ในยุค Digital Transformation ที่ต้องเผชิญกับ Technology Disruption อันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงในปัจจุบัน ทุกวงการต้องปรับตัว ไม่ใช่แค่องค์กรภาคธุรกิจหรือสื่อเท่านั้นที่ต้องดึงเอาเทคโนโลยี Digital มาเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนถ่ายตัวเอง ทุกวงการต้องเป็นฝ่ายชิง Transform ก่อน การศึกษาก็เช่นกัน

?การศึกษาต้องถูก Transform ใหม่

ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เต็มไปด้วยความท้าทาย เยาวชนที่เราเรียกว่า New Gen คือ ผู้ขับเคลื่อนโลกแห่งอนาคต ดังนั้น ผู้ใหญ่อย่างเราจึงจำเป็นต้อง Transform รูปแบบการศึกษาใหม่ให้ทันโลกดิจิทัล เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเยาวชนในการเดินทางเข้าสู่โลกใบใหม่ ซึ่งนอกจากเทคโนโลยีที่ช่วยเป็นกุญแจสำคัญแล้ว ยังมีอีกหนึ่งเครื่องมือที่ถือว่าทรงพลังที่สุดในการสร้างโอกาสความสำเร็จ สิ่งนั้นก็คือ Creativity !

ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีการผลักดันเรื่องของการปรับปรุงรูปแบบการศึกษาอยู่พอสมควร ครูบาอาจารย์ต่างปรับบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ดึงศักยภาพความถนัดเฉพาะทางของเยาวชนแต่ละคนออกมา แล้วดันไปให้สุด แต่ก็ไม่ใช่แค่เรื่องของทักษะความรู้อย่างเดียวที่อาจารย์ในยุคปัจจุบันต้องเตรียมความพร้อมให้ บรรดาอาจารย์ในยุค 4.0 ยังต้องช่วยเด็กเตรียมความพร้อมเรื่องของการใช้ชีวิตในวัยทำงานอีกด้วย ซึ่งความคิดสร้างสรรค์นี่ล่ะที่จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในชีวิตของพวกเขา

?Creativity+Technology ไขรหัสเปลี่ยนอนาคต

หากสโคปภาพให้เล็กลง เอาเฉพาะระดับอุดมศึกษา เราเห็นตัวอย่างการ Transform เปลี่ยนอนาคตรูปแบบการศึกษาไทยที่ขานรับยุคดิจิทัลผ่านการทำงานของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้วยการเพิ่มเติมกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ผ่านแนวคิด Creativity+Technology ที่ให้นักศึกษาทุกคณะทุกหลักสูตรเรียนรู้ในรายวิชาที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและไม่ได้เรียนกันแบบพื้นฐานแต่ต้องถึงขั้นชำนาญการกันเลยทีเดียว 

อาจารย์เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อาจารย์เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้มุมมองว่า ทุกการเปลี่ยนแปลงคือความท้าทายที่ส่งเสริมให้ทุกคนใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อหาวิธีจัดการแก้ไขปัญหา ล่าสุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกาศจุดยืนรับเทรนด์ดิจิทัล ด้วยกระบวนการเรียนการสอนสร้างสรรค์ (Creative Education) แล้วเติมทักษะนักศึกษาทุกคณะทุกหลักสูตรให้เหนือกว่าใคร ด้วยการเรียนข้ามศาสตร์ ผนวกรายวิชาด้านเทคโนโลยีให้ทุกคนได้เรียนรู้ เป็นการพัฒนาบัณฑิตคุณภาพสอดรับเศรษฐกิจดิจิทัลตามแผนในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พร้อมกับยกหลักสูตรทั้งหมดมาที่ Main Campus รังสิต ซึ่งมีความพร้อมทั้งเรื่องอุปกรณ์และ Ecosystem เพื่อเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ

รศ.ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

รศ.ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  บอกว่า สิ่งหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาของทางมหาวิทยาลัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีมีความแตกต่างก็คือเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ที่นำมาใช้เป็นแรงผลัก 

“ความเป็นนักเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยกรุงเทพจะมี Creativity เป็นแรงผลักดันเสมอ เราไม่ปล่อยให้เทคโนโลยีมาจำกัดความคิดสร้างสรรค์ แต่เราใช้ความคิดสร้างสรรค์มาผนวกเทคโนโลยี เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาตลอดเวลา”

