตีจะใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมก็ตาม การนำเครือข่ายประเภทนี้มาใช้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อถือได้ ยั่งยืนและยืดหยุ่นต่อการโจมตี

ซึ่งโตชิบา (Toshiba) ได้เปิดตัว Quantum Key Distribution (QKD) ที่เป็นเป็นตัวอย่างวิธีการส่งข้อมูลที่ปลอดภัยระดับควอนตัม ซึ่งทำงานด้วยการกระจายกุญแจเข้ารหัสแบบปลอดภัยสูงเป็นพิเศษ ทำให้เครือข่ายยืดหยุ่นต่อภัยคุกคามควอนตัมต่าง ๆ เทคโนโลยี QKD ของโตชิบาได้รับการพัฒนามาตลอดกว่า 2 ทศวรรษ และสามารถติดตั้งเข้ากับเครือข่ายใยแก้วที่มีอยู่ได้

เมื่อนำวิธีการปลอดภัยระดับควอนตัมมาใช้แล้ว สถาบันการเงินต่าง ๆ ก็จะสามารถปกป้องข้อมูลละเอียดอ่อน รักษาความไว้วางใจของลูกค้า และพร้อมเข้าสู่ยุคควอนตัม โดยทางโตชิบามุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันที่ปกป้องผู้คนและองค์กรให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามใหม่ที่เกิดขึ้น

พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส