ทีมนักวิทยาศาสตร์จากห้องแล็บ ATR Computational Neuroscience Laboratories เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ใช้ดัดแปลงเครื่องสแกนด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) และเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) เพื่อมองลึกลงไปในความฝันของผู้คน

ATR Computational Neuroscience Laboratories

การทดลองนี้ทำกับอาสาสมัคร 3 คน ทีมงานได้เฝ้าติดตามการทำงานของสมองระหว่างนอนหลับ ด้วยการให้พวกเขานอนหลับในเครื่องสแกน MRI เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 วัน โดยในขณะที่นอนหลับนั้น พวกเขาจะสวมเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) ไว้ที่ศีรษะด้วย เพื่อคอยจับสัญญาณไฟฟ้าเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นในสมอง จากนั้นเครื่อง MRI ก็จะตัดต่อข้อมูลที่ได้รับแล้วส่งต่อไปยังเครื่องอ่านคลื่นสมอง (FMRI) จากนั้นก็มีการบันทึกภาพรูปแบบการไหลเวียนของเลือดที่เปลี่ยนไปในแต่ละช่วงที่อาสาสมัครนอนหลับ

ทีมนักวิทยาศาสตร์จะให้ความสำคัญไปที่การนอนหลับในระยะที่ 1 เป็นช่วงก่อนจะเข้าสู่ภาวะหลับลึกหรือ REM ระยะที่ 1 นี้คือช่วงไม่กี่นาทีหลังจากเริ่มหลับ ซึ่งจะเกิดภาพหลอนขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นระยะ ๆ อาสาสมัครจะถูกปลุกให้ตื่นข้นหลังเริ่มเข้าสู่ระยะที่ 1 และขอให้อธิบายถึงภาพในความฝันของเขา มีการทำขั้นตอนนี้ซ้ำ ๆ ถึง 200 ครั้ง จากข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์บันทึกได้ ภาพที่อาสาสมัครเห็นในความฝันมากที่สุดคือ คน หรือ อาคาร

ขั้นตอนต่อไป คือทีมนักวิทยาศาสตร์นำภาพตามที่อาสาสมัครบอกว่าเขาเห็นในความฝันมาให้เขาดูอีกครั้งขณะที่ยังอยู่ในเครื่อง MRI แต่รอบนี้ให้เขาดูในขณะที่พวกเขาตื่นแล้ว เพื่อเจาะจงรูปแบบของคลื่นสมอง ในขณะที่พวกเขาได้เห็นภาพ และนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าที่บันทึกไว้ตอนที่เขาหลับและฝันเห็นภาพเหล่านี้ จากนั้นทีมนักวิทยาศาสตร์ก็นำข้อมูลเหล่านี้ส่งไปยังโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อให้วิเคราะห์แล้วสร้างภาพขึ้นมา

จากข้อมูลจำนวนมากที่ป้อนให้กับ AI ทำให้ได้เกิดการประมวลผลอัลกอริธึมออกมาเป็นภาพพื้นฐานจากความฝันของอาสาสมัคร ซึ่งทีมก็ได้เรียงภาพออกมาเป็นวิดีโอ และนำไปให้อาสาสมัครได้ดู อาสาสมัครยืนยันว่าภาพวิดีโอที่สร้างขึ้นด้วย AI ค่อนข้างตรงกับภาพในความทรงจำของเขา จากข้อมูลดังกล่าวพอจะประเมินได้ว่า อัลกอรึธึมสามารถทำนายภาพจากความฝันของอาสาสมัครได้ประมาณ 60 % จากความฝันทั้งหมด ภาพย้อนหลังจาก AI สามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างประหว่างผู้คนในความฝัน และฉากต่าง ๆ ได้ดี แต่ยังไม่สามารถลงลึกถึงรายละเอียดในฉากต่าง ๆ ได้ดีนัก เช่น ภาพย้อนหลังสามารถบอกได้ว่าอาสาสมัครผู้นี้ได้ฝันถึง คน ๆ หนึ่งที่กำลังเดินอยู่บนถนน หรือกำลังอยู่ในอาคาร

พิจารณาแล้ว เชื่อมั่นได้ว่า วิทยาการในเรื่องนี้ ช่างเป็นการค้นพบที่เหมาะกับคนไทยอย่างมาก ถ้าเรา ๆ สามารถเข้าถึงวิทยาการนี้ได้ ต่อไปนี้ไม่ต้องลำบากมานั่งขบคิดย้อนหลังแล้วว่าเมื่อคืนฉันฝันถึงอะไร เช้ามาก็กดดูย้อนหลังแล้วตีเป็นเลขได้เลยเนอะ

ที่มา : unilad