– รศ.ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน      

?วิชาแห่งโลกอนาคต

  • Coding
  • AI (Artificial Intelligence)
  • Cloud service
  • Block chain
  • Mobile app
  • Big data/Data analytics
  • 5G
  • Internet of Things
  • UX UI (User Experience, User Integration)
  • VR & AR (Virtual Reality & Augmented Reality)

วิชาต่าง ๆ ด้านบนนี้ คือ รายวิชาด้านเทคโนโลยีที่จะบรรจุอยู่ในทุกคณะทุกสาขาวิชา โดยแต่ละคณะสามารถเลือก 3-5 รายวิชาจากรายวิชาทั้งหมด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนตามที่แต่ละหลักสูตรพิจารณาว่าเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อทำงานของนักศึกษา       

งั้นเราลองมาดู ตัวอย่างผลงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่นำเอาแนวคิด Creativity+Technology มาประยุกต์ใช้กัน

  • Self-navigatored Robot: ใช้พื้นฐานเทคโนโลยี ROS (Real Robotic Operating System) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ผลิตสินค้าออกมาเป็นรถยนต์อัตโนมัติไร้คนขับ

  • Muscle Control Robot: ปลอกแขนอัจฉริยะ เป็นการพัฒนา AI ในการตรวจจับคลื่นไฟฟ้าจากการเคลื่อนไหวแขนและข้อมือของผู้สวมใส่ แล้วแปลงเป็นคำสั่งเพื่อสั่งงานอุปกรณ์ผ่านทาง Bluetooth 

  • Learning to Move: แขนกลสั่งงาน ตัวนี้ใช้เทคโนโลยี ROS เช่นกัน และใช้การพัฒนาซอฟต์แวร์  AI ที่สามารถเรียนรู้จดจำตำแหน่งต่างๆ เพื่อการเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ผู้ใช้ต้องการ แถมยังมีเทคโนโลยี  Movelt เป็นจุดเด่น สามารถสั่งให้แขนกลเคลื่อนไหวได้โดยไม่ชนกับตัวหุ่น หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ  

มาถึงตรงนี้ชาวแบไต๋อาจจะยังนึกไม่ออกว่า Creativity จะมาช่วยเสริม Technology ได้อย่างไร?

ขอยกตัวอย่างแบบนี้แล้วกัน ถ้าเราผสาน Creativity เข้าไปกับเทคโนโลยี Learning to Move หรือเจ้าแขนกลสั่งงาน เราก็อาจเริ่มด้วยการติดตั้งกล้อง 3 มิติ เพื่อให้หุ่นยนต์รู้ตำแหน่งของวัตถุรอบตัว และสั่งหุ่นยนต์ให้เคลื่อนที่ไปหยิบวัตถุชิ้นนั้นได้ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้เป็น Service Robot สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ทำหน้าที่เสิร์ฟอาหาร หรือใช้ในโครงการคอนโดมิเนียมและโรงแรมไงล่ะ

การปฏิวัติการศึกษาด้วยการเสริมทักษะสำหรับการทำงานยุค ​Digital ผ่านแนวคิด Creativity+Technology คือ “การติดอาวุธทรงพลัง” ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสความสำเร็จให้เยาวชน เมื่อถึงพวกเขาถึงวัยแห่งการทำงาน  ไม่ว่าพวกเขาจะโตมาทำอาชีพอะไรก็ตาม 

เหล่าคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ นำโดยอาจารย์เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ถือเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแรก ๆ ที่ชูเรื่องการปรับหลักสูตรใหม่สอดรับโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไปเนื่องจากผลของ Technology Disruption นอกจากนี้มหาวิทยาลัยกรุงเทพยังพัฒนาระบบนิเวศการศึกษาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องภายใต้บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ห้องแล็บ สตูดิโอ หรืออุปกรณ์ปฏิบัติการที่ทันสมัย ปัจจุบันได้ดำเนินการย้ายการเรียนการสอนทุกคณะทุกหลักสูตร ไปยัง  Main Campus รังสิต เปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนข้ามศาสตร์ ข้ามคณะ เรียนคละชั้นปี หรือเรียนระหว่างหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโทได้ เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และการทำงานร่วมกัน