ความตึงเครียดระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีนได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งคาดว่าความตึงเครียดระหว่างสองประเทศจะทวีความรุนแรงขึ้นในเรื่องสงครามการกีดกันทางการค้า (trade war) โดยสหรัฐอเมริกาได้ทำการกดดันประเทศจีนในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีไมโครชิพ AI ซึ่งประเทศจีนมีนโยบายให้การสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านไมโครชิพ AI เป็นอย่างมาก โดยบริษัท Huawei ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม กำลังครอบครองส่วนแบ่งการตลาดในระดับ Top 3 ของโลกแล้วในวันนี้ โดยประเทศจีนได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเป็นผู้นำด้าน AI อันดับหนึ่งของโลกภายในปี 2030

โดย GSMA ได้คาดการณ์ว่า ภายใน 2020 โลกของเราจะมีผู้ใช้สมาร์ตโฟนถึง 73% ของประชากรโลกทั้งหมด (5.7 พันล้านคน) และข้อมูล Big Data เฉพาะบนโครงข่ายสมาร์ตโฟนจะมีการเชื่อมโยงอย่างหนาแน่นถึง 112% ของประชากรโลกทั้งหมด นั่นคือจะมีจำนวน SIM ของสมาร์ตโฟนถึง 9.7 พันล้านการเชื่อมต่อบนโครงข่าย (คาดว่าประเทศไทยจะมีจำนวนเลขหมายสมาร์ตโฟนกว่า 150 ล้านเลขหมายภายในปี 2020)

เมื่อ AI ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพบนอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์และสมาร์ตโฟน ก็จะเริ่มส่งผลกระทบนับจากนี้ไปในธุรกิจต่างๆ ที่กำลังจะถูกพลิกผัน หรือที่เราเรียกว่า “disruption” ในหลายอุตสาหกรรม เช่น สื่อ, โทรคมนาคม, การบริการทางการเงิน, โลจิสติกส์, ค้าปลีก, การแพทย์และสุขภาพ ไปจนถึงการศึกษา ตามลำดับ ซึ่ง AI จะส่งผลอย่างมากและชัดเจนในช่วงปี 2023 เนื่องจาก World Economic Forum ได้วิเคราะห์ว่าเป็นช่วงเวลาที่ Big data จะถึงจุดทะยานในปีดังกล่าว และจะส่งผลกระทบในการพลิกผันรูปแบบอุตสาหกรรมต่างๆ ในปีที่ AI และ Big data ทะยานขึ้นพร้อมกันจนเกิดโมเมนตัมที่สุดในช่วงปี 2025

ด้วยเหตุนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ และรัสเซีย ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า จะเป็นผู้นำด้าน AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ได้มีความชัดเจนว่า AI เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ ซึ่งจีนมีเป้าหมายว่าจะเป็นหนึ่งในด้าน AI ของโลกภายในปี 2030 จึงทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรป ต่างหวาดระแวงที่ประเทศจีนจะครอบครองตลาดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์และสามารถที่จะควบคุมการทำงานของเครือข่ายต่างๆ ในประเทศ จนทำให้สามารถที่จะโจมตีทางไซเบอร์ รวมทั้งยึดการทำงานบนระบบคลาวด์ของทั้งประเทศทุกประเทศได้อย่างง่ายดาย

ดังนั้น AI จึงเป็นประเด็นสำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความมั่นคงของประเทศ จึงทำให้ความขัดแย้งในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอุตสาหกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นนับจากนี้เป็นต้นไป

“ผู้นำและผู้บริหารประเทศในยุคจากนี้ไป จะไม่สามารถที่จะกำหนดทิศทางของประเทศได้อย่างถูกต้อง หากไม่มีความรู้และเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน ซึ่งมีผลกระทบจากการพัฒนาอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเร่งของเทคโนโลยี AI”


