จากการวิเคราะห์ขององค์การสหประชาชาติ “อาหาร” กำลังจะเป็นเรื่องใหญ่ระดับโลกในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ผลผลิตภาคการเกษตรและอาหารกลับมีแนวโน้มเติบโตไม่ทันกับความต้องการของโลกจนจะถึงขั้นวิกฤติ ดังนั้นรัฐบาลของทุกประเทศจะต้องแบกรับภาระในการหาแหล่งอาหารมาเลี้ยงพลเมืองของประเทศให้ได้อย่างพอเพียง

การเปลี่ยนบริบทความมั่นคงของประเทศที่แต่เดิมมองเพียงการมีอาวุธยุทธโปกรณ์ที่ทันสมัย และอาจขยับมาสนใจในเรื่องพลังงาน แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตข้างหน้า “ความมั่นคงทางอาหาร” จะเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งของ “ความมั่นคงของชาติ” โดยในรายงาน 16 หน้าจากสถาบันวิจัยซัมซุง (Samsung Economic Research Institute) ของประเทศเกาหลีใต้ ในหัวข้อยุทธศาสตร์ใหม่สำหรับอาหารในยุควิกฤตด้านอาหารของโลก (New Food Strategies in the Age of Global Food Crises) ซึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวได้แสดงความกังกลว่าบริษัทต่างประเทศที่ผลิตอาหารนำเข้ามาเลี้ยงดูประชากรของเกาหลีใต้ มีความเป็นไปได้ที่จะใช้นโยบายการจำกัดการส่งออกเสมือนเป็นการใช้ “อาหารเป็นอาวุธ” โดยสถานการณ์การที่ประเทศผู้นำเข้าอาหารเริ่มถูกคุกคามด้วยการลดจำนวนสินค้าเกษตรจากผู้ส่งออกจนทำให้ไม่สามารถควบคุมให้มีอาหารเพียงพอต่อประชากรของประเทศ และเชื่อว่าในอนาคตด้วยสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างมาก การใช้นโยบาย “อาหารเป็นอาวุธ” จะกลายเป็นอาวุธหลักและมีการใช้มากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้รัฐบาลเกิดการตื่นตระหนกและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายความมั่นคงทางอาหารของประเทศครั้งใหญ่

people-field-working-agriculture

รัฐบาลเกาหลีใต้ ได้เข้าไปซื้อที่ดินมากกว่าสามแสนเฮกเตอร์ในประเทศมองโกเลีย (1 เฮกเตอร์ เท่ากับ 10,000 ตารางเมตร) เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการผลิตอาหารเลี้ยงคนเกาหลีใต้ได้อย่างมั่นคงขึ้น นอกจากนี้บริษัท Daewoo Chaebold ก็ได้มีความพยายามที่จะเข้าไปเช่าพื้นที่มากกว่า 1.3 ล้านเฮกเตอร์ในประเทศดามัสกัสต์เป็นเวลา 99 ปี ซึ่งพื้นที่ที่ขอเช่านี้เป็นพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรได้เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศดามัสกัสต์ อีกทั้ง เกษตรกรเกาหลีใต้เริ่มเข้ามาเพาะปลูกข้าวโพดในกัมพูชา และที่ชัดๆก็คือ กว่า 60 บริษัทสัญชาติเกาหลีใต้ได้เข้ามาทำการเกษตรใน 16 ประเทศแล้ว

กว่า 60 บริษัทสัญชาติเกาหลีใต้ได้เข้ามาทำการเกษตรใน 16 ประเทศแล้ว

กรณีตัวอย่างดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่านโยบายยุทธศาสตร์ด้านเกษตรกรรมและยุทธศาสตร์ด้านอาหารจะต้องไปควบคู่กันและกำลังจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อความมั่นคงของชาติ นอกจากเกาหลีใต้แล้ว นโยบายด้านการเกษตรและอาหารของเวียดนาม ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา ประเทศเวียดนามได้ร่วมมือกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization) สร้างโปรแกรมช่วยเหลือประเทศที่ยากจนในแถบแอฟริกาและประเทศหมู่เกาะทะเลใต้ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความช่วยเหลือเทคนิคต่าง ๆ ในการทำเกษตรกรรมแก่กลุ่มประเทศยากจนทั้งหลาย ซึ่งมีการส่งผู้เชี่ยวชาญออกไปถึง 400 คนในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยจีนและเวียดนามได้ใช้ยุทธศาสตร์การเกษตรและอาหาร มาเป็นเครื่องมือการผูกมิตรกับประเทศโลกที่สามอย่างแยบยล

การเกษตรอัจฉริยะ เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นแน่

การนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยในด้านการเกษตรและอาหาร จะเป็นเรื่องที่จะทวีความสำคัญมากขึ้น การใช้พื้นที่การเกษตรที่มีอยู่อย่างจำกัดอยู่แล้ว จะกลายเป็นสิ่งที่ขาดแคลนอย่างมากในอนาคต น้ำที่ใช้ในการเกษตรจะทวีค่ายิ่งขึ้น และเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าการทำ “การเกษตรอัจฉริยะ” หรือ “การเกษตรแม่นยำ” เป็นภาคบังคับที่ประเทศไทยจะต้องทำ การสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิภาพในภาคเกษตรกรรมจะนำมาสู่ความได้เปรียบในการวางยุทธศาสตร์ด้านอาหารเพื่อสร้างอำนาจต่อรองและรักษาความมั่นคงของชาติไว้ได้