ประวัติผู้เขียน พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ

การศึกษา

  • ปริญญาเอก วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (Ph.D. in EE) (วิศวกรรมโทรคมนาคม), Florida Atlantic University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (MS in EE) (วิศวกรรมโทรคมนาคม), The George Washington University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาโท วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (MS in EE) (วิศวกรรมไฟฟ้า) Georgia Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร (เกียรตินิยมเหรียญทอง), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (นักเรียนเตรียมทหารรุ่น 26, จปร. รุ่น 37)
  • มัธยมปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

หลักสูตรประกาศนียบัตร

  • หลักสูตรส่งทางอากาศ กองทัพบก
  • หลักสูตรจู่โจม กองทัพบก
  • หลักสูตรชั้นนายร้อยเหล่าทหารสื่อสาร กองทัพบก
  • หลักสูตรอบรมกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง รุ่นที่ 3
  • หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหารสื่อสาร กองทัพบก
  • หลักสูตรหลักประจำเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 84 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • หลักสูตรเสนาธิการทหาร วิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 51
  • หลักสูตรการบริหารทรัพยากรเพื่อความมั่นคง (Defense Resourse Management) โดยทุน International Military Education and Training (IMET) program, Naval Postgraduate School ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตร Streamlining Government Through Outsourcing Course โดยทุน International Military Education and Training (IMET) program, Naval Postgraduate School ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรเสนาธิการร่วม Joint and Combined Warfighting Course โดยทุนกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ในโครงการต่อต้านก่อการร้ายสากล (Counter Terrorism Fellowship Program), National Defense University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บยส.) วิทยาลัยการยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม
  • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง วตท. รุ่นที่ 18 สถาบันวิทยาการตลาดทุน
  • หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 57 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
  • หลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 6 สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

เกียรติประวัติ

  • ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • จบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคมจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ด้วยอันดับที่ 1 (เกียรตินิยมเหรียญทอง)
  • ได้รับทุนจากกองทัพบกเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก
  • ได้รับโล่ห์เกียรติยศจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าด้วยคะแนนสูงสุดในวิชาผู้นำทหาร
  • ได้รับเกียรตินิยมปริญญาเอก Outstanding Academic Achievement จาก Tau Beta Pi Engineering Honor Society และ Phi Kappa Phi Honor Society
  • ได้รับทุนการศึกษาระดับประกาศนียบัตรด้านความมั่นคง จากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ได้รับทุนวิจัยระดับปริญญาเอกจาก EMI R&D LAB (Collaboration between Florida Atlantic University and Motorola, Inc.), Florida Atlantic University. ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว ประจำปี 2556 จากมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหารได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 25 Young Executives ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในปี 2555 จากนิตยสาร GM
  • ประกาศเกียรติคุณ “โครงการวิทยาศาสตร์สู่ความเป็นเลิศ” พ.ศ. 2556 จากคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม วุฒิสภา
  • ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 30 นักยุทธศาสตร์แห่งปีที่อยู่ในระดับผู้นำองค์กร ปี พ.ศ. 2556 จากนิตยสาร Strategy + Marketing Magazine.
  • รับพระราชทานรางวัลเทพทอง ครั้งที่ 16 ในฐานะองค์กรดีเด่น ประจำปี 2557
  • ได้รับรางวัล “คนดี ความดี แทนคุณแผ่นดิน” ประจำปี 2558 สาขาการสื่อสารโทรคมนาคม จากคณะกรรมการรางวัลไทย
  • ได้รับรางวัล “ผู้นำเสนองานวิจัยดีเด่น” จากสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2558
  • ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในนักยุทธศาสตร์ในระดับประเทศ ปี พ.ศ. 2558 จากนิตยสาร Strategy + Marketing Magazine
  • ได้รับรางวัล “นักบริหารดีเด่นแห่งปี” ประจำปี 2559 Executive of the Year 2016 สาขานวัตกรรมด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม จากคณะกรรมการรางวัลไทย