nature-sky-clouds-field

เทคโนโลยีของการทำเกษตรอัจฉริยะในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและยุโรปมีความล้ำหน้าไปอย่างมาก ในขณะที่เกาหลีใต้มีความพยายามที่จะสร้างเทคโนโลยีด้านนี้ในเวอร์ชันเกาหลีโดยภายใต้การพัฒนาที่เรียนรู้จากประเทศที่ได้ทำไปแล้ว เกาหลีไม่ได้ไปทำแต่เฉพาะการไปเรียนรู้ในการสร้างเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังทำการทดสอบปรับแต่งเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในมิติต่างๆของประเทศเกาหลีใต้เองด้วย โดยช่วงที่ผ่านมาบริษัทต่างๆที่ได้พัฒนาอุปกรณ์และบริการต่างๆจะแสดงในพื้นที่การเพาะปลูกจริงๆในเกาหลีใต้ ตัวอย่างเช่นโซลูชั่นตรวจจับการไหลผ่านของเมล็ดพืชที่ใช้เทคโนโลยีของอเมริกาสามารถใช้ได้ดีกับข้าวสาลีและข้าวโพดที่เป็นพันธ์ุที่ปลูกในสหรัฐแต่ไม่สามารถใช้ได้กับเมล็ดข้าวที่มีขนาดเล็กของเกาหลีใต้ที่มีขนาดเล็กกว่า 4-6 เท่า วิศวกรของเกาหลีใต้จำเป็นต้องมีการปรับแต่งทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คือตัวเซนเซอร์ให้สามารถตรวจจับเมล็ดข้าวขนาดเล็กการเพิ่มจำนวนแถวในการปล่อยเมล็ดข้าวลงไปเพาะในนา รวมทั้งจะต้องมีการปรับปรุงซอฟต์แวร์เพื่อควบคุมจังหวะการปล่อยเมล็ดข้าวให้ถูกต้อง

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีในการทำการเกษตรอัจฉริยะหรือเกษตรแม่นยำจะมีความเฉพาะพื้นที่เฉพาะพืชพันธ์ุ การเป็นประเทศที่รอจะบริโภคเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ที่ต้องให้เขาผลิตให้ ปรับแต่งให้กับสภาพแวดล้อมของเรา จะทำให้เราเป็นประเทศที่เสียเปรียบในสภาวะอาหาร ซึ่งกำลังเป็นประเด็นหลัก ถึงแม้ว่าเราจะมีความได้เปรียบในสภาพภูมิประเทศ สภาวะภูมิอากาศ ต่อการผลิตสินค้าทางเกษตรได้หลากหลายทั้งชนิดและปริมาณ แต่การที่ไม่มีความสามารถสร้างเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อใช้ในการทำการเกษตรยุคใหม่ จะทำให้เราเป็นผู้เสียเปรียบในโลกแห่งอนาคตได้

man-field-smartphone-yellow

ตัวอย่างการเกิดขึ้นของ MamosaTEK ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ AgTech สัญชาติเวียดนามที่วันนี้ได้ยกระดับการยอมรับไปสู่ระดับนานาชาติแล้ว ด้วยวิสัยทัศน์ที่ว่าเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะหรือเกษตรแม่นยำจะต้องพัฒนาโดยคนเวียดนามเองไม่ใข่เรื่องที่รอให้ต่างชาติที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาทำให้ น่าจะเป็นการจุดประกายการสร้างผู้ให้บริการเกษตรอัจฉริยะหรือเกษตรแม่นยำรายอื่นเกิดขึ้นมาอีกมากในอนาคต

ประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้น

สำหรับประเทศไทยเรามีนโยบายเรื่องเกษตรอัจฉริยะออกมาแล้ว คงเหลือแต่การนำนโยบายไปสู่การทำให้เกิดขึ้นจริง อาจเริ่มต้นด้วยการสร้างกองทุนเพื่อสนับสนุนการสร้างสตาร์ทอัพ AgTech การสร้างโปรแกรม AgTech Accelerator เพื่อให้สามารถประกอบการได้จริง การกำหนดมาตรการภาษีให้ผู้ประกอบการในการนำเครื่องมือเหล่านี้มาเรียนรู้และพัฒนาปรับแต่งให้เหมาะสมกับปัจจัยต่างของประเทศ การสร้างกิจการรมการตื่นตัวและการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Agriculture Literacy) ในภาคการเกษตรให้กับเกษตรกร ไปจนถึงการสร้างการมาตรการส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง การสนับสนุนให้ผู้ให้บริการเกษตรอัจฉริยะหรือเกษตรแม่นยำสามารถยกระดับจากการให้บริการในประเทศไปสู่ประเทศข้างเคียง เป็นผู้ให้บริการในระดับภูมิภาค การวางแผนการศึกษาเพื่อผลิตบุคคลากรเพื่อมารองรับในเรื่องนี้โดยเฉพาะ การสร้าง ระบบนิเวศ (EcoSystem) เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของห่วงโซ่ธุรกิจ เรื่องเหล่านี้อาจต้องมีการกำหนดแผนการดำเนินการ (Action Plan) เพื่อนำนโยบายมาสู่ความเป็นจริงในทางปฏิบัติให้ได้ ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันของไทยก็ได้ผลิตนโยบายที่ตรงทิศทางแล้ว เหลือเพียงแต่ขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริงเท่านั้น

ความฝันที่ไทยจะเป็น “ครัวโลก” จะกลายเป็นความจริง!!!

19 กันยายน 2559 09:20
อ่านตอน 1 เพิ่มเติม